วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


สวัสดีค่ะ เพื่อนๆบล็อกนานาสาระเกษตร วันนนี้จะนำสาระเรื่องการเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์มาฝากกันนะค่ะ มาติดตามกันค่ะ
เงินลงทุน
ประมาณ 8,000 บาท ต่อการเลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์ 4 บ่อ
รายได้
ครั้งแรก 16,000 - 24,000 บาท
วัสดุ/อุปกรณ์
แม่พันธุ์-พ่อพันธุ์กบ ไม้ไผ่ทำแพหรือแผ่นโฟมทางมะพร้าว บ่อซีเมนต์ อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงลูกกบและกบโต
แหล่งจำหน่ายพันธุ์กบ
ฟาร์มเลี้ยงกบทั่วไป
บ่อกบ
วิธีดำเนินการ
1. การเลี้ยงกบควรเลือกพื้นที่เป็นที่สูงหรือที่ดอน มีลักษณะราบเสมอ ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกต่อการถ่ายเทน้ำ แต่ควรให้ห่างจากถนนเพื่อป้องกันเสียงรบกวน
2. สร้างบ่อซีเมนต์ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1.5 เมตร สูง 1 เมตร เพื่อใช้เพาะพันธุ์กบ จำนวน 1 บ่อ และสร้างบ่อขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร จำนวน 3 บ่อ โดยก่อแผ่นซีเมนต์และฉาบด้วยปูนซีเมนต์ ปูนที่ฉาบควรหนาเป็นพิเศษ ตรงส่วนล่างที่เก็บขังน้ำสูงจากพื้น 1 ฟุต พื้นล่างเทปูนหนาเพื่อรองรับน้ำ และมีท่อระบายน้ำอยู่ตรงส่วนที่ลาดที่สุด
4. พันธุ์กบที่จะเพาะเลี้ยง ควรเลือกกบนา เพราะเจริญเติบโตเร็วและเป็นที่นิยมของผู้บริโภค กบนาตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นกล่องเสียง
อยู่ใต้คางแถวมุมปากส่วนตัวเมียมองไม่เห็นกล่องเสียง
การเตรียมบ่อซีเมนต์

บ่อเติมน้ำ
เตรียมลูกกบเพื่ออนุบาลในบ่อ
บ่อเลี้ยงกบ
การเพาะพันธุ์กบ
ล้างบ่อซีเมนต์ให้สะอาด ใส่น้ำลงไปให้ได้ความลึกประมาณครึ่งฟุต แล้วหาวัชพืชน้ำมาใส่ไว้เพื่อให้ไข่กบเกาะ จากนั้นนำพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์กบ 1คู่มาใส่ไว้รวมกันประมาณ 2-3 คืน กบจะผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงเวลา 04.00-06.00 น. เมื่อเห็นว่ากบออกไข่แล้วให้นำพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ออกจากบ่อ เพื่อป้องกันไม่ให้แพไข่แตก
การอนุบาลลูกกบวัยอ่อน
เมื่อไข่กบฟักออกเป็นตัวอ่อนแล้ว ช่วง 2 วันแรกไม่ต้องให้อาหาร เพราะลูกอ๊อดยังใช้ไข่แดงที่ติดมาเลี้ยงตัวเอง หลังจากนั้นจึงเริ่มให้อาหารเม็ดสำหรับลูกกบวันละ1 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1 กำมือ หรืออาจให้ไข่แดงบดเป็นอาหารแทนก็ได้ ซึ่งเฉลี่ยแล้วใช้วันละ 2-3 ฟองต่อลูกอ๊อด 1 ครอกเมื่อลูกอ๊อดมีอายุ 20-30 วัน จึงเป็นลูกกบเต็มวัย ในช่วงนี้ต้องนำไม้ไผ่มาทำเป็นแพหรือแผ่นโฟมลอยน้ำเพื่อให้ลูกกบเต็มวัยขึ้นไปอาศัยอยู่ เพราะลูกอ๊อดจะโตเต็มวัยไม่พร้อมกัน อาจมีการรังแกกันจนเกิดแผลทำให้ลูกกบตายได้ ดังนั้น จึงต้องลงมือคัดลูกกบขนาดตัวยาว 2 เซนติเมตร ไปเลี้ยงในบ่อที่เตรียมไว้ บ่อละ 1,000 ตัว
การดูแลและเลี้ยงกบเต็มวัยจนเป็นกบโต
การบรรจุเพื่อส่งจำหน่าย
เมื่อคัดลูกกบนำไปเลี้ยงในบ่อแล้ว ใส่วัชพืชน้ำและวัสดุลอยน้ำลงไป เช่น แพไม้ไผ่หรือแผ่นโฟม เพื่อให้กบขึ้นไปอาศัยอยู่ และนำทางมะพร้าวมาคลุมบ่อเพื่อบังแดดด้วยในช่วงที่คัดลูกกบลงบ่อซีเมนต์ใหม่ ๆ นี้ ให้ใช้อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงลูกกบไประยะหนึ่งก่อนเมื่อกบโตขึ้นจึงค่อยให้อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงกบโตวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ในอัตรา 3% ของน้ำหนักตัวกบ คือ ถ้ากบน้ำหนัก 100 กิโลกรัม ก็ให้อาหารวันละ 3 กิโลกรัมในขั้นตอนนี้ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3 เดือน ก็สามารถจับกบจำหน่ายได้
จับกบเตรียมส่งจำหน่าย
ตลาด/แหล่งจำหน่าย
ส่งขายตามตลาดสดทั่วไป หรือร้านอาหาร
สถานที่ให้คำปรึกษา
1. กองส่งเสริมการประมง กรมประมง โทร. 561-4689
2. สำนักงานประมงจังหวัดและอำเภอ
ข้อแนะนำ
1. การเลี้ยงกบต้องระวังเรื่องความสะอาดขณะสูบบุหรี่ใกล้บริเวณบ่อ ระวังอย่าให้ขี้บุหรี่ตกลงไปในบ่อเด็ดขาด เพราะลูกกบจะตายยกบ่อ
2. การเลี้ยงกบ ต้องคัดลูกกบขนาดเท่ากันไปเลี้ยงในบ่อเดียวกันห้ามเลี้ยงลูกกบคนละขนาดเด็ดขาด เพราะลูกกบจะกินกันเอง
3. การเลี้ยงกบควรกะระยะเวลา 4 เดือน ในการจับจำหน่าย อย่าให้ตรงกับช่วงฤดูฝน เพราะกบราคาถูก
4. อาหารกบ นอกจากอาหารเม็ดแล้ว สามารถใช้เนื้อปลาสับหรือเนื้อหอยโข่งก็ได้
5. ก่อนที่จะปล่อยแม่พันธุ์กบลงผสมพันธุ์ ต้องสังเกตแม่พันธุ์กบว่าตัวเริ่มฝืด มีปุ่มหนาม แสดงว่าพร้อมจะผสมพันธุ์ หากปล่อยลงไปแล้ว 2-3 วัน ยังไม่เห็นไข่กบก็จับพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์มาแยกเลี้ยงอีกระยะหนึ่ง แล้วค่อยนำมาผสมพันธุ์ใหม่
ขอขอบคุณเครดิตภาพ: รักบ้านเกิดดอทคอม


วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การเพาะเลี้ยงไส้เดือนแดง
วัสดุหรือภาชนะที่เลี้ยงควรใช้วงบ่อปูนขนาด 80 ม. – 1.20 ม. พื้นเทคอนกรีต  และเจาะรูระบายน้ำ นำฟางข้าวหรือเศษหญ้ามาแช่น้ำนาน 3-5 วันนำมารองพื้นวัสดุที่  ใช้้เพาะ เลี้ยงหนาประมาณ 1-2นิ้ว จากนั้นนำดินร่วน ผสมมูลสัตว์ อย่างละเท่าๆ กันใส่  ลงไปในภาชนะให้หน้าขึ้นมา 3-4 นิ้ว พรมน้ำ ให้ทั่วนำไส้เดือน ลงไปเลี้ยงหาวัสดุคลุม  หน้า  ดิน เพื่อป้องกันแสงแดด การให้อาหาร ควรให้อาหารเสริมทุก 3-4 วันเช่น เศษ  พืชผักขยะ  สด และมูลสัตว์ ซึ่งไส้เดือนชอบมาก

การเตรียม
ส่วนผสม
บ่อวงซีเมนต์ (ดิน ปุ๋ยคอก เศษผักผลไม้)
วิธีทำ
ใส้เดือน
เตรียมบ่อ ผสมส่วนผสมที่มีอยู่ให้เข้ากัน ใส่ลงในบ่อ นำตัวไส้เดือนลงปล่อย
วิธีใช้
ไส้เดือนที่ได้จากการเลี้ยงสามารถนำไปตกปลา
*หมายเหตุ*ไส้เดือนที่ได้จากการเลี้ยงเวลาเกี่ยวเบ็ดตัวไส้เดือนจะขาดไวกว่าไส้เดือนที่มีอยู่ในธรรมชาติ
 ข้อควรระวัง

1. ค่าความเป็นกรด ด่างของดินควรอยู่ในช่วงเป็นกลาง (PH=7)

2. ดูความชื้นให้เหมาะสมไม่เปียกและแห้งมากจนเกินไป
3. อุณหภูมิไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป
4. ป้องกันและระวังสัตว์ที่เป็นศัตรูทางธรรมชาติของไส้เดือนเช่น มด แมลงต่างๆ
อาการและที่อยู่ของใส้เดือน
ลัึกษณะของใส้เดือน
การเพาะเลี้ยงไส้เดือนดินสำหรับผลิตปุ๋ยอินทรีย์มีด้วยกันหลายชนิด
บ่อเลี้ยงใส้เดือนแบบต่างๆ





 1) การเลี้ยงไส้เดือนดินในภาชนะต่าง ๆ เช่น กระถางปลูกต้นไม้ ลังไม้ หรือบ่อซีเมนต์เป็นต้น เป็นการเลี้ยงขนาดเล็ก และทำได้ทุกครัวเรือน ใช้พื้นที่น้อย การดูแลง่าย แต่ปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้ก็น้อยตามขนาดของภาชนะ
2) การเลี้ยงไส้เดือนดินในภาชนะเป็นชั้น ๆ เช่น ชั้นไม้ หรือชั้นตู้พลาสติก เป็นต้น เป็นการเลี้ยงที่ใช้พื้นที่จำกัดได้ดี แต่มีข้อจำกัดคือต้องใช้แรงงานในการจัดการค่อนข้างมากและสิ้นเปลืองเวลา

 3) การเลี้ยงไส้เดือนดินแบบแปลงกลางแจ้ง เป็นการเลี้ยงไส้เดือนดินที่ใช้เทคนิคง่าย ๆ ด้วยการตั้งกองอาหารเป็นแปลงสำหรับเลี้ยงไส้เดือนดิน คลุมอาหารของไส้เดือนดินด้วยฟางและตาข่าย สำหรับป้องกันสัตว์มาคุ้ยเขี่ย แต่มีข้อจำกัดตรงที่ไส้เดือนดินสามารถเลื้อยหนีออกได้ง่ายเมื่อสภาวะไม่ เหมาะสม เช่น อาหารหมดหรือน้ำท่วม เป็นต้น
 4) การเลี้ยงไส้เดือนดินในโรงเรือน  เป็นการเลี้ยงที่นิยมสำหรับฟาร์มเกษตรกรส่วนใหญ่ เพราะสามารถจัดการสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในการเลี้ยงไส้เดือนดินได้ง่าย เช่น การก่อบล็อกสำหรับทำซองหรือคอกเลี้ยงไส้เดือนดิน โรงเรือนจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับต้นทุนของผู้เลี้ยงไส้เดือนดินเป็น หลัก
 5) การผลิตไส้เดือนดินแบบอัตโนมัติ เป็นการเลี้ยงไส้เดือนดินอย่างเป็นระบบ ทำให้จัดการได้ง่าย แต่มีข้อจำกัดตรงที่ต้นทุนสูงมาก ดังนั้นต้องมีการศึกษาพันธุ์ที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด


ประโยชน์ของการเลี้ยงไส้เดือน
ไส้เดือนเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่ทำให้ดินคืนกลับสู้ความอุดมสมบูรณ์รักษาความ  สมดุล ด้วยการกำจัดขยะอินทรีย์ทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น นอกจากนี้ไส้เดือนยังสามารถเป็น  อาหารของไก่ ปลา กบที่เราเลี้ยง ทำให้สัตว์เลี้ยงได้รับสารอาหารโปรตีนครบสมบูรณ์
ขอขอบคุณ : http://www.siamfishing.com

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

 ปลากราย (Chitala ornata, Haminton) เป็นปลาน้ำจืดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ประชาชนชอบบริโภคเนื่องจากเนื้อปลากรายมีรสชาติดีสามารถนำมาปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น ทอดมันปลากราย ลูกชิ้นปลากราย  เชิงปลากรายทอดกระเทียม เป็นต้นทำให้ราคาจำหน่ายปลากรายในท้องตลาดค่อนข้างมีราคาแพงประมาณกิโลกรัมละ 70-80 บาท ส่วนเนื้อปลาขูดราคากิโลกรัมละ 150 บาท อีกทั้งปลากรายขนาดเล็กมีลักษณะสวยงามเป็นที่ต้องการของตลาดปลาสวยงามทั้งภายในและภายนอกประเทศ ปลากรายที่นำมาจำหน่ายส่วนใหญ่เป็นปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติซึ่งมีปริมาณลดลงทุกปี กรมประมงจึงได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัย และพัฒนาประมงน้ำจืดลพบุรีดำเนินการศึกษาค้นคว้าและเร่งเพาะขยายพันธุ์เพื่อฟื้นฟูพันธุ์ปลาและส่งเสริมเป็นอาชีพต่อไป
ปลากรายเป็นปลาน้ำจืดที่พบมากในประเทศไทย อินโดนีเซีย อินเดีย มาเลเซียและพม่า ในประเทศไทยพบอาศัยในแม่น้ำลำคลอง หนองและบึงทั่วประเทศ ยกเว้นภาคใต้ โดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ภาคเหนือเรียกว่าปลาหางแพน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกปลาตองกราย เป็นต้น ปลากรายเป็นปลาประเภทกินเนื้อ อาหารของปลากรายตามธรรมชาติได้แก่ ตัวอ่อนของแมลง กุ้ง ลูกปลาขนาดเล็ก และสัตว์น้ำอื่น ๆปลากรายมีลักษณะลำตัวยาวบาง แบนข้าง ส่วนหัวมีขนาดเล็ก เว้าเป็นสันโค้งและแยกออกจากลำตัวเห็นชัดเจน เหนือครีบก้นจะมีจุดสีดำค่อนข้างใหญ่ ประมาณ 5 – 10 จุดเรียงเป็นแถว สีของลำตัวเป็นสีขาวเงิน  ส่วนหลังมีสีคล้ำกว่าส่วนท้อง ขนาดของปลากราย ที่พบส่วนใหญ่ยาวประมาณ 70–75 เซนติเมตร  ส่วนลูกปลาที่มีขนาดไม่ เกิน 9 เซนติเมตร จะมีลายสีเทาดำ ประมาณ
10–15 แถบ พาดขวางลำตัว เมื่ออายุประมาณ 80 วัน ลายจะเลือนหายไปและกลายเป็นจุดสีดำ
รอบๆบริเวณบ่อปลากราย
แทน เกล็ดมีขนาดเล็กละเอียด ครีบต่างๆ ทุกครีบเป็นก้านครีบอ่อนทั้งหมด ครีบท้องเล็กมาก ครีบก้นและครีบหางเชื่อมติดกันรวมเป็นครีบเดียวกัน มีก้านครีบประมาณ 110-135 อัน ครีบหลังเล็ก มีก้านครีบ 8-9 อัน ตั้งอยู่กึ่งกลางหลังลักษณะคล้ายขนนกเสียบอยู่ ครีบอก มีก้าน ครีบ 15-16 อัน  ครีบท้อง มีก้านครีบ 6 อัน บริเวณสันท้องมีหนามคล้ายฟันเลื่อย 2 แถว จำนวนประมาณ 37-45 คู่ ลักษณะภายนอกของปลากรายเพศผู้และเพศเมียที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ได้แก่ ความยาวของครีบท้อง  โดยที่ปลาเพศผู้ จะมีครีบท้องยาวกว่าปลาเพศเมีย  ฤดูวางไข่ของปลากรายอยู่ในช่วงเดือน มีนาคม – ตุลาคม ของทุกปี โดยรังไข่เพียงข้างเดียวของเพศเมีย(ที่มีอยู่สองข้าง)จะมีการพัฒนาเพื่อสร้างไข่ในหนึ่งฤดู รังไข่ทั้งสองข้างจะสลับกันสร้างไข่จากปีหนึ่งไปยังอีกปีหนึ่ง เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ปลาจะเริ่มจับคู่กันและปลาเพศผู้จะทำการขุดดินรอบ ๆ วัสดุที่จะทำการวางไข่ให้เป็นหลุม จากนั้นปลาเพศเมียจะวางไข่ ซึ่งจะติดกับวัสดุ เป็นต้นว่า ตอไม้ รากไม้ ท่อปูน ฯลฯ  ปลาเพศผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่โดยใช้หางโบกไปมาพัดเพื่อให้ออกซิเจนและป้องกันไม่ให้ตะกอนเกาะติดไข่ ไข่ปลากรายที่ได้รับการผสมจะมีสีเหลืองอ่อนใส  มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.0 มิลลิเมตร  และฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 6 – 7 วัน ที่อุณหภูมิน้ำ 26-32 องศาเซลเซียส  แม่ปลามีความสามารถวางไข่ได้เฉลี่ยปีละ 6.0 ครั้ง พบแม่ปลาวางไข่สูงสุดในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม  จำนวนไข่เฉลี่ยครั้งละ 1,044 ฟอง อัตราการปฏิสนธิประมาณ 75% อัตราการฟักเป็นตัว 70% อัตราการรอดตาย 92% เหลือลูกปลาวัยอ่อนอายุ 5 วันเฉลี่ย 514 ตัว คิดเป็น 3,084 ตัว/แม่/ปี
การเพาะพันธุ์ปลากราย
     การเพาะพันธุ์ปลากรายสามารถทำได้โดยง่าย ไม่จำเป็นต้องฉีดฮอร์โมนกระตุ้นก็สามารถวางไข่ได้เองในบ่อดิน  โดยไข่จะติดกับวัสดุที่เตรียมไว้  สรุปขั้นตอนการเพาะพันธุ์ปลากรายของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดลพบุรี ดังต่อไปนี้
1.  บ่อเพาะพันธุ์  บ่อเพาะพันธุ์ควรเป็นบ่อดินขนาด 0.5 ไร่ พื้นบ่อควรเป็นดินเหนียวไม่ควรเป็นโคลนตม   ระดับน้ำประมาณ 1.00 – 1.50 เมตร
2.  การปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลากราย  ทำการคัดเลือกพ่อแม่ปลากรายที่มีอายุถึงวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 2 ปี ขึ้นไป)ปล่อยลงในบ่อเพาะพันธุ์ในอัตรา 36 คู่ ต่อบ่อขนาด 0.5 ไร่3.  วัสดุสำหรับให้ปลากรายวางไข่  หลังจากทำการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลากรายลงในบ่อเพาะพันธุ์แล้ว ต้องนำวัสดุไปวางไว้สำหรับให้ปลากรายมาวางไข่ โดยวัสดุที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดลพบุรี ใช้ได้แก่  กระถางดินเผา ขนาดสูง 24 เซนติเมตร ปากกว้าง 20 เซนติเมตร การนำกระถางดินเผาไปวางให้ปลากรายวางไข่  ควรวางกระจายให้ทั่วบ่อ เว้นระยะให้เท่ากัน  โดยวางกระถางคว่ำที่พื้นบ่อ ทุกจุดที่วางวัสดุสำหรับให้ปลาวางไข่ต้องทำสัญลักษณ์บอกตำแหน่ง เช่น ใช้เชือกผูกและปลายเชือกอีกข้างหนึ่งมัดไว้กับทุ่นลอยอยู่บริเวณผิวน้ำ หรือ ใช้ไม้ไผ่ปัก
4.  อาหารและการให้อาหาร การให้อาหารปลาในบ่อเพาะพันธุ์ จะใช้ปลาเป็ด 90 % และ รำละเอียด 10 % บดรวมกันแล้วปั้นเป็นก้อน ให้วันละ 1 มื้อ ประมาณ 3% ของน้ำหนักตัว
5.  การตรวจสอบการวางไข่ของปลากราย หลังจากนำวัสดุสำหรับให้ปลาวางไข่ไปวางที่บ่อเพาะพันธุ์เรียบร้อยแล้ว ต้องหมั่นตรวจสอบการวางไข่ของปลากรายทุกสัปดาห์ ๆ ละ 2 ครั้ง โดยการยกกระถางดินเผาขึ้นดู ถ้าไม่พบให้ทำความสะอาดกระถางแล้ววางไว้ที่เดิม  ส่วนรังไข่ที่รวบรวมเพื่อนำขึ้นมาฟักนั้นให้นำกระถางใบใหม่วางลงทดแทนที่เดิม  ทำการลำเลียงไข่ของปลากรายโดยให้รังไข่แช่อยู่ในน้ำตลอดเวลา และนำไปยังโรงเพาะฟักเพื่อทำการฟักไข่ต่อไป
6.     การฟักไข่  มีขั้นตอนดังต่อไปนี้6.1   ทำการล้างดินโคลนที่ติดมากับกระถางดินเผาออกให้หมด6.2  นำไข่ปลากรายไปฟักในกะละมังพลาสติก กล่องโฟม หรือภาชนะอื่นใด  เติมสารป้องกันเชื้อรา ให้อากาศตลอดเวลา ในเวลาประมาณ 6–7 วัน ลูกปลากรายจะฟักออกเป็นตัว  ขณะนี้ลูกปลายังเกาะติดกับกระถางและจะหลุดจากกระถางภายในเวลา 2 วัน ลูกปลามีนิสัยชอบรวมกลุ่มหลบซ่อนอยู่ใต้กระถาง หลังจากลูกปลาหลุดออกจากกระถางหมดแล้ว จึงรวบรวมนำไปอนุบาลต่อไป6.3  ลูกปลากรายที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ ๆ จะมีถุงไข่แดง (yolk sac) ติดอยู่กับหน้าท้อง ลูกปลาจะใช้สารอาหารจากถุงไข่แดงเพื่อเลี้ยงตัวเอง เมื่อถุงไข่แดงยุบหมดแล้วซึ่งใช้เวลาประมาณ 5 วัน ปากของลูกปลาจะเปิดและจะเริ่มกินอาหาร สังเกตได้จากลูกปลาว่ายสู่ผิวน้ำ จึงเริ่มให้อาหาร อาหารที่ใช้ คือ ไรแดง
7. การอนุบาลลูกปลากราย  ลูกปลากรายอายุ 5 วันมีความยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ระยะนี้ให้ไรแดงเป็นอาหาร เมื่อลูกปลาอายุได้ 20 วัน เริ่มฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปที่มีโปรตีนสูง ได้แก่ อาหารลูกกุ้งกุลาดำวัยอ่อนเบอร์ 1 สลับกับการให้ไรแดง เมื่อลูกปลาอายุ 30 วัน จะมีความยาวประมาณ 3 เซนติเมตร อายุ 45 วัน มีขนาด 3.7 เซนติเมตร จึงเปลี่ยนเป็นอาหารลูกกุ้งกุลาดำวัยอ่อนเบอร์ 2 พร้อมกับการเสริมอาหารเม็ดลอยน้ำขนาดเล็ก  อายุครบ 60 วัน ได้ลูกปลาขนาด 5 เซนติเมตร ให้อาหารเม็ดลอยน้ำขนาดเล็กเพียงอย่างเดียวและงดให้ไรแดงลูกปลาขนาดเล็กจะมีลายพาดขวางตามแนวตัว ที่อายุ 80วัน ขนาด 10 เซนติเมตร จึงเห็นเป็นจุดตามแนวตัว
การเลี้ยงปลากราย
 สำหรับการเลี้ยงปลากรายของเกษตรกรที่อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ได้มีการเลี้ยงปลากรายขนาด 10 เซนติเมตร จำนวน 2,000 ตัวในบ่อดินขนาด 1 ไร่ เลี้ยงรวมกับปลานิล ขนาด 2-3 เซนติเมตร จำนวน 5,000 ตัว โดยในระยะ 2 เดือนแรก มีการให้กุ้งฝอยจำนวน 1 กิโลกรัม/สัปดาห์ เป็นอาหารปลาหลังจากนั้นจะมีการให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปแก่ปลานิลบ้าง ระยะเวลาการเลี้ยง 14 เดือน พบว่าปลากรายมีน้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง 800 – 1,000 กรัม/ตัว
แหล่งที่มา : กรมประมง/ประทีปพันธุ์ปลา
ขอขอบคุณ : ภาพจากอินเตอร์เน็ต



Follow on FaceBook

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

Popular Posts