วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

สวัสดีค่ะ วันนี้เราจะนำเรื่องการเลี้ยงปลาหมอนามาให้เพื่อนๆได้ศึกษากันในบล็อกของเรานะค่ะ ปลาหมอนาเป็นปลาน้ำจืดที่เราพบเห็นกันในห้วยหนองคลองบึงโดยทั่วไป แต่นับวันจะหาปลาหมอนาได้ยากขึ้นจากแหล่งน้ำทั่วไปในธรรมชาตินะค่ะ เพราะอาจเกิดจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทำให้ปริมาณปลาหมอนาในลดน้อยลงทุกที และราคาของปลาหมอนานั้นจึงเพิ่มขึ้น จึงมีคนหันมาเลี้ยงกันในรูปแบบต่างๆ และในปัจจุบันการเลี้ยงปลาหมอนาในบ่อซีเมนต์นั้นเริ่มจะได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะสามารถดูแลง่าย และการทำไม่ยุ่งยาก ปลาหมอนา จัดเป็นปลาน้ำจืดที่มีความทนทาน เลี้ยงง่าย ใช้น้ำน้อยสามารถเลี้ยงได้ทั้งบ่อดินและบ่อขนาดต่าง ๆ รวมทั้งเลี้ยงในกระชัง ในแหล่งน้ำนิ่งและเลี้ยงในบ่อพลาสติกได้ และการเลี้ยงได้ไม่ยากเราจึงจะนำวิธีการเลี้ยงมาบอกกล่าวกันค่ะ
การเตรียมบ่อสำหรับการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์
ในการเตรียมบ่อสำหรับการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์นั้นควรจะมีบ่อไว้ 3 บ่อ เป็นบ่อสี่เหลี่ยมผืนผ้า
1. บ่อสำหรับอนุบาลลูกปลาหมอนา ขนาด 6x7 เมตร
2. บ่อผสมพันธุ์ปลาหมอนา ขนาด 6x7 เมตร
3. บ่อสำหรับเลี้ยงปลาหมอนา  ขนาด 6x7 เมตร
การคัดเลือก พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ ปลาหมอนา
แม่พันธุ์
1. ควรมีขนาดป้อมสั้น ยาวประมาณ 3 นิ้ว
2. ในการคัดแม่พันธุ์ปลาหมอนา ควรคัดตอนเช้า หลังการถ่ายน้ำก่อนให้อาหาร
3. แม่พันธุ์ที่พร้อมจะมีลักษณะท้องบวมเป่ง แสดงว่ามีไข่ อวัยวะเพศมีสีแดงชมพูเรื่อ
พ่อพันธุ์
1. ควรมีลักษณะลำตัวยาว ว่ายน้ำปราดเปรียว มีขนาด 3 นิ้ว
2. ในการคัดพ่อพันธุ์ ควรคัดตอนเช้า หลังการถ่ายน้ำก่อนให้อาหาร
3. พ่อพันธุ์ที่พร้อมการผสมพันธู์ บริเวณปลายหัวจะออกเป็นสีแดง เกล็ดนวลเงา ไม่เป็นแผล
ขั้นตอนการผสมพันธุ์
1. ต้องทำการผสมพันธุ์กันในช่วงฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม - กรกฏาคม)
2. ในบ่อผสมพันธุ์ใส่น้ำประมาณ 50-60 เซนติเมตร และควรหาผักบุ้งใส่ในบ่อด้วย เพื่อที่จะได้เป็นที่กำบังและซ่อนตัวเวลาฟักไข่
3. นำแม่พันธุ์ปลาหมอนา 100 ตัว ต่อ พ่อพันธุ์ปลาหมอนา 50 ตัว ลงในบ่อ (อัตราส่วน ปลาหมอตัวเมีย 1 ตัว ต่อ ตัวผู้ 2 ตัว)
4. ปล่อยทิ้งไว้ให้ผสมพันธุ์กัน 3 สัปดาห์5. หลังจากผ่านไป 3 สัปดาห์แล้ว ให้แยกพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ออกจากลูกปลาหมอที่ยังเป็น ลูกคอก

การดูแลรักษา
1. ต้องทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำสัปดาห์ล่ะ 1 ครั้ง
2. ให้อาหารปลาหมอในช่วงเช้า ทุกวัน
การจับเพื่อจำหน่าย
1. หากเพาะพันธุ์เพื่อขายลูกปลา ขนาดลูกปลาประมาณ ปลายปากกา จำหน่าย ตัวล่ะ 1 บาท
2. หากเลี้ยงเพื่อขายตอนโต 5-7 ตัว ต่อ กิโลกรัม กิโลกรัมล่ะ 150 บาท (เช็คราคาตลาด ณ.วันขาย)

แหล่งที่มา : รักบ้านเกิด ดอทคอม
ภาพ : จากบ้านภูนิตาฟาร์ม และบางส่วนจากอินเตอร์เน็ต



วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

โอ้ พระเจ้าจ๊อด เจ้ายอดมาก ยกนิ้วงามๆ ให้กับอาหารทรงคุณค่า สำหรับพืชชนิดนี้ค่ะ นั่นคือ สาหร่ายน้ำจืดนั่นเอง  วันนี้มีสาระดีๆ มาฝากสำหรับผู้ยังไม่ทราบเกี่ยวกับคุณค่าของสาหร่ายของไทยเราค่ะ..งั้นก็มาทำความรู้จักกับสาหร่ายน้ำจืดชนิดนี้กันนะค่ะ

สาหร่ายไก เป็นสาหร่ายน้ำจืดสีเขียวสกุล Cladophora ที่พบทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะแถบ แม่น้ำน่าน
ในอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน และแม่น้ำโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ซึ่งสาหร่ายชนิดนี้สามารถนำมารับประทานได้
สาหร่ายชนิดนี้ มีหลายชื่อได้แก่ ไกเหนียวหรือไกค้าง, ไกเปื้อยหรือไกไหม,ไกต๊ะ,สาหร่ายไก,สาหร่ายไคร,ไกค่าว เตา (ภาคเหนือ) นิยมนำมายำใส่ปลาทู มะเขือเปาะ
สาหร่ายไกมี 3 ชนิด คือ
1.ไกเหนียว (ไกค้าง) - มีสีเขียวเข้ม ลักษณะยาว ไม่แตกแขนง เนื้อไม่ฟู มีน้ำหนักพอสมควร มีความยาวประมาณ 2 เมตร
2.ไกเปื้อย (ไกไหม) - ลักษณะจะเกาะอยู่กับหินเป็นกระจุกแล้วจึงกระจายแผ่ออกเป็นฝอยจำนวนมาก ลักษณะเส้นจะเหนียวและลื่น มีสีเขียวซีด มีความยาวประมาณ 80 เซนติเมตร
3.ไกต๊ะ - ลักษณะเป็นกระจุกอยู่ปนกับไกไหม ลักษณะเส้นจะสั้นและลื่นมาก
สาหร่ายไกมักถูกนำมารับประทานแบบสด และยังสามารถนำมาปรุงเป็น ยำ ห่อนึ่ง โดยให้โปรตีนสูงกว่าการรับประทานเนื้อปลา มีวิตามินและเกลือแร่อยู่กว่า 18 ชนิด อีกทั้งมีสารต้านมะเร็ง และมีกากใยอาหารสูง
แค่นี้ก็อ้าปากค้างแล้วล่ะค่ะ คุณค่าอาหารสุดยอดจริงๆ..ปกติแล้วเราจะพบสาหร่ายได้มากในช่วงฤดูหนาว และ ร้อน ซึ่งจะเจริญได้ดีในสภาพน้ำสะอาดใสและตื้น พบมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พอมีฝนตกลงมามาก สาหร่ายชนิดนี้ก็จะหายไป ดังนั้นในแต่ละปีจะมีสาหร่ายให้เราหามาปรุงอาหารได้เพียง 3-5 เดือนเท่านั้น แต่ความที่สาหร่ายน้ำจืดเป็นที่ต้องการของตลาดได้ทั้งปี รวมทั้งตอนนี้ก็มีกิจการเลี้ยงปลาบึก ซึ่งต้องการใช้พืชชนิดนี้เป็นอาหารจำนวนมาก จึงเกิดการเพาะเลี้ยงขึ้นมา
กลุ่มนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งนำโดย รศ.ดร.ศิริเพ็ญ ตรัยไชยาพร เป็นหัวหน้าทีม ได้ร่วมกันศึกษาหาวิธีเพาะเลี้ยงสาหร่าย โดยใช้น้ำทิ้งจากโรงอาหาร ซึ่งยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุอาหารต่างๆ อยู่มาก มาเป็นเครื่องมือสำหรับเลี้ยงสาหร่าย โดยนำน้ำดังกล่าวมาผสมน้ำในอัตราส่วนต่างๆ กัน แล้วก็ไปเก็บสาหร่าย มาจากแม่น้ำน่าน ซึ่งปกติสาหร่ายเหล่านี้จะเกาะอยู่บนก้อนหิน ก็เก็บมาทั้งก้อนหินแล้วมาลองเลี้ยงในอ่างแก้วเหมือนตู้ปลาขนาดใหญ่แล้วให้ อากาศเหมือนการเลี้ยงปลาทั่วไป
เลี้ยงไว้อย่างนั้น 1 เดือน ก็พบว่าการใช้น้ำทิ้งที่ได้มาจากโรงอาหารโดยไม่ต้องนำมาผสมน้ำให้เจือจางเลย หรือผสมน้ำเพียง 20% ทำให้สาหร่ายเติบโตได้ดีที่สุด เพราะสาหร่ายได้อาหารจากน้ำทิ้งดังกล่าวให้เป็นประโยชน์ในการเติบโต ผลผลิตที่ได้ก็มากเกือบครึ่งกิโลกรัมต่อตารางเมตร สรุปก็คือน้ำทิ้งที่ปกติจะต้องปล่อยลงท่อระบายน้ำ เมื่อนำมาใช้ประโยชน์ให้ถูกทาง ก็สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้เช่นกัน
อย่างในกรณีนี้ เมื่อนำน้ำทิ้งมาใช้ในการเพาะเลี้ยงสาหร่าย ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์ในการสร้างรายได้ และสร้างแหล่งอาหารสำหรับการเลี้ยงปลาบึก เหตุที่ไม่ได้แนะนำให้นำมาใช้เป็นอาหารของคนก็คงเป็นเพราะว่าวัตถุดิบที่ใช้ ในการเพาะเลี้ยงนั้น ดูแล้วคงไม่เหมาะที่จะผลิตอาหารบริโภค แต่แนวคิดเรื่องการเพาะเลี้ยงไกจนได้ผลเช่นนี้ ก็หมายความว่าถ้ามีการจัดระบบการเลี้ยงที่ได้สุขลักษณะ รวมทั้งใช้สารอาหารที่เหมาะสมเหมือนกับการปลูกผักแบบใช้สารละลายหรือไฮโดรโปนิกส์ ก็น่าจะได้ไกที่มีคุณภาพสูงและถูกสุขลักษณะที่สามารถนำมาใช้เป็นอาหารคนได้ทั้งปี แทนที่จะต้องรอเก็บจากธรรมชาติในบางฤดูเท่านั้น
และที่สำคัญคือตอนนี้ความนิยมในการบริโภคไกก็เริ่มแพร่หลายมากขึ้น ไม่เฉพาะในหมู่คนพื้นบ้านที่อยู่ใกล้แม่น้ำเท่านั้น แต่บรรดานักท่องเที่ยวที่ได้ไปเยือนเมืองน่านหรือเชียงราย เมื่อได้ลองชิมไกในรูปแบบต่างๆ แล้ว รู้สึกพอใจในรสชาติ และอีกอย่างหนึ่งคือคุณค่าทางอาหารของไกก็สูงมากด้วยเช่นกัน กลายเป็นอาหารสุขภาพอย่างดีอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นของพื้นเมืองไทยเรา

อย่างไรก็ตาม เมื่อเราเพาะเลี้ยงสาหร่ายไก โดยการใช้น้ำทิ้งจากโรงอาหารได้แล้ว เรื่องการพัฒนาต่อโดยใช้ความรู้ดังกล่าวต่อยอดต่อไปถึงการผสมสูตรอาหารที่ เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องยาก ก็หวังว่าคณะนักวิจัยกลุ่มนี้คงจะช่วยกันพัฒนาต่อไป เพราะมีโอกาสสร้างอาชีพให้แก่เกษตรกรหรือคนที่อยู่ใกล้แม่น้ำได้สร้างรายได้เสริม หรือยิ่งไปกว่านั้นคือกลายเป็นอาชีพหลักก็เป็นได้ โดยสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือความสะอาดและถูกสุขลักษณะ เพราะไกเมื่อเก็บจากธรรมชาตินั้น

บางครั้งก็ยังมีทรายติดมาด้วย แต่หากเพาะเลี้ยงในสภาพที่เหมาะสมก็คงจะหมดปัญหาเรื่องนี้ไป และน่าจะเป็นการขยายตลาดไกให้กว้างขวางมากขึ้นได้
ว่ากันแล้วก็ลองหันมาเลี้ยงสาหร่ายกันดีกว่านะค่ะ แต่ต้องศึกษาให้ละเอียด เพื่อจะได้นำมาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนะค่ะ....
ที่มา : คมชัดลึก
ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต

Follow on FaceBook

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

Popular Posts