วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สวัสดีค่ะเพื่อนๆ บล็อก นานาสาระเกษตรทุกท่าน วันนี้เราจะนำเอาการเลี้ยงปลาน้ำจีดที่หาได้ตามห้วย หนอง คลอง บึง แหล่งน้ำธรรมชาติของบ้านเรามาฝากค่ะ เราสามารถนำมาเลี้ยงเพื่อเป็นปลาเศรษฐกิจได้เลยทีเดียวถึงแม้จะไม่ค่อยเป็นที่นิยมกันสักเท่าไหร่ แต่ถ้าเรามองหาเพื่อที่จะเป็นอาชีพเสริมก็เป็นที่น่าสนใจมากเลยทีเดียวค่ะเพราะเลี้ยงง่าย และเป็นปลาที่อดทนพอสมควรค่ะ
ลักษณะทั่วไปของปลากระดี่นาง ปลากระดี่นางเป็นปลาน้ำจืดซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกับปลาสลิด กระดี่หม้อ กระดี่มุก และอยู่ในวงศ์เดียวกับปลาหมอไทย กระดี่นางมีสีขาวนวล ไม่มีจุดดำ ลำตัวบาง เกล็ดบาง เกล็ดเล็กละเอียด ขอบเกล็ดเป็นจักรเช่นเดียวกับเกล็ดปลาหมอ มีเส้นก้านครีบเป็นรยางค์ยาวอยู่ใต้ท้อง 1 คู่ ความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ปลากระดี่นางมีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษ เช่นเดียวกัน ในสภาพที่น้ำไม่ดีนัก กระดี่นางก็จะโผล่ริมฝีปากขึ้นมาฮุบเอาอากาศหายใจได้ อาหารเป็นพวกสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น ตัวอ่อนของแมลง ไรแดง ปลาเพศผู้มีสีแสดบริเวณท้อง กล่าวกันว่า ปลากระดี่ใช้รยางค์คู่นี้เป็นเครื่องรับความรู้สึก มีนิสัยสงบ เลี้ยงรวมกับปลาอื่นได้ดี แต่ในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้มีนิสัยกีดกันปลาอื่น ปลากระดี่ขนาดลำตัวโตกว่ากระดี่หม้อเล็กน้อย ชาวต่างประเทศเรียกว่า "มูนบีน หรือมูนไลท์" ซึ่งตรงกับคำว่าปลากระดี่แสงจันทร์

การแพร่กระจาย
แหล่งน้ำที่ปลากระดี่อาศัย
ปลากระดี่นางมีอยู่ทั่วไปตามแหล่งน้ำ และมีถิ่นที่อยู่อาศัย เช่นเดียวกับปลากระดี่หม้อ คือ พบตามแหล่งน้ำหนองบึง ลำห้วย ซึ่งมีพืชพันธุ์ไม้น้ำหนาแน่น ในทุกภาคของประเทศ ต่างประเทศ มีในแถบอินโดจีน
การเพาะพันธุ์ปลากระดี่นาง
ในฤดูผสมพันธุ์ ปลากระดี่นางเพศผู้นอกจากสังเกตจากครีบหลังเช่นกระดี่หม้อแล้ว ขอบครีบก้นของปลาตัวผู้ขึ้นสีเป็นสีส้ม การเพาะพันธุ์ปลากระดี่นาง สามารถทำการเพาะโดยวิธีการเลียนแบบธรรมชาติ หรือ การเพาะแบบวิธีกึ่งธรรมชาติ  การเพาะโดยวิธีการเลียนแบบธรรมชาติโดยการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีความพร้อม โดยปลา
เพศเมีย ควรมีช่วงท้องขยายใหญ่ขึ้น และนิ่ม ในเพศผู้สังเกตสีของขอบครีบก้นของปลาตัวผู้จะขึ้นสีเป็นสีส้ม  นำมาปล่อยในบ่อเพาะไว้รวมกันใส่พรรณไม้น้ำประมาณ 1 ใน 4 บ่อ ทำการถ่ายน้ำทุก 2-3 วัน หลังจากนั้นประมาณ 7 วัน ตัวผู้เริ่มก่อหวด ส่วนการเพาะด้วยวิธีกึ่งธรรมชาติ โดยการฉีดฮอร์โมนให้กับแม่ และปล่อยให้ผสมพันธุ์กันเองแบบธรรมชาติ อัตราความเข้มข้นของฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ใช้ในการฉีดครั้งที่ 1 ฉีดแม่ในความเข้มข้น 10 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ domperidone
10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทิ้งระยะห่าง 6 ชั่วโมง ทำการฉีดฮอร์โมนในครั้งที่ 2 ในอัตราความเข้มข้น 20 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ domperidone 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แล้วปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลงบ่อเพาะ ที่มีพรรณไม้น้ำอยู่ด้วย พบว่าแม่ปลาสามารถวางไข่ได้ หลังจากการฉีดครั้งที่ 2 ประมาณ 45-50 ชั่วโมง ไข่ปลาใช้เวลาในการฟักประมาณ 18 ชั่วโมง ซึ่งการอนุบาลลูกปลาวัยอ่อนควรใช้โรติเฟอร์ และไข่แดงต้มสุกบดละเอียดให้กินเป็นอาหาร
หวอดปลากระดี่นาง1
หวอดปลากระดี่นาง2
การจับปลากระดี่
ปลากระดี่และปลาอื่นๆ

การดักปลาในนารวมทั้งปลากระดี่ด้วย
ดักปลาในนาข้าว
จับปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติ
ปลากระดี่หม้อ ตระกูลปลากระดี่
นำปลากระดี่มาถนอมอาหารเก็บไว้ให้ได้นาน ปลากระดี่แดดเดียว
ปลาร้าปลากระดี่ที่ตลาด
ดูกันชัดๆ
ตัดหัวปลาทำแกงก็ได้ หรือจะทำอย่างอื่นที่เราชอบ
ปลากระดี่ทอดกรอบน่ากินมากๆ
แหล่งที่มา : ภาพจากโอเคเนชั่น/อื่นๆ
ข้อมูลจาก :http://jawnoyfishing.blogspot.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Follow on FaceBook

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

Popular Posts