วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555

สวัสดีค่ะ ผู้เยี่ยมชมบล็อกของเราค่ะ วันนี้จะนำสาระเรื่องการเลี้ยงปลาไหลในล้อยางได้ผลดี มีอัตราในการรอดตายสูงซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจทำเป็นอาชีพเสริมค่ะ

แม้ว่าราคาซื้อขายปลาไหลตามท้องตลาดค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์น้ำจืดชนิดอื่น แต่ทว่ากลับไม่ค่อยมีใครเลี้ยงปลาชนิดเป็นอาชีพมากนัก ด้วยว่าหากนำมาเลี้ยงในพื้นที่จำกัด และไม่มีการจัดการบ่อที่ดีพอเปอร์เซ็นต์รอดชีวิตนั้นมีค่อยข้างน้อย

ดังนั้น ปลาไหลที่วางจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป ส่วนใหญ่มักจะหามาจากธรรมชาติเกือบทั้งนั้น มิแปลกที่ราคาค่อนข้างสูงกว่าปลาเศรษฐกิจชนิดอื่นๆ ด้วยว่าในคลอง หนอง บึง นับวันมีสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป บางท้องถิ่นกลายเป็นหมู่บ้านจัดสรรและโรงงานอุตสาหกรรมเป็นต้น การจับปลาไหลมาขังเดี่ยวในล้อยาง โตดี รอดชีวิตสูงนี้ เป็นผลงานของ อ.ประพัฒน์ ปานนิล ที่ระนอง
อาจารย์เล่าว่า ก่อนที่จะประสบความสำเร็จ ก็ประสบปัญหามาเหมือนกัน เพราะว่ายางในรถจักรยานยนต์มีกลิ่น และสิ่งสกปรกอยู่เยอะ หากเรานำมาเลี้ยงปลาเลย ก็ทำให้น้ำเน่าเสียได้เร็ว และส่งผลให้ปลาตายหรือไม่ค่อยกินอาหารได้เหมือนกัน


เตรียมอุปกรณ์เลี้ยงปลาต้องคัดเลือก
 อาจารย์ประพัฒน์ กล่าวว่า การนำยางในรถจักรยานยนต์เก่าเพื่อมาใช้เลี้ยงปลาไหลนั้น จะต้องคัดเลือกไม่ให้มีรอยขาดกล้างเกินไป ไม่เช่นนั้นปลาจะมุดหัวหนีออกมาได้ และเมื่อคัดเลือกยางได้แล้ว เราก็เจาะรูเล็กๆรอบล้อด้วย เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำเมื่อเวลาเลี้ยง เพร้อมกับใช้มีดตัดส่วนที่เป็นโลหะหรือช่องใส่ลมออกทิ้ง ทั้งนี้เพื่อป้องกันสนิมเมื่ออยู่ในน้ำนั่นเอง

ก่อนนำล้อยางไปใช้งานเราจะต้องแช่น้ำนานอย่างน้อย 15 วัน เพื่อการจำจัดกลิ่นละลายสิ่งสกปรกและล้างทำความสะอาด ดังน้้น เมื่อนำไปใช้งานเลี้ยงปลา ที่ไม่ประสบปัญหาอะไรเลย แถมปลายังชอบอยู่อาศัยอีกด้วย เมื่อยางไม่มีรอยขาดและสะอาดแล้ว ก็ให้เตรียมข้อต่อ พีวีซี 4 ทาง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้วครึ่ง ทั้งนี้เพื่อไว้ต่อยางในให้เป็นวงกลมเหมือนเดิม และมีปากท่อไว้สำหรับให้อาหารด้วย
ก่อนที่จะต่อเชื่อมกัน ต้องนำข้อต่อรูด้านล่างแช่ในน้ำเดือด ประมาณ 3 นาที ทั้งนี้เพื่อให้อ่อนแล้วหนีบด้วยไม้กระดานให้ปลายตีบแบน เพื่อป้องกันปลาหนีและเป็นแอ่งอาหาร
รูข้อต่อ พีวีซี ทางด้านบนเราจะต้องเจาะรูขนาด 2-3 หุน จำนวน 2 รู เพื่อระบายอากาศ จากนั้นนำท่อ พีวีซีขนาด 1 นิ้วครึ่ง ตัดเป็นท่อนยาว 10 เซนติเมตร นำไปแช่ในน้ำเดือด 3 นาที เพื่อให้อ่อนนุ่ม แล้วหนีบด้วยไม้กระดานให้ปลายตีบแบนแล้วนำไปใส่ในรูด้านบนเพื่อป้องกนปลาหนีและเป็นที่ให้อาหาร โดยเปิดออก เมื่อให้เสร็จปิดกลับเหมือนเดิม
จากนั้นนำล้อยางไปแขนหรือวางเป็นแนวนอนในน้ำ โดยให้ระดับน้ำสูงไม่เกินครึ่งของข้อต่อ พีวีซี ซึ่งส่วนใหญ่จะให้ถังพลาสติก 20 ลิตร ผ่าในแนวนอน จากนั้นก็ใส่น้ำให้เกือบเต็ม นำไม้เนื้อแข็งมาทำเป็นคาน เสร็จแล้วนำล้อยางในจักรยานยนต์ที่สวมอยู่กับท่อ พีวีซี มาแขวนไว้ให้เต็มพื้นที่
ปล่อยปลาไหลลงเลี้ยงในวงล้อ ล้อละ 1 ตัว โดยใช้ปลาเป็ดบดหรือสับเป็นชิ้นเล็กๆเป็นอาหาร วันละ 1 ครั้ง ในตอนเย็น จนปลาไหลได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการ

ปลาไหลเลี้ยงในล้อยางมีอัตรารอดชีวิต 100 เปอร์เซ็นต์

อัตราการเจริญเติบโตของปลาไหลที่เลี้ยงในล้อยางในรถจักรยานยนต์เก่า โดยใช้ปลาไหล 3 ขนาด คือ 1.9 กรัม จำนวน 6 ตัว ปลาไหลขนาดน้ำหนักเฉลี่ย 9.6 กรัม จำนวน 5 จีง และปลาไหลขนาดน้ำหนักเฉลี่ย 100 กรัม จำนวน 5 ตัว เป็นเวลา 90 วัน พบว่า ปลาไหลขนาด 1.9 กรัม มีน้ำหนักเฉลี่ย 9.26 กรัม ปลาไหลขนาด 9.60 กรัม มีน้ำหนักเฉลี่ย 19.96 กรัม และปลาไหลขนาด 100 กรัมมีน้ำหนักเฉลี่ย 201.50 กรัม สำหรับอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อนั้นเมื่อเลี้ยงครบ 90 วัน คือ 4.14:1,4.82:1 และ 2.7:1 ตามลำดับ
ปลาไหลที่นำมาเลี้ยงนั้นนำมาจาก แหล่งน้ำธรรมชาติ เพราะว่ายังไม่ได้ศึกษาวิธีการเพาะขยายพันธุ์ปลาชนิดนี้ จึงจำเป็นต้องหามาจากธรรมชาติ ช่วงแรกๆค่อนข้างตื่น แต่เมื่อเลย 20 วันไปแล้ว จะเชื่องมาก โดยเฉพาะเวลาให้อาหารก็โผล่หัวขึ่นมากินอาหารเอง
และในระหว่างเลี้ยงจะมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำน้อยมาก เพราะว่าปลาไหลมีคุณสมบัติพิเศษคือ ด้านทานโรคได้เก่ง อย่างไรก็ตาม ในการนำมาเลี้ยงในล้อยางและอยู่ในถัง 200 ลิตร เราจะเปลี่ยนถ่ายน้ำออกทิ้งสัปดาห์ล่ะ 1 ครั้ง โดยแต่ละครั้งถ่ายออกประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อต้องการให้ปลาไหลมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นนั่นเอง

เมื่อเวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำ ปลาไหลที่อยู่ในล้อก็จะดิ้นไปมา ทำให้ขี้ปลาออกมาจากรูเล็กๆ รอบล้อ ที่เจาะไว้ เพราะฉะนั้นการเลี้ยงปลาไหลด้วยวิธีนี้่คุณภาพเนื้อดี เนื่องจากทั้งอาหารและน้ำ มีการดูแลเป็นพิเศษ การเลี้ยงปลาไหลในล้อยางในรถจักรยานยนต์และให้อาหารเป็ดกินทุกวัน ประสบผลสำเร็จดีมาก เนื่องจากปลาไหลโตดีและอัตราการรอด 100 เปอร์เซ็นต์ ในการเลี้ยงปลาไหลแบบนี้ สามารถนำไปใช้ได้จริง ทั้งในรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียงและดำเนินการในเเชิงพาณิชย์...

เทคนิค  และ ขั้นตอนการทำงาน
1. นำยางในรถจักรยานยนต์มาคัดเลือก เอาเส้นที่ไม่ฉีกขาด แช่น้ำลดกลิ่นยาง และทำความสะอาด
2. ตัดส่วนที่เป็นโลหะออก เพื่อป้องกันการเกิดสนิม
3. ท่อ พีวีซี ด้านล่าง แช่ในน้ำร้อน 3 นาที ให้อ่อนนุ่มและหนีบให้แบนกันปลาไหลหนีและนำยางในรถจักรยานยนต์มาสวมกับข้อต่อ พีวีซี สองด้าน
4. นำมาแขวนในแนวตั้งหรือวางแนวนอนในภาชนะที่ต้องการเลี้ยง เช่น ถังพลาสติก 200  ลิตร บ่อคอนกรีต บ่อผ้าใบหรือภาชนะอื่นๆ
5. เติมน้ำในภาชนะ โดยให้ระดับน้ำสูงครึ่งท่อ พีวีซี
6. ปล่อยปลาไหลลงเลี้ยง 1 ตัว ต่อ 1 ล้อ
7. ปิดช่องให้อาหาร โดยไม้หรือฝาครอบ พีวีซี
8. ให้อาหารวันล่ะ 1 ครั้ง ตอนเย็น โดยใช้ปลาเป็ดสับหรือบดเป็นชิ้นเล็กๆ ให้ปลาสามารถกินได้
9.เปลี่ยนถ่ายน้ำ 5-7 วัน ต่อครั้ง หรือสังเกตคุณสมบัติของน้ำประกอบ
10. ตรวจสอบประจำวัน วงล้อใดมีอาหารเหลือในวันนั้น ไม่ต้องให้ และถ้าหากปลาไหลยังไม่เกิน 5-7 วัน ตรวจสอบดูว่าปลาไหลตายหรือเปล่า

ข้อเสนอแนะ
- ควรล้างทำความสะอาดยางให้สะอาดให้มากที่สุด เพราะอาจติดคราบน้ำมันหรือสิ่งสกปรกอื่นๆ ที่อาจจะเป็นอันตรายต่อปลาไหลได้
- ถ้าหากไม่ใช้ยางในรถจักรยานยนต์ สามารถหาวัสดุอื่นแทนได้ เล่น พีวีซี พลาสติก เป็นต้น
- ควรฆ่าเชื้อโรคด้วยการแช่ยาเหลือง 2 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 5 ลิตร นาน 30 นาที หรือฟอร์มาลีน 25 ppm ก่อนปล่อยเลี้ยง เพราะปลาไหลอาจติดโรคมา และแพร่เชื่อไปยังตัวอื่นได้
- ถ้าไม่มีปลาเป็ดสามารถให้อาหารกุ้งและอาหารปลาดุกแทนได้
- สิ่งประดิษฐ์เหมาะแก่การขุนปลาไหลมาก เนื่องจากอัตราการเจริญเติบโตดีมาก โดยเริ่มจากปลาไหลขนาด 50-100 กรัม เพราะว่ากินอาหารดี ใช้พลังงานน้อย จึงโตดี

แหล่งที่มา : นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน
ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต

วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

หมกฮวก ซึ่งถือเป็นเมนูจานเด็ดที่อยู่คู่ชาวอีสานมาช้านาน แม้จะโด่งดังไม่เท่าส้มตำ แต่ชาวอีสานแท้ๆ ก็นิยมบริโภคกันมาก เรียกว่าจะขาดไม่ได้
การที่มีความต้องการบริโภคหมกฮวกกันมาก ลูกกบหรือลูกอ๊อดตามแหล่งน้ำธรรมชาติที่นำมาทำเป็นหมกฮวกจึงลดน้อยลงและเริ่มขาดแคลน จึงมีเกษตรกรสมองใสคิดเพาะเลี้ยงลูกอ๊อดหรือลูกกบป้อนตลาดเพื่อไม่ให้ขาดแคลน 
นายวุฒิ ทองดีเกษตรกรหนุ่มวัย 38 ปี อยู่บ้านเลขที่ 315 หมู่ 4 บ้านคำมะดูก ต.บุ่ง อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ ได้เล่าถึงความเป็นมาในการเพาะเลี้ยงฮวก (ลูกอ๊อด) ว่าตนได้ทดลองลงมือเพาะเลี้ยงฮวกมาตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.2539 ซึ่งตนมีผืนนาอยู่ประมาณ 4 ไร่เศษ เป็นพื้นที่สูง ทำนาได้ข้าวปีละไม่กี่ถัง ลำพังนำมาเลี้ยงครอบครัวยังไม่เพียงพอ อย่าว่าแต่นำไปขายเลย เปลี่ยนไปทำการเพาะปลูกแตงกวาก็ไม่ประสพผลสำเร็จ จึงได้ทดลองเลี้ยงฮวกขาย โดยการปรับพื้นที่นาผืนเดิมให้เป็นบ่อเพาะเลี้ยง ทำเป็นบ่อคอนกรีต (บ่อปูนซีเมนต์) จำนวน 10 บ่อ บ่อดินสำหรับเลี้ยงฮวก 25 บ่อ การเพาะพันธุ์ และการจำหน่าย
แต่ละบ่อมีขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 8 เมตร ลงทุนไปซื้อกบพ่อพันธุ์แม่พันธุ์มาจาก จ.สุพรรณบุรี จำนวน 150 ตัวๆ ละ 250 บาท เป็นกบพันธุ์นางนวล ต่อจากนั้นก็มีการขยายพ่อพันธุ์แม่พันธุ์เอง
โดยจะเก็บกบพันธุ์ไว้ปีละ 4,000 ตัว ตัวมีย 2,000 ตัว ตัวผู้ 2,000 ตัว กบพ่อพันธุ์แม่พันธุ์แต่ละรุ่นจะสามารถให้ผลผลิตได้ถึงระยะเวลา 2 ปี ต่อจากนั้นก็จะเปลี่ยนพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กบรุ่นเดิมก็จะถูกนำไปปล่อยตามท้องไร่ท้องนา จะไม่ขายหรือฆ่า ซึ่งกบแต่ละรุ่นจะให้ลูกฮวกได้นานถึง 8 ครั้ง ในการผสมก็จะใช้วิธีการธรรมชาติ และทางเทคนิค โดยลูกฮวกเกิดใหม่จะพักไว้ในบ่ออนุบาล 7 วัน ต่อจากนั้นก็จะนำลงไปปล่อยเลี้ยงในบ่อดินที่เตรียมไว้ เลี้ยงอยู่ประมาณ 15 วัน ก็สามารถได้ลูกฮวกที่โตได้ขนาดพอขาย ราคาขายส่ง 200 บาท/กิโลกรัม ถ้าเป็นขายปลีกก็ราคา 300 บาท/กิโลกรัม
ในแต่ละบ่อดินที่ทำการเพาะเลี้ยงจะสามารถได้ลูกฮวกประมาณ 70 กิโลกรัม/ 1 บ่อ ถ้ารวมทั้งหมดก็จะประมาณ 1,750 กิโลกรัม/รุ่น ลูกค้าที่มาซื้อก็มีทั้งในและต่างจังหวัด อาทิ กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษฯ โดยเฉพาะที่ จ.กาฬสินธุ์ถือได้ว่าเป็นขาประจำ จะลงมาซื้อครั้งละ 200-300 กิโลกรัม ซึ่งก็จะทำให้มีรายได้เป็นอย่างดี ประกอบกับการเพาะเลี้ยงฮวกจะเป็นการเพาะเลี้ยงนอกฤดูกาล ซึ่งปกติฮวกธรรมชาติทั่วไปจะมีในฤดูฝนเท่านั้น ถ้าคิดต่อรุ่นก็สามารถทำเงินให้ประมาณ 300,000-400,000 บาท
 ในขณะที่เราใช้เวลาเลี้ยงฮวกอยู่ประมาณ 21-25 วัน แต่ก็จะมีข้อจำกัดในการเพาะเลี้ยงอยู่ว่า ต้องเพาะเลี้ยงในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม เท่านั้น ต่อจากนั้นก็จะเก็บกบพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไว้จนถึงฤดูกาลเลี้ยงอีกที ในส่วนของอาหารกบและฮวกเราจะให้หัวอาหารเม็ด 2 เวลา คือ เช้า-เย็น นอกนั้นกบหรือฮวกยังกินดินโคลนหรือแมลงต่างๆ เป็นอาหารอีก ก็นับว่าเพาะเลี้ยงง่ายโตเร็ว ขายก็ง่าย เป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภค
ในเรื่องของการตลาดแล้วถือได้ว่ามีความสดใสมาก เพราะลูกฮวก นอกฤดูกาลตามธรรมชาติ ประชาชนจะชื่นชอบมาก จะนำลูกฮวกไปประกอบเป็นอาหารเมนูเด็ดได้หลายอย่าง เช่น หมกฮวก อ่อมฮวก แกงใส่หน่อไม้ดอง โดยเฉพาะชาวอีสานแล้วจะชื่นชอบเป็นพิเศษ เพราะฮวกมีรสชาติอร่อย มีคุณค่าทางโภชนาการ ที่สำคัญฮวกจะไม่มีกระดูก ทานก็ง่าย นอกนั้นนักตกปลายังชื่นชอบมาซื้อไปเพื่อเป็นเหยื่อตกปลาอีก เพราะลูกฮวกที่นำไปเป็นเหยื่อตกปลาจะทำให้ได้ปริมาณปลาที่ตกมาก โดยเฉพาะปลาช่อน คุ้มค่าไม่เสียเวลา สำหรับน้ำที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงเราก็จะใช้น้ำประปาบาดาลที่ขุดเจาะขึ้นเอง บางส่วนก็จะใช้น้ำคลองส่งน้ำที่ทางกรมชลประทานส่งปล่อยมาให้
ในเรื่องของปัญหาอุปสรรคก็จะเป็นจำพวกศัตรูของฮวกคือ งูชนิดต่างๆ จะชอบหลบเข้ามากินลูกฮวกในเวลากลางคืน แต่เราก็แก้ไขปัญหาโดยการนำเอาผ้าเขียวพลาสติกมาล้อมกันไว้ไม่ให้งูเข้ามากินได้ นอกนั้นก็ยังมีเจ้าหน้าที่ประมงจังหวัดได้ออกมาเยี่ยมฟาร์มพร้อมกับให้คำแนะนำในด้านวิชาการเพาะเลี้ยงให้อีก ก็นับได้ว่าการเพาะเลี้ยงลูกฮวกขายทำให้ครอบครัวมีรายได้อย่างมั่นคง ดีกว่าการทำนาข้าวหลายเท่า อีกอย่างในเรื่องของราคาซื้อขายก็ตกลงยินยอมซื้อขายกันเองตามท้องตลาดไม่มีการผูกขาดหรือผู้ซื้อกำหนดราคาซื้อผู้ขายกำหนดราคาขาย ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ เพราะไม่มีพ่อค้าคนกลางมากำหนดราคาแทน จะราคามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณของลูกฮวก เช่นถ้าย่างเข้าฤดูฝนตกชุกฮวกตามธรรมชาติทั่วไปมี ราคาก็จะถูกลง
นายวุฒิ ยังได้เล่าให้ฟังอีกว่า ในขณะนี้ได้ขยายพื้นที่การเพาะเลี้ยงออกไปอีกโดยได้ขอซื้อที่เพื่อนบ้านใกล้เคียงบ่อเลี้ยงอีกประมาณ 4 ไร่เศษ สร้างบ่อดินเพิ่มเติมอีก นอกนั้นยังได้มีการพัฒนาสายพันธุ์กบ เพื่อที่จะให้ได้ผลผลิตลูกฮวกมากขึ้น ให้เพียงพอกับความต้องการของตลาด และสายพันธุ์ใหม่คือ พันธุ์ ฟรูฟอกซ์ ทั้งนี้เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของตลาด และเป็นการพัฒนาอาชีพให้มั่นคงนั่นเองและในช่วงปิดเทอมปีนี้ตนได้มีการจ้างงานเด็กนักเรียนในละแวกบ้านมาช่วยทำงานเพื่อหารายได้อีกด้วย โดยได้ค่าจ้างวันละ 80-100 บาท แล้วแต่งานมากงานน้อย และก็ได้เพิ่มพื้นที่ขึ้นอีกจำนวน 2 ไร่เศษๆ

สำหรับวิธีการเพาะเลี้ยง
1.เตรียมกบพ่อพันธุ์แม่พันธุ์
2.เตรียมบ่อให้สะอาดผ่านการฆ่าเชื้อโรค
3.นำกบมาผสมพันธุ์
4.เพาะเลี้ยงลูกฮวกในบ่ออนุบาล 7 วัน
5.นำลูกฮวกไปเพาะเลี้ยงในบ่อดินที่เตรียมไว้
6.ให้หัวอาหารเม็ดวันละ 2 เวลา (เช้า-เย็น)หลังจากกบออกไข่แล้ว ประมาณ 24 ชั่วโมง ไข่กบก็ฟักออกเป็นตัว เรายังไม่ต้องให้อาหารใดๆ จนผ่านไปถึงวันที่ 3 จึงเริ่มให้อาหาร โดยเริ่มให้ทีละน้อยๆ และหมั่นสังเกตด้วยว่า ลูกกบกินอาหารหมดหรือไม่ หากหมดก็ค่อยๆ เพิ่ม หากไม่หมดก็ลดการให้อาหารลง ระยะอนุบาลลูกกบนี้ต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกๆ 3 วัน หรือหากน้ำเริ่มเสียก็เปลี่ยนน้ำเร็วขึ้น ไม่จำเป็นต้องรอให้ถึง 3 วัน อาหารลูกกบก็ให้อาหารปลาดุกเล็ก ราคาปัจจุบันกระสอบละ 525 บาท ระดับน้ำในคอกโดยเฉลี่ยประมาณ 30 เซนติเมตร เมื่อลูกอ๊อดอายุครบ 15 วัน ก็จะเริ่มจับจำหน่าย ลูกอ๊อดแต่ละรุ่นในหนึ่งคอกจะอยู่ที่ 80-100 กิโลกรัม ราคาจำหน่ายสูงสุดกิโลกรัมละ 120 บาท ต่ำสุดก็ 80 บาท การจำหน่ายจะมีลูกค้าประจำไปรับที่ฟาร์มและลูกค้าขาจร เคยจำหน่ายได้มากที่สุดวันหนึ่งถึง 700 กิโลกรัม การบรรจุหีบห่อ ใช้ถุงพลาสติคซ้อนสองใบ ใส่ลูกอ๊อดตามขนาดของถุง อัดออกซิเจน ปิดปากถุงด้วยยางรัดให้แน่น ป้องกันการรั่วของอากาศ อายุในการขนส่งอยู่ยาวนานถึง 12 ชั่วโมง ลูกค้าที่รับไปสามารถเดินทางไปยังจังหวัดต่างๆ เช่น อุดรธานี ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ได้โดยที่ลูกอ๊อดยังไม่ตาย

ท่านที่สนใจการเพาะเลี้ยง หรือต้องการลูกฮวกติดต่อได้ที่ คุณวุฒิ ทองดี บ้านคำมะดูก เลขที่ 315 หมู่ 4 ต.บุ่ง อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ 37000 โทร.0-9864-5564
วิเชียร เกื้อทาน/อำนาจเจริญ

วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

 สวัสดีวันสดใสค่ะ ผู้เยื่ยมชมบล็อกของเรา วันนี้จะนำสาระเกษตรมาถ่ายทอดให้กับเกษตรกรผู้ชอบเลี้ยงปลาและการใช้ประโยชน์จากนาข้าว สำหรับผู้ที่อยากจะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ รวมทัังเกษตรกรที่เลี้ยงอยู่แล้วค่ะ สาระเรื่องนี้นำมาจาก เอกสารคำแนะนำของกรมประมง และเจ้าของบล็อกก็จะแทรกรูปแบบที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านและผู้สนใจค่ะ ติดตามกันค่ะ....

     ปกติระหว่างฤดูทำ นาในระยะที่นํ้า เอ่อนองเข้าผืนนา ปลาจากแหล่งนํ้าธรรมชาติจะแพร่กระจายจากแม่นํ้า ลำ คลอง เข้าไปอาศัยเลี้ยงตัวและเจริญเติบโตในแปลงนาปีหนึ่งๆ เฉลี่ยแล้วประมาณ 4กิโลกรัมเศษต่อไร่ ด้งนั้นหากชาวนาจะคิดดัดแปลงผืนนาของตนที่ใช้ปลูกข้าวอยู่ให้มีการเลี้ยงปลาในผืนนาควบคู่ไปด้วยแล้ว นาข้าวซึ่งเคยได้ปลาเป็นผลพลอยได้พิเศษอยู่ก่อนเพียงเล็กน้อย ก็จะให้ผลผลิต

ปลาเพิ่มขึ้นเป็น 20 กิโลกรัมต่อไร่หรือกว่านั้น โดยที่ประเทศไทยมีเนื้อที่นาทั่วทั้งประเทศประมาณ 43ล้านไร่ หากสามารถคิดใช้ผืนนาให้เป็นประโยชน์นอกเหนือจากการปลูกข้าวแต่อย่างเดียวเพียงแค่ 1 ใน 100 ของเนื้อที่นาทั่วประเทศ โดยคัดเลือกแปลงนาที่เหมาะสม ดัดแปลงและปรับปรุงเพื่อใช้เลี้ยงปลาควบคู่ไปกับการทำ นา โดยปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักวิชาแล้วในปีหนึ่งๆ จะได้ผลผลิตจากปลาเพิ่มขึ้น เป็นจำนวนหมื่นๆ ตัน ซึ่งวิธีการนี้เป็นการเพิ่มอาหารและรายได้บนผืนนาเดิมของพี่น้องชาวไทยนั่นเองและจากวิธีการดังกล่าวนี้ก็

จะเป็นการเพิ่มปริมาณสัตว์นํ้าให้ได้มากพอกับความต้องการของประเทศอีกด้วย


การเลี้ยงปลาในนานั้นมิใช่เป็นของใหม่ ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียเลี้ยงปลาในนาข้าวได้ผลดีกันมาเป็นเวลานานแล้ว เช่นที่ประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และอินโดนีเซีย ในประเทศเราได้เริ่มทำ กันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2491 แต่เพิ่งจะสนใจเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายเพียงไม่กี่ปีมานี้เอง


ประโยชน์จากการเลี้ยงปลาในนาข้าว
1. ชาวนาสามารถใช้ประโยชน์จากผืนนาได้เต็มที่ ตามปกติในผืนนาจะมีอาหารธรรมชาติ ซึ่งได้แก่พืชและสัตว์เล็กๆ ทั้งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและที่ปรากฏอยู่ทั่วไป อาหารธรรมชาติเหล่านี้ตามปกติแล้วมิได้มีการใช้ประโยชน์แต่อย่างใด ยิ่งถ้าหากชาวนาทำ นาตามแบบที่ทางราชการแนะนำ คือมีการใส่ปุ๋ยในแปลงนาด้วยแล้วอาหารธรรมชาติจะยิ่งสมบูรณ์มากขึ้น แต่อาหารธรรมชาติอันมีคุณค่านี้ถูกทอดทิ้งโดยมิได้ใช้ให้เป็นประโยชน์แต่อย่างใด หากชาวนาสนใจหันมาเลี้ยงปลาในนาข้าว ปลาที่เลี้ยงก็จะสามารถใช้อาหารธรรมชาติอันเป็นอาหารของปลาโดยเฉพาะให้เป็นประโยชน์อย่าง

คุ้มค่า โดยเปลี่ยนเป็นอาหารจำ พวกโปรตีนในรูปของเนื้อปลาให้แก่เจ้าของนาและผู้เลี้ยงตลอดจนอาจเพิ่มรายได้ให้อีกทางหนึ่งด้วย
2. ปลาช่วยกำ จัดวัชพืช ชาวนาย่อมตระหนักดีถึงความยุ่งยากในการกำ จัดวัชพืชที่ขึ้นรกในแปลงนาในระหว่างทำ นา วัชพืชจะแย่งอาหารจากต้นข้าว ทำ ให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ นาจะให้ผลผลิตตํ่า ชาวนาจะต้องเสียทั้งเวลาและเหน็ดเหนื่อยในการกำ จัดวัชพืชดังกล่าว หากมีการเลี้ยงปลาในนาข้าวแล้ว ปลาจะช่วยกำ จัดโดยกินวัชพืชนานาชนิดในแปลงนาเป็นอาหาร โดยชาวนาไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยอีกด้วย


3. ปลาช่วยกำ จัดศัตรูของต้นข้าว หนอนและตัวอ่อนของแมลงชนิดที่อยู่ในนํ้าและที่ร่วงหล่นลงไปในนาอันเป็นศัตรูร้ายแรงของต้นข้าว จะกลับเป็นอาหารวิเศษสุดของปลา



4. ปลาช่วยพรวนดินในนา จากการที่ปลาว่ายวนเวียนในนํ้ารอบๆ กอข้าวบนผืนนา การเคลื่อนไหวของครีบและหางปลาจะช่วยพัดโบกมวลดินในผืนนามิให้ทับอัดกันแน่น อันเป็นเสมือนการพรวนดินให้แก่ต้นข้าว ซึ่งจะช่วยทำ ให้ต้นข้าวเจริญงอกงามขึ้นกว่าปกติ


5. ปลาช่วยเพิ่มปุ๋ย มูลและสิ่งขับถ่ายจากปลาซึ่งประกอบด้วยธาตุไนโตรเจนและอื่นๆ จะเป็นปุ๋ยโดยตรงสำ หรับต้นข้าว


6. การเลี้ยงปลาในนาข้าว ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวให้สูงขึ้นกว่าการปลูกข้าวแต่เพียงอย่างเดียว



การเลือกสถานที่
ผืนนาทุกแห่งมิใช่จะเหมาะสมต่อการเลี้ยงปลาในนาเสมอไปการเลี้ยงปลาในนาข้าวจึงมักจะมีอุปสรรคอยู่เสมอ โดยเฉพาะในเรื่องนํ้า เช่นในบางท้องที่อาศัยเฉพาะนํ้าฝน หรือบางที่ชาวนาไม่สามารถรักษาระดับนํ้าในผืนนาไว้ได้ตลอดระยะเวลาที่ต้องการ ดังนั้น หากเพียงแต่นาที่จะเลี้ยงปลาสามารถเก็บกักนํ้าในผืนนาไว้ให้ได้มากกว่าปกติเพียงประมาณ 1-2 คืบ (30 เซนติเมตร) เป็นอย่างน้อย ตลอดฤดูกาลทำ นาและทั้งสามารถที่จะเลี้ยงปลาในนาได้ผลดี จึงควรที่จะยึดหลักในการเลือกผืนนาให้มีสภาพดังนี้

1. อยู่ใกล้แหล่งนํ้า หนอง บึง ลำ ราง ทางนํ้าไหลที่สามารถนำ นํ้าเข้าแปลงนาได้ แปลงนาที่อาศัยนํ้าฝนทำ นาแต่เพียงอย่างเดียวควรเก็บกักนํ้าได้ไม่น้อยกว่า 90 วัน

2. ไม่เป็นที่ลุ่มจนนํ้าท่วม หรือที่ดอนเกินไปจนไม่สามารถเก็บกักนํ้าได้

3. สะดวกต่อการดูแลรักษา

4. พื้นที่ที่ปลูกข้าวได้ผลดีจะสามารถดัดแปลงมาทำ การเลี้ยงปลาควบคู่กับการปลูกข้าวได้ดี
ขนาดของแปลงนาข้าวแปลงนาที่เลี้ยงปลาในนาข้าว จะมีขนาดและรูปร่างอย่างไรก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่และความพร้อมของผู้เลี้ยง แต่แปลงนาขนาดตั้งแต่ 5 ไร่ ขึ้นไปจะมีความเหมาะสมและให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า
การเตรียมแปลงนาข้าว
การเตรียมแปลงนาเพื่อใช้เลี้ยงปลาในผืนนาไปด้วยนั้น ควรเตรียมให้เสร็จก่อนระยะเตรียมดินและไถคราด โดยปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
1.แปลงนาที่เป็นที่ลุ่มและสามารถเก็บกักนํ้าได้ลึกอย่างน้อย 1 ศอก (50 เซนติเมตร) ตลอดฤดูทำ นา ควรเสริมคันนาให้สูงขึ้นจากระดับพื้นนาเดิมประมาณ 3 คืบ (80 เซนติเมตร) และมีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอ เพื่อป้องกันนํ้าท่วมและการพังทลายของคันนา

2. แปลงนาที่มีบ่อล่อปลาอยู่แล้ว ก็ให้ดัดแปลงโดยเสริมคันนาให้แข็งแรงสามารถเก็บกักนํ้าได้ลึกอย่างตํ่า 1-2 คืบ (30 เซนติเมตร) โดยให้พื้นที่ของแปลงนามีขนาดประมาณ 10 เท่าของพื้นที่บ่อล่อปลา

เพื่อความสะดวกในการจับปลาจึงสมควรขุดบ่อ รวมปลาบริเวณที่ลึกที่สุด ของแปลงนา เพื่อให้ปลามารวมกันในขณะที่ลดระดับนํ้าในแปลงนาข้าว โดยมีพื้นที่ประมาณ 5-10 ตารางวา (20-40ตารางเมตร) แล้วแต่ขนาดของแปลงนาและลึกกว่าร่อนนาประมาณ 1 ศอก (50 เซนติเมตร)
บ่อรวมปลานี้ยังใช้เป็นบ่ออนุบาลลูกปลาที่มีขนาดเล็กให้มีขนาดใหญ่ คือ มีความยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ซึ่งเหมาะที่จะปล่อยเลี้ยงในแปลงนาได้ดี โดยการอนุบาลลูกปลาไว้ล่วงหน้าประมาณ



1. แปลงนาซึ่งเป็นที่ลุ่มและพื้นนาลาดเอียงบางด้าน ก็ให้ใช้ด้านตํ่าเป็นที่พักปลาโดยขุดดินด้าน

นี้มาเสริมคันนาให้สูงขึ้นมากพอที่จะเก็บกักนํ้าให้ท่วมที่ดอนได้ ประมาณ 1-2 คืบ (30 เซนติเมตร)
2. แปลงนาที่อยู่ในพื้นที่ราบและไม่เป็นที่ลุ่มเกินไป ควรขุดร่องรอบผืนนาให้มีความกว้าง 2 ศอก (1 เมตร) ลึก 3-4 คืบ (80 เซนติเมตร – 1 เมตร) แล้วนำ ดินที่ขุดขึ้นเสริมคันนาให้สูงจากระดับผืนนาเดิมประมาณ 1 ศอก (50 เซนติเมตร) เพื่อเก็บกักนํ้าให้ท่วมแปลงนาได้ลึก 1-2 คืบ (30 เซนติเมตร)

3. พันธุ์ข้าว ใช้พันธุ์ข้าวที่กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำ ในแต่ละท้องถิ่น หากเป็นไปได้ ควรเลือกใช้ข้าวพันธุ์หนักที่สามารถอยู่ในนาได้นานวันพันธุ์ปลาที่ควรเลี้ยงในนาข้าว
พันธุ์ปลาที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงในนาข้าว ควรมีคุณสมบัติดังนี้
1. เลี้ยงง่าย
2. เติบโตเร็ว
3. อดทน
4. หาพันธุ์ได้ง่าย
5. ไม่ทำ ลายต้นข้าว
6. เนื้อมีรสดีเป็นที่นิยมของท้องถิ่น
พันธุ์ปลาดังกล่าวได้แก่ ปลาใน ปลาตะเพียนขาว ปลานิล ปลานวลจันทร์เทศและปลาหัวโตหรือปลาซ่ง ซึ่งปลาต่างๆ เหล่านี้กินอาหารธรรมชาติที่เกิดขึ้นในแปลงนา ประเภทพืชและสัตว์เล็กๆ ได้ดีจึงโตเร็ว และนอกจากนี้ยังกินอาหารเสริมต่างๆ ที่หาได้ในท้องถิ่นอีกด้วย
ช่วงเวลาการปล่อยปลา
หลังจากไถคราดและปักดำ เสร็จเรียบร้อยแล้วประมาณ 15-20 วัน เมื่อเห็นว่าต้นข้าวแข็งแรงและรากยึดติดดินดีแล้ว จึงนำ ปลาไปปล่อยลงเลี้ยง
ขนาดและจำนวนพันธุ์ปลา
ขนาดและจำนวนปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยงในนาแปลงหนึ่งๆ นั้น ควรใช้ปลาขนาดความยาว 5-10 เซนติเมตร เพราะเป็นปลาขนาดที่เติบโตได้รวดเร็ว และพอที่จะเลี้ยงตัวหลบหลีกศัตรูได้ดี

     วนปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยงนั้น ควรปล่อยให้อัตราที่เหมาะสมต่อเนื้อที่นาอย่าให้มากหรือน้อยเกินไป หากมากเกินไปแล้วปลาจะเจริญเติบโตช้า เพราะปลาจะแย่งที่อยู่อาศัยและแย่งอาหารกันเอง ในเนื้อที่นา 1 ไร่ ควรปล่อยปลาลงเลี้ยงประมาณ 400-800 ตัว แล้วแต่ขนาดของปลาหรือถ้าจะเลี้ยงปลาหลายชนิดรวมกัน ควรใช้สัดส่วนของปลาไนต่อปลาตะเพียนต่อปลานิล เท่ากับ 4 ต่อ 2ต่อ 2 จะทำ ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นหรือปล่อยปลาไน ปลาตะเพียน และปลานิลขนาด 3-5 เซนติเมตร อัตรา500 ตัวต่อไร่ รวมกับปลาจีน 30-50 ตัวต่อไร่ ใช้เวลาเลี้ยง 6 เดือน จะได้ขนาดตลาดต้องการ และหากแปลงนามีนํ้าสมบูรณ์อาจพิจารณาปล่อยปลาหัวโตหรือปลานวลจันทร์เทศอย่างหนึ่งอย่างใดหรือรวมกันเสริมลงไป ไม่เกิน 10-20 ตัวต่อพื้นที่ 1 ไร่ก็ได้ หลังจากปล่อยพันธุ์ปลาลงในแปลงนาแล้วในสัปดาห์ที่ 1-2 ควรให้อาหารสมทบแก่ลูกปลาขนาดเล็ก พวกรำ ละเอียดโปรยให้บริเวณที่ปล่อยปลาหลังจากนั้นจึงปล่อยให้ปลาหาอาหารกินเองในแปลงนา

อาหารและการให้อาหาร

การเลี้ยงปลาในนาเป็นการใช้อาหารธรรมชาติในผืนนาที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ แต่อาหารธรรมชาตินี้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของปลา จำ เป็นต้องเร่งให้เกิดอาหารธรรมชาติ โดยการใส่ปุ๋ยและให้อาหารสมทบ

ปุ๋ย ปุ๋ยที่เหมาะสม ได้แก่ มูลสัตว์ที่หาได้ในท้องถิ่นใส่ในอัตราเดือนละ 50-80 กิโลกรัมต่อไร่โดยการหว่านในร่องนาหรือกองไว้ที่มุมแปลงนาด้านใดด้านหนึ่งแล้วแต่ความสะดวก หรือผสมใช้ทำ เป็นปุ๋ยหมักก็ได้ ส่วนการใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์นั้นสามารถใส่ได้ตามที่กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำ

อาหารสมทบ ได้แก่ รำ ปลายข้าวต้มผสมรำ ปลวก แมลง ผัก และหญ้าชนิดที่ปลากินได้ จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นการให้รำ ละเอียดเป็นอาหารแก่ลูกปลาในระยะ 1-2 สัปดาห์แรกปุ๋ยหมัก อาหารที่สามารถหาใส่ได้ในแปลงนา
นอกจากนี้การปลูกสร้างคอกสัตว์ เช่น ไก่ เป็ด ไว้บนแปลงนาจะเป็นการเพิ่มอาหารปลาเนื่องจากมูลสัตว์สามารถใช้เป็นปุ๋ยแก่ปลาได้ด้วยคอกสัตว์ปีกบนแปลงนาจะเป็นการเพิ่มอาหารให้ปลาในนาและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร

การดูแลรักษา

1. ศัตรู โดยทั่วไปได้แก่ ปลาช่อน งู กบ เขียด หนู และนกกินปลาก่อนปล่อยปลาจึงควรกำ จัดศัตรูภายในผืนนาออกให้หมดเสียก่อน และควรระมัดระวังโดยพยายามหาทางป้องกันศัตรูที่จะมาภายหลังอีกด้วย

2. ระดับนํ้า ควรจะรักษาระดับนํ้าให้ท่วมผืนนาหลังจากปล่อยปลาแล้ว จนถึงระยะเก็บเกี่ยวอย่างน้อยประมาณ 1-2 คืบ (30 เซนติเมตร) เพื่อปลาจะได้หากินบนผืนนาได้ทั่วถึง

3. หมั่นตรวจสอบคันนาอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อป้องกันคันนารั่วซึมและพังทลาย สาเหตุมักเกิดจากการเจาะทำ ลายของปูนา และฝนตกหนัก

4. ยาปราบศัตรูพืช ไม่ควรใช้ยาปราบศัตรูพืชในแปลงนาที่มีการเลี้ยงปลาร่วมอยู่ด้วย เพราะยาฆ่าแมลงหรือยาปราบศัตรูพืชส่วนใหญ่เป็นอันตรายต่อปลา แม้ใช้เพียงเล็กน้อยก็อาจทำ ให้ปลาถึงตายได้ แต่ในกรณีที่ต้นข้าวเกิดโรคระบาด จำ เป็นจะต้องฉีดยาฆ่าแมลง ควรจับปลาออกให้หมดเสียก่อน

5. การใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ชนิดเม็ดที่ละลายได้ยากจะต้องระมัดระวังให้มาก เพราะปลาอาจจะกินปุ๋ยทำ ให้ตายได้ ควรละลายนํ้าแล้วสาดให้ทั่วผืนนา
ผลผลิตที่ได้

การเลี้ยงปลาในนาข้าวนอกจากจะได้ข้าวตามปกติแล้ว จากผลการทดลอง พบว่า

แปลงนาที่มีการเลี้ยงปลาควบคู่กับการปลูกข้าว จะได้ข้าวเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณไร่ละ 5 ถัง นอกจากนี้ยังได้ปลาอีกอย่างน้อยประมาณไร่ละ 20 กิโลกรัม ซึ่งถ้าหากมีการใส่ปุ๋ยและให้อาหารสมทบด้วยแล้วจะได้ผลผลิตปลาเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 5 เท่าการเลี้ยงปลาในนาข้าวเป็นอาชีพที่ชาวนาสามารถปฏิบัติได้เกือบตลอดปี เพราะนอกจากจะเลี้ยงปลาในนาในระยะที่ทำ นาตามปกติแล้วหลังจากที่เก็บเกี่ยวข้าวในนาเสร็จ ชาวนายังสามารถใช้ผืนนาเดิมเลี้ยงปลาในระยะหลังการเก็บเกี่ยวได้อีกในกรณีที่มีนํ้าอุดมสมบูรณ์ โดยเพิ่มระดับนํ้าให้ท่วมผืนนาอย่างน้อยประมาณ 1-2 คืบ (30 เซนติเมตร) ตลอดระยะเวลาที่เลี้ยงปลา ผืนนาที่เคยถูกทอดทิ้งให้แห้งแล้งปราศจากประโยชน์จะกลับกลายสภาพเป็นบ่อเลี้ยงปลา ซังข้าวและวัชพืชบนผืนนาจะเน่าสลายกลายเป็นอาหารอย่างอุดมสมบูรณ์แก่ปลา เป็นการใช้ประโยชน์จากผืนนาอีกครั้งหนึ่งจนกว่าจะถึงฤดูทำนาตาม

ปกติการเลี้ยงปลาในนาข้าวเป็นการเพิ่มผลผลิตแก่พี่น้องชาวนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะสามารถช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารได้เป็นอย่างดี หรืออย่างน้อยที่สุดก็จะช่วยให้ชาวนามีการกินดีอยู่ดี กับทั้งจะเป็นการเสริมสร้างรายได้ของครอบครัวเพิ่มขึ้นอีกด้วย ยิ่งกว่านั้นยังทำให้ชาวนาใช้ ผืนนาในฤดูทำนาให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ และแม้แต่หลังฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว ชาวนายังสามารถใช้ผืนนาให้เป็นประโยชน์ด้วยการเลี้ยงปลาได้อีก จึงควรที่พี่น้องชาวนาจะได้ริเริ่มดัดแปลงผืนนาของตนให้เกิดประโยชน์แก่ครอบครัว อันจะเป็นการช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศให้พัฒนายิ่งๆ ขึ้นไป

ที่มา : กรมประมง
ภาพ : จากอินเตอร์เน็ต

วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

สวัสดีค่ะ ผู้แวะเยี่ยมบล็อก นานาสาระเกษตร วันนี้จะนำสาระความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาดุกในโอ่งแบบง่ายๆ มาให้ได้ดูกันค่ะ ที่ว่าง่ายๆ ก็คือ หาซื้อ ได้ไม่ยุ่งยาก เลี้ยงเอง กินเอง เหลือก็ขาย แล้วแต่ว่าจะมีเวลาสะดวกค่ะ สำหรับคนที่จะทำแบบจริงจัง ก็ให้ศึกษาตลาดของปลาดุกให้ดี ว่าเราจะขายที่ไหน หรือจะทำการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ยังไงจะนำเรื่องการแปรรูปของปลาดุกมีแบบไดบ้าง มีวิธีการไหนบ้างมาบอกกันในวันหน้าแล้วกันนะค่ะ

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์นั้น
 ต้องเตรียมอุปกรณ์ในการเลี้ยงปลาดุก ดังนี้ 
1. เตรียมโอ่งซีเมนต์  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร  สูง 50 เซนติเมตร ส่วนบริเวณก้นโอ่งท่านควรจะมีท่อระบายน้ำเพื่อใช้สำหรับถ่ายน้ำออก
ก่อนที่ท่านจะนำปลาลงมาเลี้ยงนั้นควรจะเอาน้ำใส่โอ่งทิ้งไว้สักระยะหนึ่งและล้างโอ่งซีเมนต์ให้สะอาดไม่ควรให้มีคราบของปูนซีเมนต์หลงเหลืออยู่  หากคราบปูนซีเมนต์ยังออกไม่หมดอาจทำให้ลูกปลาดุกที่ท่านนำมาเลี้ยงตายได้  วิธีขจัดคราบปูนซีเมนต์ควรหาหยวกกล้วยมาแช่ในท่อซีเมนต์ประมาณ 2 สัปดาห์  จึงสามารถเอาหยวกกล้วยออกจากท่อซีเมนต์แล้วล้างภายในโอ่งให้สะอาด  จากนั้นก็เริ่มปล่อยน้ำเข้าโอ่งซีเมนต์โดยระดับน้ำที่จะเลี้ยงลูกปลาดุกไม่ควรสูงมาก  เพราะลูกปลาดุกจะขึ้นมาหายใจสะดวก ระดับน้ำสูงประมาณ 20 เซนติเมตร  ซึ่งในแต่ละท่อปูนซีเมนต์ควรใส่ลูกปลาดุก 80-100 ตัว เป็นจำนวนที่เหมาะสม ในระหว่างอนุบาลลูกปลาดุกท่านควรหาผักตบชวามาใส่บ่อบ้างเพราะลูกปลาดุกจะชอบเข้าไปอาศัยในรากของผักตบชวา  ลูกปลาดุกยังได้กินดินหรือแพลงก์ตอนในรากผักตบชวาอีกด้วย

โดยในช่วงอนุบาลลูกปลาดุกจะให้อาหารสำเร็จรูปแบบเม็ด  กินอย่างเต็มที่วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 15-20 วัน ก็นำผักตบชวามาหรือพืชน้ำอื่นๆ ใส่ลงไปในบ่อซีเมนต์ประมาณ 5 กอต่อ 5 วัน พร้อมกับปรับระดับน้ำให้สูงขึ้นด้วยและค่อย ๆ ลดอาหารสำเร็จรูปโดยเมื่อปลาหิวจัดมันจะกินผักตบชวา  แม้ว่าผักตบชวาจะไม่มีค่าโปรตีนเลยแต่สามารถลดความหิวของปลาได้  ตกเย็นจึงเสริมด้วยอาหารสำเร็จรูป  เพื่อเพิ่มโปรตีนให้ปลาในจุดนี้แม้ว่าปลาจะได้อาหารที่มีโปรตีนต่ำ  แต่เมื่อปลาอยู่ในพื้นที่ที่จำกัดการเคลื่อนไหวและการใช้พลังงานก็น้อยและในการเลี้ยงปลาแบบนี้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 เดือน  จะได้ปลาขนาด 3-4 ตัวต่อกิโลกรัม และในระหว่างการเลี้ยงจะมีการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อช่วยในการปรับคุณภาพน้ำได้อีกด้วย  โดยจะใส่ทุกครั้งหลังจากการเปลี่ยนถ่ายน้ำหรือตามความเหมาะสม  น้ำหมักชีวภาพที่นำมาใช้จะผลิตขึ้นมาเองโดยใช้กล้วยน้ำว้า  ฟักทอง  และมะละกอ  อย่างละ 3 กิโลกรัม สับให้ละเอียดจากนั้นนำมาคลุกผสมกับกากน้ำตาล 3 กิโลกรัม หมักปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จากนั้นนำน้ำสะอาดปริมาตร 9 ลิตร เทใส่ลงไปพร้อมกับคนให้ส่วนผสมดังกล่าวคลุกเคล้าให้เข้ากัน  ตั้งทิ้งไว้อีกประมาณ 15 วัน หรือเมื่อมีกลิ่นหอมก็สามารถนำไปใช้งานได้ตามความต้องการ


ขั้นตอนการปล่อยพันธุ์ปลา
นำลูกปลาดุกใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้ ค่อยๆนำน้ำในโอ่งเติมไปทีละน้อย เพื่อปรับอุณหภูมิค่อยๆปล่อยลูกปลาดุกลงในโอ่งซีเมนต์โดยในช่วงอนุบาลลูกปลาดุกจะให้อาหารสำเร็จรูปแบบเม็ด  กินอย่างเต็มที่วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 15-20 วัน ก็นำผักตบชวามาใส่ลงไปในท่อปูนซีเมนต์ประมาณ 5 กอต่อ 5 วัน พร้อมกับปรับระดับน้ำให้สูงขึ้นด้วยและค่อย ๆ ลดอาหารสำเร็จรูปโดยเมื่อปลาหิวจัดมันจะกินผักตบชวา  แม้ว่าผักตบชวาจะไม่มีค่าโปรตีนเลยแต่สามารถลดความหิวของปลาได้  ตกเย็นจึงเสริมด้วยอาหารสำเร็จรูป  เพื่อเพิ่มโปรตีนให้ปลาในจุดนี้แม้ว่าปลาจะได้อาหารที่มีโปรตีนต่ำ  แต่เมื่อปลาอยู่ในพื้นที่ที่จำกัดการเคลื่อนไหวและการใช้พลังงานก็น้อยและในการเลี้ยงปลาแบบนี้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 เดือน  จะได้ปลาขนาด 3-4 ตัวต่อกิโลกรัม
และในระหว่างการเลี้ยงจะมีการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อช่วยในการปรับคุณภาพน้ำได้อีกด้วย  โดยจะใส่ทุกครั้งหลังจากการเปลี่ยนถ่ายน้ำหรือตามความเหมาะสม  น้ำหมักชีวภาพที่นำมาใช้จะผลิตขึ้นมาเอง

วิธีการเลี้ยงปลาด้วยน้ำหมักชีวภาพ

                เมื่อเอาน้ำใส่โอ่งจนได้ที่แล้ว ให้ใส่น้ำหมักชีวภาพลงไปเพียงเล็กน้อยตามความเหมาะสม เพื่อให้จุลินทรีในน้ำหมักไปปรับสภาพน้ำให้เป็นปกติก่อน เมื่อนำปลาลงไปเลี้ยง ค่อยๆสังเกตคุณภาพน้ำและตัวปลาว่ามีอาการผิดปกติใดบ้าง

หากปกติก็ให้ใสน้ำหมักเพียงเล็กน้อยในรอบ 10 วัน หากว่าคุณภาพน้ำเปลี่ยนไปมากก็ให้เพิ่มน้ำหมักชีวภาพให้มากกว่าที่ใส่ปกติ รอบการใส่ก็ให้ถี่ขึ้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับจำนวนปลาและขนาดของโอ่งที่ใช้เลี้ยงด้วย


ผลที่ได้
ปลาเจริญเติบโตเร็ว แข็งแรง น้ำไม่มีกลิ่นเหม็น

แหล่งที่มา : gotoknow.org/blogs/posts/
ภาพบางส่วนจากอินเตอร์เน็ต          


วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

สวัสดีค่ะ เพื่อนๆบล็อก นานาสาระเกษตร ทุกท่าน วันนี้บังเอิญน้องๆที่ทำงานพูดถึงอาหารการกิน ไม่รู้ยังไงพูดไปพูดมาถึงได้พูดถึงเมื่อสมัยตอนเด็ก ได้กิน ไข่ผำ เจ้าของบล็อก เห็นว่าน่าสนใจดี อีกอย่างบางคนก็อาจจะไม่รู้จักด้วยซ้ำไป ก็เลยลองๆเข้าไปหาดูใน  Google ของเค้าดีจริงๆ หาอะไรก็เจอ ถึงว่ามีคนพูดว่า ถ้าไม่รู้ถาม "กู" 55+ ทีนี้เรามาทำความรู้จักกับ ไข่ผำ หรือไข่น้ำกันดีกว่า ว่าไอ้เจ้าไข่ชนิดนี้ เป็นมายังไง
องค์ความรู้ ผำหรือเรียกว่า ไข่แหน (Fresh water Alga , Swapm Algae) รู้จักกันในชื่อ ไข่น้ำ , ไข่ขำ , และ ผำ มีชื่อพื้นเมืองทางภาคเหนือเรียกว่า ผำ ทางภาคกลางเรียกว่า ไข่น้ำ ส่วนภาคอีสานเรียกว่า ไข่ผำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า วอลฟ์เฟีย กลอโบซ่า (Wolffia globosa Hartog & Plas) จัดอยู่ในวงศ์เล็มนาซีอี้ (LEMNACEAE)
ไข่ผำ จัดเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ อาจลอยอยู่เป็นกลุ่มล้วน ๆ หรือลอยปนกับพืชชนิด
อื่นๆ เช่น แหน , แหนแดง ก็ได้ ไข่ผำ เป็นพืชมีดอกที่มีขนาดเล็กที่สุด รูปร่างเป็นเม็ดกลมเล็ก ๆ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๐.๑ ๐.๒ มม. มีสีเขียวลอยอยู่บริเวณผิวน้ำเป็นแพ มักเกิดในธรรมชาติที่น้ำใส นิ่ง เช่น บึง หนองน้ำ ผำจะพบมากในฤดูฝน นำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ผัดไข่ผำใส่หมู แกงไข่ผำ
ผำจะมีรสมัน ผำ ๑๐๐ กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย ๘ กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย เส้นใย ๐.๓ กรม แคลเซียม ๕๙ มิลลิกรม ฟอสฟอรัส ๒๕ มิลลิกรัม เหล็ก ๖.๖ มิลลิกรัม วิตามินเอ ๕๓๔๖IU วิตามินบีหนึ่ง ๐.๐๓ มิลลิกรัม วิตามินบีสอง ๐.๐๙ มิลลิกรัม ไนอาซิน ๐.๔ มิลลิกรัม วิตามินซี ๑๑ มิลลิกรัม คุณค่าทางโภชนาการของไข่ผำ มีแคลเซียมและเบต้าแคโรทีนสูงมาก แต่เพราะใน ไข่ผำมีสารพิษต้านฤทธิ์สารอาหาร จึงต้องนำไข่ผำมาทำให้สุกก่อนรับประทานทุกครั้ง

ผำมีการขยายพันธุ์ มี 2 แบบคือ
   1. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เนื่องจากไข่แหนเป็นพืชมีดอกขนาดเล็กที่สุด ดอกของไข่แหนจะเจริญเติบโตออกทางช่องข้างบนของต้น ดอกไม่มีกลีบดอก และไม่มีกลีบเลี้ยง ดอกตัวผู้จะมีเกสรตัวผู้ 1 อัน ประกอบด้วยอับละอองเรณู 2 อับ ดอกตัวเมียมีรังไข่ที่มี 1 ช่องและมีไข่อยู่ 1 ใบ ก้านเกสรตัวเมียสั้น ยอดเกสรตัวเมียมีลักษณะแบน เมล็ดมีขนาดเล็ก กลมเกลี้ยง ยังไม่ปรากฏว่าไข่แหนมีดอกในประเทศไทย มีแต่รายงานการพบเห็นในประเทศอื่น ไข่แหนจะมีดอกและเมล็ดในราวๆเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม 2. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อ ซึ่งมีผู้ทำการศึกษา การเจริญเติบโตแล้วพบว่า โดยเฉลี่ย ไข่แหนแต่ละต้นจะแตกหน่อให้ต้นใหม่ทุกๆ 5 วัน
ประโยชน์ของผำ
   สามารถนำมาปลูกเลี้ยงไว้ในพื้นที่ขนาดเล็ก เหมาะแก่การนำมาใช้ทำเป็นอุปกรณ์ในการศึกษา เช่นการศึกษาอิทธิพลของสารควบคุมการขยายพันธุ์ของพืช  เป็นอาหารของสัตว์น้ำและสัตว์ปีกหลายชนิดนอกจากนี้ ไข่แหน  ยังมีแคลเซียมและเบต้าแคโรทีนสูง
   การเพาะเลี้ยงไข่น้ำ (ผำ)
   ขุดบ่อดินขนาดความลึกประมาณ 1 เมตร กว้าง 1 เมตรและยาวประมาณ 4 เมตร นำพลาสติกสีดำรองพื้นในบ่อ เพื่อป้องกันมิให้น้ำซึมออก ใส่ปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยคอก 20 กิโลกรัม ตามขนาดของบ่อ  เติมจุลินทรีย์ประมาณ 0.5 ลิตร ปล่อยน้ำเข้าบ่อให้เต็ม  แล้วนำพันธุ์ไข่น้ำใส่ลงไป ประมาณ 7 วัน จะขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว  สามารถเก็บไปจำหน่ายหรือรับประทานได้
   ผำ  เป็นวัชพืชของสาหร่าย  เลี้ยงไว้เพื่อใช้บริโภคในประเทศไทย  ผำคือพืชผักชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าทางอาหาร ชาวชนบทนิยมใช้เป็นอาหาร ส่วนแนวโน้มที่จะพัฒนาผำเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดและความนิยมของผู้บริโภค เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญ
เอกสารอ้างอิง: นัย  บำรุงเวช. โรงพิมพ์พิฆเนศ กทม. ผำเม็ดเล็กคุณภาพล้น. เทคโนโลยีชาวบ้าน. ปีที่8 ฉบับที่150    ประจำวันที่1 กันยายน 2539

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

สวัสดีค่ะ เพื่อนๆที่แวะเข้ามาบล็อกนี้ สำหรับบล็อกนี้จะนำสาระเรื่องการเกษตรมาเล่าสู่กันฟังรวมทั้งประสบการณ์จริงที่เจ้าของบล็อกได้ประสบพบเจอมา อีกทั้งเคล็ดลับ รวมถึงการทำการเกษตรในรูปแบบต่างๆ ที่น่าจะมีประโยชน์สำหรับเพื่อนๆไม่มากก็น้อยนะค่ะ มาเล่ากันเลยดีกว่าค่ะ ในหมู่บ้านมีการปลูกดอกกระเจียวกันเยอะ เป็นรายได้หลักของบางครอบครัวเลยก็ว่าได้ค่ะ วันนี้ก็เลยจะนำเอาวิธีการปลูกดอกกระเจียว รวมทั้งการตลาดและส่วนสาระอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับดอกกระเจียวมาเล่าสู่กันฟังค่ะ ครั้งหน้าถ้าได้ไปสวนดอกกระเจียวก็จะนำภาพมาฝากแล้วกันค่ะ ก่อนจะมาดูการปลูกดอกกระเจียวมาทราบถึงประโยชน์และลักษณะอื่นๆ ของดอกไม้ชนิดนี้กันค่ะ
สวนดอกกระเจียว เอามาฝากค่ะ




กระเจียว

ชนิดและพันธุ์
          พืชตระกูลกระเจียว ที่มีการส่งหัวพันธุ์ไปต่างประเทศมากที่สุด  คือ ปทุมมา รองลงมาคือ บัวลาย กระเจียวส้ม  และกระเจียวดอกขาว ตลาดต่างประเทศที่สำคัญคือ ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ มีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ได้รวบรวมพันธุกรรมของกระเจียวเพื่อการศึกษาลักษณะต่าง ๆและศักยภาพในการพัฒนาเป็นไม้ใหม่ในตลาดโลก ซึ่งไม้สกุลนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 
 1. กลุ่มปทุมมา ที่มีรายงานได้แก่ ปทุมมา บัวลายปราจีน บัวลายลาว บัวลายกาญจน์ บัวขาว บัวขาวดอกใหญ่ เทพรำลึก ทับทิมสยาม ปทุมรัตน์ ช่อมรกต
  2. กลุ่มกระเจียว ได้แก่ บัวชั้น กระเจียวส้ม พลอยไพลิน พลอยทักษิณ พลอยชมพู และกระเจียวพื้นเมืองตามภาคต่างๆ  ของประเทศ

การเตรียมแปลง
           ควรไถตากดินนาน 10 – 14 วัน   และโรยปูนขาวก่อนปลูก เพื่อช่วยลดปัญหาจากการเกิดโรค   ขนาดแปลง 1.5 เมตร  ระยะปลูก 30 X 30 เซนติเมตร จะปลูกได้ 4 แถว เพื่อสะดวกและง่ายต่อการดูแลรักษา การปลูก ควรรองพื้นด้วยปุ๋ย 15-15-15 หรือ 16-16-16 และโรยปุ๋ยรอบโคนต้นทุกเดือน ในอัตรา 0.5 – 1 ช้อนกาแฟต่อต้น (ช้อนปาดไม่ใช่ช้อนพูน)    ลักษณะการวางเหง้าปลูกแบบวางเหง้านอน   จะได้ช่อดอกมากกว่า   ทั้งนี้เกษตรกรสามารถปลูกเพื่อผลิตช่อดอกและผลิตเหง้าในเวลาเดียวกัน

 กระเจียวจะฟักตัวในช่วงอากาศแห้งแล้งและช่วงวันสั้นปกติเหง้าจะฟักตัวช่วงเดือนกันยายน และพร้อมจะงอกต้นใหม่อีกครั้งประมาณเดือนมีนาคม เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูง ระบาย น้ำดี การปลูกในแปลงต้องใส่ปุ๋ยหมักในอัตรา 3-6 ตันต่อไร่ แปลงปลูกควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร ไม่ ควรใช้มูลสัตว์หรือปุ๋ยคอก เพราะจะทำให้ดินมีสภาพเป็นกรด เหมาะแก่การเจริญเติบโตของแบคทีเรียสาเหตุ โรคเน่า และควรโรยปูนขาวก่อนเตรียมแปลงปลูก ซึ่งจะทำให้ดินมีสภาพเป็นด่าง ช่วยลดโอกาศการเกิดโรคเน่า ดังกล่าว
     สำหรับการปลูกในกระถางหรือถุงพลาสติกควรใช้ดินผสมโดยใช้ทราย : ขุยมะพร้าว : ถ่านแกลบ อัตรา 2 : 1 : 2 และผสมทรายหยาบเพิ่มในอัตราส่วน 1 : 1 ช่วยเพิ่มการระบายน้ำให้ดีขึ้น การปลูกที่ทำให้เกิดการแตกกอได้ดีคือการปลูกให้ยอดของเหง้าชี้ลงดิน กลบหัวลึก 5 ซม. การปลูกด้วย วิธีนี้จะทำให้อิทธิพลการข่มของตายอดลดลงตามขวางของหัวพันธุ์ที่มีอยู่ 3 - 5 ตานั้นจะเจริญเป็นหน่อใหม่ได้ ทำให้เกิดยอดขึ้นจำนวนมากทรงพุ่มงดงามและเกิดดอกมากตามไปด้วย




การปลูกในกระถางนั้นควรปลูก 3 หัวต่อกระถาง แต่ถ้ามีหัวพันธุ์จำนวนน้อยให้ใช้วิธีผ่าหัวตามยาว ให้ หัวพันธุ์ทั้งสองซีกมีตาข้างติดอยู่ 1-2 ตา ทายาป้องกันเชื้อราหรือป้ายปูนแดงที่บริเวณรอยแผล แล้วนำชิ้นพันธุ์ ทั้งสองไปแยกปลูก ให้รอยแผลหันขึ้น จะมีโอกาสมากที่สุด พืชสกุลนี้มีปริมาณความต้องการน้ำที่ต่างกันคือชนิดที่มีใบค่อนข้างบาง จะเจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่มี ความชื้นในอากาศสูง ส่วนพวกใบค่อนข้างหนาเจริญเติบโตใด้ดีในสภาพที่ความชื้นในอากาศต่ำควรรดน้ำวันละครั้งช่วงเช้า ยกเว้นวันที่ฝนตกการรดน้ำต้องมากเพียงพอที่จะทำให้ดินชื้นตลอดทั้งวันและแห้งก่อนหัวค่ำ

ควรพรางแสงลง 50-70 เปอร์เซ็นต์ ให้กับพวกที่มีใบบาง และประมาณ 30 - 50 เปอร์เซ็นต์ สำหรับพวกที่มีใบหนา ต้นที่ได้รับแสงน้อยลำต้นจะอวบอ้วนและสูง อ่อนแอต่อโรค และอาจทำให้ใบประดับเหี่ยวได้ง่าย แต่ถ้าแสงมากเกินไปจะทำให้ขอบใบไหม้ สีใบประดับซีดเร็ว ก้านช่อดอกสั้นและอ่อน หักล้มได้ง่าย 
การให้ปุ๋ย ควรให้เดือนละครั้ง โดยช่วงเริ่มปลูกควรให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนหรือตัวหน้าสูง เช่น 21 - 7 - 14, 15 - 0 - 0 หรือให้สูตรเสมอ เช่น 16 - 16 - 16 เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของต้นและใบ เมื่อต้นโตแล้วก็ให้ปุ๋ยสูตรที่มีฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูงเพื่อช่วยให้มีการสะสมอาหารไว้ในเหง้าและรากมากขึ้นทำให้เหง้ามีขนาดใหญ่สมบูรณ์ ซึงจะให้ดอกที่มีคุณภาพสูง เช่น สูตร 8 - 16 - 24, 14 - 14 - 21 โรยปุ๋ยรอบโคนต้น อัตรา 0.5 - 1 ช้อน หลังจากโรยปุ๋ยแล้วควรพรวนดินให้เมล็ดปุ๋ยแทรกตัวเข้าใกล้ระบบรากของพืช
การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ยกเว้นฝนตก  ต้องดูแลเรื่องความชื้นในดินให้เพียงพอและสม่ำเสมอ การให้น้ำที่ดีไม่ทำให้ดอกเสียหายคือการให้นำแบบสปริงเกลอร์และคลุมด้วยฟางเพื่อช่วยรักษาความชื้น หลักจากที่ปทุมมาเติบโตเต็มที่ ออกดอก จนกระทั่งดอกโรย ใบโทรมและเหลือง
จนถึงช่วงที่ใกล้ลงหัวแล้ว ช่วงนี้เริ่มงดน้ำ เพื่อให้ต้นยุบตัวและทำให้เก็บผลผลิตได้เร็วจึ้น

การขยายพันธุ์

1. การเพาะเมล็ด เนื่องจากว่าพืชสกุลนี้มีการพักตัวโดยธรรมชาติ จึงควรนำเมล็ดไปเก็บไว้ก่อน แล้วนำมาเพาะในฤดูปลูกถัดไป (ราวกลางเดือนเมษายน เป็นต้นไป) กระเจียวหลายชนิดติดเมล็ดได้ง่ายตามธรรมชาติ จึงสามารถนำเมล็ดมาเพาะได้แต่จะพบความแปรปรวนของต้นกระเจียวในการขยายพันธุ์แบบนี้ เพราะเมล็ดที่ได้อาจเกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ตามธรรมชาติ
2. การแยกหัวปลูก เป็นวิธีที่เกษตรกรนิยมปฏิบัติ ช่วงฤดูปลูกที่เหมาะสม คือ ในช่วงต้นฤดูฝน เนื่องจากสามารถให้ดอกได้เร็ว
3. การผ่าเหง้าปลูก เป็นวิธีการเพิ่มชิ้นส่วนของหัวพันธุ์ให้มากขึ้น โดยผ่าแบ่งตามยาวเป็น 2 ชิ้น เท่าๆ กัน     แนวการผ่าจะต้องอยู่กึ่งกลางระหว่างตาที่อยู่สองข้างของเหง้า ชิ้นเหง้าที่ได้ควรมีตาข้างทีสมบูรณ์ไม่น้อยกว่า 1 ตา และมีรากสะสมอาหารติดมาด้วยอย่างน้อย 1 ราก วิธีนี้จะเป็น
การประหยัดค่าหัวพันธุ์เริ่มต้น แต่เกษตรกรไม่นิยมเนื่องจากมีปัญหาเรื่องโรคเข้าทำลายบริเวณบาดแผล
 4. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ   เป็นการเลี้ยงจากส่วนของช่อดอกอ่อนที่ได้จากต้นที่ไม่เป็นโรค   และยังมีกาบใบห่อหุ้มอยู่จะดีที่สุด  มีข้อดีคือปราศจากเชื้อ   หรือมีการปนเปื้อนน้อย เปรียบเทียบกับการใช้ชิ้นส่วนจากหัว    จะมีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราสูงมาก ต้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจะใช้เวลาประมาณ 1 ½ - 2 ปี ที่จะให้ดอกและหัวพันธุ์ที่ได้คุณภาพ

โรคและแมลงศัตรู


 โรคที่สำคัญคือโรคหัวเน่า ใบจุด และใบใหม้   ซึ่งจะระบาดช่วงฝนตกชุก  แต่ไม่พบแมลงศัตรูสำคัญ  โรคเน่าเป็นโรคที่ร้ายแรงที่สุดของพืชสกุลนี้   โดยโรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas solanacearum      ซึ่งเป็นเชื้อโรคเหง้าเน่า เชื้อนี้เติบโตได้ดีในดินที่มีสภาพเป็นด่างโรคนี้เป็นปัญหาสำคัญในการป้องกันกำจัด  เนื่องจากเชื้อนี้สามารถพัฒนาพันธุ์ให้ต้านทานสารเคมีได้เร็ว มีพืชอาศัยหลายชนิดและยังสามารถพักตัวอยู่ในดินได้นานนับปี   ลักษณะอาการของโรค ระยะเริ่มแรกใบแก่ที่อยู่ตอนล่างๆ จะเหี่ยวตกลู่ลง  ต่อมาจะม้วนเป็นหลอดและเหลือง  ลามจากล่างขึ้นไปยังส่วนบน จนเหลืองแห้งตายทั้งต้น บริเวณโคนต้นและหน่อที่แตกออกมาใหม่มีลักษณะช้ำฉ่ำน้ำจะเน่าเปื่อยหักหลุดออกจากหัวได้ง่ายเมื่อผ่าต้นดูจะเห็นข้างในเป็นสีคล้ำหรือน้ำตาลเข้มและมีเมือกเป็นของเหลวสีขาวข้น   ซึมออกมาตรงรอยแผล  หัวอ่อนที่เป็นโรคจะมีรอยช้ำฉ่ำน้ำ  เมื่ออาการรุนแรงขึ้นหัวจะเปื่อยยุ่ยและสีคล้ำขึ้น    เมื่อผ่าหัวจะพบรอยคล้ำเป็นสีม่วงน้ำเงินจาง ๆ   จนถึงสีน้ำตาลและมีเมือกสีขาวซึมออกมาตรงรอยแผล  พืชอาศัยของเชื้อ Pseudomonas solanacearum    เชื้อนี้ทำให้เกิดโรคเหี่ยวกับพืชเศรษฐกิจหลายชนิดในเขตร้อน   เขตกึ่งร้อน   และเขตอบอุ่น      ได้แก่ มันฝรั่ง มะเขือเทศ มะเขือ พริก ถั่วลิสง พริกไทย กล้วย ขา ขิง ต้นสัก มะกอก หม่อน มันสำปะหลัง ฯลฯ นอกจากนี้ ยังสามารถเกาะกินพักตัวกับพืชนอกฤดูปลูก วัชพืชมากกว่า 64 ตระกูล และไม้ดอกอีกหลายชนิด

ความต้องการของตลาด

          ในการส่งออกปทุมมาสามารถส่งออกได้ 2 รูปแบบ คือ รูปของหัวพันธุ์     และไม้ตัดดอกส่วนใหญ่ปทุมมาจะส่งออกในลักษณะของหัวพันธุ์มาตรฐาน   หัวพันธุ์ปทุมมาที่ส่งออก ควรมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.8 นิ้ว  มีตุ้มอาหารตั้งแต่ 4 ตุ้มขึ้นไป ตุ้มต้องไม่หัก  ไม่เป็นโรค    และต้องทำความสะอาดไม่มีดินติดไป สำหรับไม้ดอกกลุ่มปทุมมามีข้อได้เปรียบตรงที่ก้านช่อดอกยาว  ช่อดอกชูเหนือทรงพุ่ม น้ำหนักน้อย ขนส่งง่าย อายุการใช้งานค่อนข้างทน จึงได้รับความนิยมในตลาดต่างประเทศ และมีการส่งออกมากที่สุดในสกุลขมิ้น โดยเฉพาะญี่ปุ่น ชอบโทนสีชมพูหวานๆ จะเป็นผู้สั่งซื้อรายใหญ่  พันธุ์การค้าในขณะนี้มีเพียงพันธุ์เดียวคือพันธุ์เชียงใหม่  ซึ่งมีใบประดับสีชมพู  ถ้าไม่มีแต้มสีน้ำตาลที่ปลายกลีบ     ตลาดจะมีความต้องการสูง ลักษณะพันธุ์ที่ต้องการเพื่อใช้เป็นไม้ตัดดอก  คือ ต้องมีก้านดอกแข็งแรง แต่ไม่อ้วนจนเกินไป จำนวนกรีบรองดอกมีมากพอสมควร คือ10 - 14 กลีบ และมีสีกลีบประดับบริสุทธิ์ ลักษณะพันธุ์ที่ต้องการเพื่อทำเป็นไม้กระถาง คือ ลักษณะก้านดอกค่อนข้างสั้น  เพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้าย  และไม่ล้มง่าย ใบสวย  สามารถให้ดอกพร้อมกันในกระถางอย่างน้อย 3 ดอก อายุการให้ดอกนาน

การเก็บเกี่ยวและการบรรจุหีบห่อ
           การตัดดอกควรตัดดอกในระยะที่ดอกจริงบานแล้วทั้งหมด 3 – 5 ดอก  โดยให้ใบติดมาด้วย 1 – 2 ใบ ในกรณีปทุมมาพันธุ์เชียงใหม่ จะใช้เวลา 35 – 120 วัน หลังจากปลูก  ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับคุณภาพหัวพันธุ์ ควรเก็บเกี่ยวในตอนเช้า  และแช่โคนก้านช่อดอกในน้ำสะอาดทันที การเก็บเกี่ยวหัวพันธุ์ เมื่อใบ และลำต้นเตรียมแห้งและยุบตัวลง เหลือแต่เหง้าและตุ้มรากฝังตัวอยู่ในดิน  ในช่วงนี้ต้องเริ่มงดน้ำ  เพื่อให้หัวพันธุ์มีการสะสมอาหารที่หัวเต็มที่ และป้องกันไม่ให้เหง้าและรากสะสมอาหารเน่า  แต่ก่อนขุดควรรดน้ำจะช่วยให้ดินอ่อนตัวลงเพื่อความสะดวกในการขุด  และแยกหัวพันธุ์ที่ขุดได้ออกจากดินหลังจากขุดแล้วต้องนำไปล้างทำความสะอาด แล้วนำมาจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อราและแมลง ผึ่งบนตะแรกงในที่ร่ม  ระบายอากาศดีเพื่อให้ผิวนอกของเหง้าแห้งสนิท  การคัดขนาดหัวพันธุ์ส่งออก  แบ่งเป็น 3 เกรด คือ หัว กลาง ท้าย หัว คือ หัวพันธุ์ที่คัดเลือกว่ามีลักษณะดีเด่นที่สุด มีตุ้มอาหารมากว่า 4 ตุ้มอาหารขึ้นไป  มีน้ำหนักมาก   ซึ่งจะเก็บไว้เป็นหัวพันธุ์ต่อไป  กลางคือหัวพันธุ์ที่มีตุ้มอาหาร 3 – 4 ตุ้มอาหารขึ้นไป   สามารถส่งออกได้และท้ายคือหัวที่มีตุ้มอาหารน้อยกว่า 3 ตุ้ม  ไม่สามารถส่งออกได้   การบรรจุหีบห่อ เป็นแบบกล่องกระดาษ  ขนาดความสูงประมาณกล่องลำไย  ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์รองก้นกล่อง เจาะรูหัว – ท้าย และด้านข้างกล่อง เพื่อให้มีการระบายอากาศ

ข้อควรรู้
           เนื่องจากปทุมมา เป็นพืชที่มีศักยภาพในการส่งออก สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศหลายล้านบาท และมีแนวโน้มในการส่งออกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ทำให้เกษตรกรสนใจหันมาปลูกกันมากขึ้น    จึงทำให้เกิดปัญหาในการส่งออกหัวพันธุ์     แต่เนื่องจากหัวพันธุ์มีเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคหัวเน่า  ประเทศผู้นำเข้าอาจงดการนำเข้าหัวพันธุ์จากประเทศไทย  กรมวิชาการเกษตร จึงได้มีข้อควรรู้เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น  โดยมีข้อควรรู้แก่ผู้ผลิตและผู้ส่งออก ควรนำไปปฏิบัติซึ่งอาจเป็นมาตรการสำหรับผู้ผลิตและผู้ส่งออกในอนาคต ดังนี้
          การขึ้นทะเบียนผู้ปลูก  ผู้ส่งออกปทุมมา โดยผู้ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้จะไม่สามารถส่งออกได้  และการตรวจสอบหัวพันธุ์ที่จะส่งออก เพื่อให้ใบรับรองปลอดโรค    รวมถึงการตรวจแปลงปลูกเป็นระยะๆโดยนักวิชาการจากกรมวิชาการเกษตรเพื่อที่จะให้ใบรับรองปลอดโรคแก่ผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตที่แจ้งควาจำนงไว้  นอกจากนั้น ผู้ผลิตหัวพันธุ์ปทุมมาเพื่อการส่งออก  จะต้องมีการปฏิบัติดูแลรักษาตามหลักมาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด  เช่น ใช้หัวพันธุ์ปลอดโรค  การปฏิบัติดูแลแปลงตามมาตรฐานที่กำหนดอื่นๆ   ผู้เขียนหวังว่าเรื่องราวของปทุมมาที่นำมาฝากผู้อ่าน จะเป็นประโยชน์สำหรับเกษตรกร หรือผู้ที่กำลังมองหาอาชีพด้านการเกษตร  และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่จะสามารถทำให้เกษตรกรมีทางเลือก จากข้อมูลที่ผู้เขียนนำเสนอมาจะเห็นว่า   ปทุมมาเป็นดอกไม้ที่กำลังได้รับความนิยมไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีความนิยมในต่างประเทศอีกด้วย
          จากตัวเลขความต้องการของดอกกระเจียวจะเห็นว่า   ความต้องการมีมากกว่ากำลังการผลิตนั้นแสดงว่า   ขณะนี้กระเจียวกำลังเป็นดอกไม้เศรษฐกิจที่กำลังมีแนวโน้มที่ดีในตลาดเกษตรกร      หรือผู้ใดสนใจหากจะหันมาปลูกกระเจียวควรจะศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด
จากนักวิชาการของกรมวิชาการเกษตร เริ่มตั้งแต่การปลูก ไปจนถึงการส่งออก เนื่องจากว่ามีขั้นตอนต่าง ๆ มากมาย สุดท้ายกระเจียวจะเป็นดอกไม้ที่จะสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ที่ใครๆ  ไม่ควรจะมองข้ามจริง ๆ ..

ข้อมูล: บางส่วนจากกรมส่งเสริมการเกษตร และ หนังสือสารานุกรม "ไม้ประดับในประเทศไทย เล่ม1
ภาพ : จากอินเตอร์เน็ต

 

Follow on FaceBook

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

Popular Posts