วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557


การเพาะเลี้ยงปลาหลด
สวัสดีค่ะ เพื่อนๆบล็อกนานาสาระเกษตรทุกท่านนะค่ะ วันนี้นำเรื่องการเพาะเลีั้ยงปลาหลด มาฝากกันค่ะ เป็นปลาธรรมดาที่ทำรายได้ให้ไม่ธรรมดาทีเดียว ลองมาศึกษาดูค่ะ
ปลาหลด เป็นปลาน้ำจืดพื้นบ้านของไทยที่อาศัยอยู่ในห้วย หนอง คลอง บึง ตาม แหล่งน้ำธรรมชาติ และอยู่ตามพื้นน้ำ ฝังตัวอยู่ในทรายตอนกลางวัน หากินอาหาร ในเวลากลางคืน ชอบกินตัวอ่อนของแมลง หนอน ไส้เดือน สัตว์เล็กๆ และเศษเนื้อ เน่าเปื่อยเป็นอาหาร ปลาชนิดนี้เดิมที่ชุกชุมมากช่วงฤดูฝน ยกยอครั้งใดมัก จะติดขึ้นมาด้วยเสมอ ปัจจุบันนี้หารับประทานกันได้ยากยิ่งขึ้น เนื่องมาจาก แหล่งน้ำมีสารพิษและการเน่าเสีย สภาพแวดล้อมไม่สมดุลทำให้การวางไข่ลด ลง จำนวนปลาจึงน้อยลงและมีให้เห็นแต่เพียงตัวเล็กๆ ถ้าปลาหลดตัวใหญ่นั้น เป็นปลาที่มาจากประเทศกัมพูชา ไม่แปลกราคาปลาหลดที่มีขายอยู่ตามท้องตลาด ค่อนข้างสูง อยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 120-200 บาท
ลักษณะของปลาหลด
ลักษณะที่โดดเด่นของปลาหลดคือ เป็นปลาที่อดทนสูง อาศัยอยู่ในโคลนตมได้ นาน รูปร่างคล้ายปลาไหล ปลายปากยื่นยาวสามารถยืดหดได้ ลำตัวยาวเรียว ประมาณ 15-30 เซนติเมตร ตัวปลากลมมน หัวเล็ก จะงอยปากเรียวแหลม ปากและตา เล็ก ครีบหลังและครีบก้นยาว ครีบหางเล็ก ไม่มีครีบท้อง หลังสี
น้ำตาลท้องมี สีอ่อนปนเหลือง มีจุดสีดำที่ครีบหลัง 3-5 จุด เกล็ดเล็กมาก จนมองดูเหมือน ไม่มี อยู่ในวงศ์เดียวกับปลากระทิง แต่ขนาดเล็กกว่า

เพาะเลี้ยงปลาหลด
ในการเลี้ยงปลาหลดเพื่อการค้าอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากการหาพ่อแม่พันธุ์ ปลาหลดยังต้องหาตามแหล่งน้ำจากธรรมชาติ ทำให้ปลามีความบอบซ้ำและปริมาณก็ ไม่มากพอ แหล่งที่มีการรวบรวมพันธุ์ที่สำคัญคือ ตลาดโรงเกลือ อำเภอ อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
คณะวิชาประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ได้ เห็นความสำคัญ จึงได้ศึกษาวิจัยและทดลองการเพาะเลี้ยงปลาหลดอย่างเอาจริง เอาจัง เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงปลาชนิดนี้ในเชิงธุรกิจ ซึ่งจะ สามารถสร้างรายได้ให้แก่ผู้เลี้ยงได้เป็นอย่างดี
ผ.ศ.หทัยรัตน์ เสาวกุล หัวหน้าคณะวิชาประมง หนึ่งในคณะผู้ วิจัย กล่าวว่า คณะผู้วิจัยการเพาะเลี้ยงปลาหลดได้ศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยง หรือขยายพันธุ์ปลาหลด เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรกรให้มีรายได้จากการ เลี้ยงปลาเพิ่มขึ้น
การเพาะพันธุ์ปลาหลด
เราจะคัดปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีความสมบูรณ์ คือเพศเมีย ลำตัวอ้วน ป้อม จากนั้นก็ฉีดฮอร์โมนเพศเมีย ทำการฉีด 2 ครั้ง ซึ่งครั้งที่ 2 พัก ห่างจากครั้งที่ 1 ประมาณ 6 ชั่วโมง เพศผู้ ทำการฉีดเพียงครั้งเดียว โดย ฉีดพร้อมเพศเมีย เข็มที่ 2 แล้วก็นำพ่อแม่พันธุ์ที่ฉีดฮอร์โมนเรียบ ร้อย ปล่อยลงในถังเดียวกันเพื่อให้ผสมกันเองตามธรรมชาติ
ปลาหลดเพศ 1 ตัว จะให้ไข่ได้ถึง 3,000 - 5,000 ฟอง ซึ่งจมติดวัตถุใน น้ำและฟักตัวในอุณหภูมิ 25-28 องศาเซลเซียส ใช้ระยะเวลา ประมาณ 48-60 ชั่วโมง หลังจากไข่ถูกฟักออกมาเป็นตัวแล้ว อาหารที่ให้ในระยะ การอนุบาลควรเป็นไรแดง เพราะมีการเจริญเติบโตและมีอัตราการรอดดีที่ สุด แล้วค่อยให้หนอนแดงหรือไส้เดือนเป็นอาหาร

ผ.ศ.หทัยรัตน์ กล่าวว่า ปลาหลดสามารถเลี้ยงได้ทั้งบ่อดินและบ่อ ซีเมนต์ ลักษณะของบ่อซีเมนต์ควรมีขนาด 4x4 เมตร หรือ 2x4 เมตร ความสูง ประมาณ 70 เซนติเมตร หรือเพียง 50 เซนติเมตร เพาะปลาหลดจะไม่กระโดด แต่ ถ้าสูงก็สามารถป้องกันงูและศัตรูอื่นๆ ได้ดี
ผิวบ่อฉาบเรียบ อาจทำให้ลาดเอียงประมาณครึ่งบ่อเพื่อใส่ทรายปนดินเหนียว ไว้ที่ก้นบ่อ ข้อดีของบ่อซีเมนต์คือสามารถควบคุมไม่ให้ปลาหนีได้ ซึ่งบ่อ ดินจะทำให้ปลาหลดหลบซ่อนตัวอยู่ในโคลน การจับขายค่อนข้างลำบาก ลูกปลา อายุ 2 สัปดาห์ ขึ้นไป หรือความยาว ประมาณ 3-4 นิ้ว จำนวน 2,000 - 2,500 ตัว สามารถปล่อยลงบ่อเพาะเลี้ยง ได้ แต่ถ้าจะให้ดีต้องอายุ 1 เดือน

"ในการเลี้ยงปลานั้น เราต้องมีการจัดการน้ำที่ดี ตรวจสอบคุณภาพ ของอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเป็นปลากินเนื้อ น้ำจะเสียได้ง่าย ใช้วิธีเพิ่ม น้ำเข้าไปแล้วไหลออกอีกทางหนึ่ง ปลาจะมีความรู้สึกว่าน้ำไหลเวียน พื้นบ่อ ควรจะหากระบอกไม้ไผ่หรือท่อน้ำเก่าๆ ให้ปลาหลดชอบหลบอาศัยอยู่ในโพรงหรือ กระบอก ใส่ผักบุ้งไว้ส่วนหนึ่งไม่ต้องมากนัก ระดับความสูงของน้ำให้ท่วม บริเวณพื้นดินประมาณ 40 เซนติเมตร\\\\\\\" ปลาหลดจะโตเร็ว ใช้เวลา เพียง 6-7 เดือน ก็สามารถจำหน่ายได้แล้ว ซึ่งมีขนาดประมาณ 30-40 ตัว ต่อ กิโลกรัม หากเลี้ยงจนได้อายุ 1 ปี ก็สามารถใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ได้

สำหรับอาหารที่ใช้ในเลี้ยงปลาหลดนั้น เหมือนกันกับเหยื่อของปลาไหล โดยมี หลักๆ ดังนี้ หอยเชอร์รี่ นำมาทุบแยกเปลือกและเนื้อออกจากกัน แล้วสับเนื้อ หอยให้ละเอียด นำไปวางไว้บริเวณชายพื้นรอยต่อระหว่างทรายกับผิวปูน ซีเมนต์ กองไว้ เมื่อเหยื่อเริ่มเน่าปลาหลดจะเข้ามากินหรืออาจกินตั้งแต่สดๆ
\\\"เราจะต้องคอยดูว่า ปลาหลดจะกินหมดในเวลา 2-3 วัน หรือไม่ ถ้าหมดควร เพิ่มให้อีก แต่ถ้าเหลือควรลดลง เวลาการให้อาหารควรระวัง คือต้องอย่าให้ เกิดการกระเทือน เพราะจะทำให้ปลาตกใจหนี\\\"
\\\"ในการประกอบอาชีพเลี้ยงปลาชนิดทั่วๆ ไปนั้น ต้องมีต้นทุนในการซื้อ อาหารเม็ดสำเร็จรูป ในขณะที่อาหารปลาหลดเราหาได้เองตามธรรมชาติ เช่น หอยเชอ รี่ ซึ่งเป็นศัตรูทำลายต้นข้าวมีจำนวนมาก หากนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ยัง ช่วยทำลายหอยเชอรี่โดยไม่ต้องใช้สารเคมีในการกำจัด อีกอย่างไส้เดือนก็หาได้ ทั่วไปได้เช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบแล้วปลาชนิดอื่นขายขายได้ในราคาที่ ถูกกว่า ปลาหลดขายได้แพงกว่า แต่ต้นทุนต่ำกว่า เกษตรกรสามารถประกอบเป็น อาชีพเสริมได้อย่างดี \\\" ผศ.หทัยรัตน์ กล่าว

เลี้ยงไส้เดือนเป็นอาหารปลาหลด
อาหารปลาหลด
ดังที่บอกแล้วว่า ปลาชนิดนี้ กินอาหารได้หลายชนิด ทำให้ ผศ.หทัย รัตน์ เกิดความคิดที่จะเพาะไส้เดือนมาให้ปลากิน จึงได้ไปอบรมการเพาะเลี้ยง ไส้เดือนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
\"ไส้เดือน น่าจะเป็นอาหารที่ดีสำหรับการนำมาเลี้ยงปลาหลด เพราะตาม ธรรมชาติแล้วช่วงฤดูฝนเวลาเราจับปลาหลดได้ พอผ่าท้องออกมาก็จะพบไส้เดือน จำนวนมาก แสดงว่าไส้เดือนเป็นอาหารที่ปลาหลดชอบกิน\"



ผศ.หทัยรัตน์ กล่าวว่า ไส้เดือนนั้นเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง ถึง 60% ของน้ำหนักตัว จะทำให้ปลาโตเร็ว สุขภาพแข็งแรง เกล็ดเป็นเงา งาม สามารถผลิตปลาหลดได้ทันต่อความต้องการในปัจจุบัน ซึ่งการเลี้ยง ไส้เดือนเพื่อเป็นอาหารของปลาหลดนั้น ข้อดีคือ ต้นทุนในการเลี้ยงน้อย มาก เพราะการเลี้ยงไส้เดือนใช้เพียง มูลช้าง วัว ควาย ขุย มะพร้าว กระดาษ เศษอาหาร ผลไม้เน่าเสีย เลี้ยงใน ภาชนะ เช่น ถัง กะละมัง ซึ่งอยู่ในที่ร่มและมีความชื้น ก็ทำให้ไส้เดือน สามารถเจริญเติบโตและขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว

ข้อดีของการเลี้ยงปลาหลดด้วยไส้เดือน
1. ไส้เดือนสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ปริมาณที่เพียงพอ ลงทุนต่ำ
2. ไส้เดือนเมื่องลงบ่อ จะอยู่ได้ถึง 1 วัน ไม่ตาย ปลาหลดจะจับกินได้อย่างต่อเนื่อง
3. ปลาหลด ชอบกินเหยื่อไส้เดือน
ปลาหลด เอาไปทำอาหารอะไรได้บ้าง
ปลาหลด ปลาที่มีความอร่อยอยู่ในตัว เมื่อถูกปรุงเป็นอาหารจึงสร้างความ โอชะได้มากยิ่งขึ้น ที่สำคัญต้องเลือกปลาสด จึงจะไม่มีกลิ่นคาวมาก เนื้อ มีรสหวาน สังเกตตาต้องใส ตัวปลามีเมื่อกลื่นมือ ถ้าปลาไม่สดเมือกจะขุ่น ขาว จับตัวปลาแล้วไม่ลื่น มีกลิ่นคาวแรง

ปลาตัวเล็กนิยมเอามาเคล้าเกลือตากแห้ง เป็นปลาแดดเดียว นำมาทอดกรอบได้ อร่อยนัก ถ้าได้ปลามาสดๆ เอามาทำต้มโคล้งต้องใส่เครื่องสมุนไพรสด พวก ข่า ตะไคร้เยอะๆ น้ำต้องเดือดจัดก่อนจึงใส่ปลา ต้มจึงจะไม่มีกลิ่นคาว อีก วิธีเมื่อล้างปลาแล้วเคล้าด้วยเกลือหมักไว้สักครู่ ล้างน้ำย่างไฟ พอหนัง ปลาเหลืองก็จะช่วยดับกลิ่นคาวได้ หรือนำปลาสดมาเคล้าเกลือ หรือแช่น้ำปลา แล้วนำไปทอดกินกับข้าวสวยร้อนๆ กับพริกน้ำปลาบีบมะนาวก็อร่อยเช่นกัน
นอกจากจะใช้ปรุงเป็นอาหารแล้ว ยังมีการนำไปเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โชว์เป็น ปลาตู้อีก ขณะที่ปลาหลดว่ายจะดูสง่างาม ราคาจะยิ่งสูงขึ้นโดยเฉพาะตัวที่มี จุด จะตกอยู่ตัวละ 20-30 บาท และอีกอย่างการเอาไปทำเป็นเหยื่อล่อปลา จะ ใช้ปลาหลด ขนาด 3-4 นิ้ว ราคาตัวละ 3-4 บาท สามารถใช้เป็นเหยื่อล่อปลา ชะโด ปลาช่อน
ลักษณะทั่วไป
ที่อาศัยของปลาหลด
 ปลาหลด ( Macronathus siamensis ) เป็นปลาน้ำจืดพื้นบ้านของไทยที่อาศัยอยู่ใน ห้วย หนอง คลอง บึง ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ แพร่กระจายทั่วประเทศ เป็นปลาที่มีความอดทนสูง อาศัยในโคลนตมได้นาน ชอบอาศัยตามพื้นท้องน้ำ และฝังตัวอยู่ในทรายตอนกลางวัน มีนิสัยชอบหากินในเวลากลางคืนเป็นปลากินเนื้อ กินอาหารจำพวกตัวอ่อนแมลง หนอน ไส้เดือน สัตว์เล็กๆ และเศษเนื้อเน่าเปื่อย ปลาหลดมีรูปร่างคล้ายปลาไหล ปลายปากยื่นยาวและสามารถยืดหดได้ มีสีเทาและสีดำ ปากเล็ก ฟันเล็กและคม มีช่องเหงือกเปิดอยู่ใต้หัวปลาหลดเป็นที่นิยมรับประทานในรูปของปลาสด ตากแห้ง หรือทำเค็มโดยปกติจะมีการซื้อขายในตลาดเป็นจำนวนมากอยู่

ปัจจุบันปลาหลดที่มีจำหน่ายตามตลาดเป็นปลาหลดที่จับได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้ปลาหลดเริ่มหายากมากขึ้น และมีราคาค่อนข้างสูงขึ้นกิโลกรัมละ 70 – 80 บาท (ตามท้องตลาดขายขีดละ 12 – 17 บาท) ในช่วงฤดูฝนจะหาซื้อได้ง่าย เมื่อพ้นระยะนี้ไปแล้วปลาหลดจะลดจำนวนลงเป็นอย่างมาก จะหาซื้อลำบาก ราคาค่อนข้างสูงโดยมีราคาประมาณ 120 – 200 บาท ด้วยเหตุดังกล่าว คณะผู้วิจัยจึงได้มีการศึกษาชีววิทยาของปลาหลดเป็นเบื้องต้น ศึกษาวิธีการสำหรับนำมาเพาะเลี้ยง หรือขยายพันธุ์ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มพูนอาหารประเภทโปรตีน และยังเป็นรายได้แก่ผู้ประกอบการเลี้ยงปลาหรือจับปลาขายเป็นอาชีพอีกด้วย
โดยการส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถทำการเพาะเลี้ยงปลาหลดได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในชุมชนของเกษตรกรเองไม่ต้องเดินทางไปทำงานต่างถิ่น ช่วยให้สามารถมีรายได้และช่วยพัฒนาชุมชนที่อาศัยอยู่ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อชุมชน หรือชุมชนใกล้เคียงและทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ส่งผลให้ประเทศชาติมีการพัฒนาที่ดี
การเพาะพันธุ์
นำปลาหลดพ่อแม่พันธุ์ที่รวบรวมได้จากธรรมชาติ มาคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีความสมบรูณ์พร้อมที่จะผสมพันธุ์ ซึ่งมีข้อสังเกตได้ในตัวเต็มไว ดังนี้ คือ เพศเมียมีลักษณะลำตัวอ้วนป้อม และโตกว่าเพศผู้ลักษณะแตกต่างที่เห็นได้ชัด คือ ในปลาเพศเมียจะมีติ่งเพศ เมื่อบีบท้องแรงๆ จะมีติ่งเพศยื่นออกมา ในปลาเพศผู้จะไม่มีลักษณะดังกล่าว ลักษณะของช่องเพศ ปลาเพศเมียเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีเยื่อวุ้นปกคลุมช่องเพศ ท้องจะอูมเป่งและนิ่ม ช่องเพศและติ่งเพศจะขยายตัวมีสีแดงเรื่อๆ เพศผู้ ถ้ากดเบาๆ ตรงส่วนท้อง จะมีน้ำเชื่อสีขาวไหลออกมา เมื่อคัดเพศแล้วทำการผสมพันธุ์ โดยการฉีดฮอร์โมนกระตุ้นการวางไข่ ดังนี้
เพศเมีย ทำการฉีด 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 ใช้ซุปรีแฟกค์ (Superfact) ความเข้มข้น 25 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ร่วมกับโมทีเลี่ยม (Motilium) 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พักไว้ 6 ชั่วโมง แล้วจึงฉีดเข็มที่ 2
 ครั้งที่ 2 ใช้ซุปรีแฟกค์ความเข้มข้น 50 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ร่วมกับโมทีเลี่ยม 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
เพศผู้ทำการฉีดเพียงครั้งเดียว
 โดยฉีดพร้อมเพศเมีย เข็มที่ 2 โดยใช้ซุปรีแฟกค์ความเข้มข้น 20 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ร่วมกับโมทีเลี่ยม 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
 นำพ่อแม่พันธุ์ที่ฉีดฮอร์โมนเรียบร้อยแล้ว ปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลงในถังเดียวกันเพื่อให้ผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติ โดยมีพู่ฟางไว้สำหรับให้ไข่ติด และแยกพ่อแม่พันธุ์ปลาหลดออกในตอนเช้า และนำไข่ไปพักในบ่อฟักต่อไป ลูกปลาหลดจะฟักออกเป็นตัวภายใน 40 – 48 ชั่วโมง

การอนุบาลลูกปลาหลด
การอนุบาลลูกปลาหลดมีผู้ศึกษาไว้น้อยมากและศึกษามานานแล้ว ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาพบว่าอาหารที่เหมาะสมสำหรับการอนุบาลลูกปลาหลดที่อายุ 1 – 14 วัน ควรให้ไรแดงจะมีการเจริญเติบโตและมีอัตราการรอดดีที่สุด หลังจากนั้นจะให้ไรแดง หนองแดง หรือไส้เดือนเป็นอาหาร
การเลี้ยงปลาหลด
การแปรรูปลาหลด
การเลี้ยงปลาหลดสามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดินและบ่อซีเมนต์ หากเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ควรมีขนาด 4 x 4 เมตร ความสูงประมาณ 50 – 70 เซนติเมตร ผิวบ่อฉาบให้เรียบ และทำให้ลาดเอียง ปริมาณครึ่งบ่อเพื่อให้ทรายปนดินเหนียวไว้ก้นบ่อ ใส่ผักบุ้งไว้ส่วนหนึ่งไม่ต้องมากนัก ความสูงของน้ำให้ท่วมบริเวณดินทราย ประมาณ 40 เซนติเมตร ปล่อยปลาขนาดความยาว 3 – 4 นิ้ว จำนวน 2,000 – 2,500 ตัว ควรวางโพรงไม่ไผ่หรือท่อน้ำเก่าๆ ให้ปลาได้หลบอาศัยในการเลี้ยงในบ่อดิน ต้องมีการเตรียมบ่อที่ดีเช่นเดียวกับการเลี้ยงปลาชนิดอื่น อาจมีการกันบนขอบบ่อโดยการใช้มุ้งเขียวล้อมรอบไว้ อาหารในการเลี้ยง คือ หอยเชอรี่ นำมาทุบแล้วสับให้ละเอียดนำไปวางไว้บริเวณชายพื้นรอยต่อทรายกับปูนซีเมนต์ กองไว้ให้อาหาร 2 – 3 วัน เมื่อเหยื่อเริ่มเน่า ปลาหลดจะเข้ามากิน และอาจกินตั้งแต่สดๆได้ พิจารณาดูว่าปลากินเหยื่อหมดใน 2 – 3 วันหรือไม่

อาหารปลาหลด
 จะให้เหยื่อในการเลี้ยงเช่นเดียวกับปลาไหล คือ เหยื่อหลักดังนี้

 1. หอยเชอรี่ นำมาทุบแยกเปลือกเนื้อหอยแล้วสับให้ละเอียด นำมาวางไว้บริเวณชายพื้นรอยต่อทรายกับผิวปูนซีเมนต์ กองไว้ให้อาหาร 2 – 3 ครั้ง เมื่อเหยื่อเริ่มเน่าปลาหลดจะเข้ามากิน และอาจกินตั้งแต่สดๆ ได้ พิจารณาว่าปลาหลดกินเหยื่อหมดใน 2 – 3 วันหรือไม่ ถ้าหมดควรเพิ่มให้ ถ้าเหลือควรลดลง พยายามอย่ากระทบกระเทือนปลาจะตกใจหนี

2. ไส้เดือน จะเป็นอาหารที่ปลาหลดโปรดปรานมากที่สุด เมื่อนำไส้เดือนให้ จะให้ช่วงเย็น – ค่ำ พอไส้เดือนเคลื่อนตัวตามผิวทราย ปลาหลด 1 ตัวจะกินไส้เดือน 1 – 2 ตัว ก็จะอิ่ม และมีลักษณะความสมบรูณ์ของตัวปลามาก เช่น ปลาจะอ้วน เกล็ดเป็นเงางาม
3. ระยะเวลาของการเลี้ยง ปลาหลดเป็นปลาที่จัดว่าโตเร็ว การเลี้ยงจะใช้เวลา 6-7 เดือน ก็จะได้ขนาดที่จำหน่ายประมาณ 30 – 40 ตัวต่อกิโลกรัม และอายุ 1 ปีขึ้นไปก็จะให้เป็นพ่อแม่พันธุ์ได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.oknation.net/blog/surapinyo
ภาพประกอบ :  เวปสนมดอทบล็อกสปอต และ จากอินเตอร์เน็ต

วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556


สาคู
เมื่อกล่าวถึงต้นสาคู มีคนจำนวนมากที่ไม่รู้จัก หรือไม่เคยเห็น แต่ก็มีมากที่เคยได้ยิน และรู้จัก และมีความรู้แตกต่างกันออกไป บางคนนึกถึงต้น สาคูที่เป็นต้นไม้ยืนต้น เป็นต้นไม้ประเภทปาล์ม คล้ายต้นมะพร้าว ใช้ส่วนของลำต้นนำมาทำเป็นเม็ดสาคู หรือแป้งสาคู เมื่อสมัยนานมาแล้ว เนื่องจากต้นไม้ชนิดนี้มีจำนวนน้อย ไม่มีการปลูกเพิ่มขึ้น ปริมาณการผลิตเม็ดสาคูจาก "ต้นสาคู" (sago palm) จึงลดน้อยลงและหมดไป และหันมาผลิตสาคูจากแป้งมันสำปะหลังแทน จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ เม็ดสาคูผลิตจากแป้งมันสำปะหลังทั้งสิ้น ต้นสาคู ที่กล่าวนี้เป็นไม้ยืนต้น จึงไม่จัดเป็นพืชหัว และจะไม่นำมากล่าวในที่นี้

สาคูที่จะกล่าวในที่นี้ หมายถึง ต้นสาคูที่เป็นพืชหัวชนิดหนึ่ง เนื่องจากเราใช้หัวเป็นประโยชน์ ไม่ใช่ต้นสาคูที่เป็นต้นไม้ประเภทปาล์ม ที่เรียกว่าต้นสาคู ประโยชน์ที่สำคัญคือ เป็นอาหาร แป้งที่ได้จากหัวสาคูนี้ เป็นแป้งในรูปของคาร์โบไฮเดรตที่บริสุทธิ์ที่สุดชนิดหนึ่ง เป็นแป้งที่มีความเหนียวมาก ย่อยง่าย เป็นที่นิยมในตลาดโลก มีราคาแพงกว่าแป้งชนิดอื่น มีหลายประเทศที่สามารถผลิตแป้งสาคูได้มาก จนสามารถส่งเป็นสินค้าออกทำเงินให้แก่ประเทศปีละมากๆ ประเทศไทยใช้สาคู เพื่อการบริโภคภายในประเทศ และมีปริมาณไม่มากนัก ถ้ามีการผลิตแป้งจากสาคู เพื่อการค้าได้ จะทำให้สาคูเป็นพืชที่มีความสำคัญมากขึ้น
ประเทศไทยไม่มีสถิติเกี่ยวกับการปลูก การผลิต การค้า แต่เซนต์วินเซนต์ (St. Vincent) ส่งออก ในปี พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๑๐ ปีละ ๒,๐๘๗ ตัน บราซิล ส่งออกในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ปีละ ๑๓๙ ตัน

ราคาแป้งสาคูในตลาดโลกประมาณตันละ ๕,๐๐๐ บาท
ประวัติความเป็นมาและแหล่งปลูก
สาคูมีชื่อภาษาอังกฤษว่า แอร์โรว์รูต (Arrow- root) และยังมีชื่ออื่นๆ นอกเหนือไปจากนี้อีก ได้แก่ เวสต์อินเดียน แอร์โรว์รูต (West Indian arrow root) เบอร์มิวดา แอร์โรว์รูต (Bermuda arrowroot) เซนต์วินเซนต์ แอร์โรว์รูต
สาคูเป็นพืชดั้งเดิมของอเมริกาเขตร้อน แต่ปลูกเป็นล่ำเป็นสันที่หมู่เกาะอินเดียตะวันตก และที่เซนต์ วินเซนต์ ซึ่งผลิตสาคูได้มากคิดเป็น ๙๔ เปอร์เซ็นต์ของตลาดโลก โดยเฉพาะที่เซนต์ วินเซนต์ นั้น ผลิตสาคูได้ปีละประมาณ ๙๘๐-๓,๘๐๖ ตัน บราซิล อีกประเทศหนึ่งที่ปลูกสาคูเป็นการค้า แต่ละปีผลิตได้ประมาณ ๔,๐๐๐ ตัน นอกจากนี้ก็มีปลูกอยู่ทั่วๆ ไปในอินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยประชาชนรู้จักต้นสาคูกันมานานแล้ว จนคิดว่า คงจะเป็นพืชที่ขึ้นอยู่ดั้งเดิมนานมาแล้ว ปัจจุบันมีการปลูกสาคูเป็นสวนครัวรายละเล็กละน้อย ยังไม่มีการปลูกกันเป็นล่ำเป็นสัน แหล่งที่ปลูกสาคูมาก ได้แก่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เช่น จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น เป็นต้น

ลักษณะทั่วไป
สาคูเป็นพืชที่มีอายุอยู่ได้หลายฤดูฝน ลักษณะ ใบคล้ายใบคล้า ต้นคล้ายต้นขิง ต้นสูง ๖๐-๑๘๐ ซม. ขึ้นอยู่เป็นกอ หัวเล็กยาว แผ่กว้างลึก อีกชนิดหนึ่ง ต้นและใบคล้ายพุทธรักษา หัวสั้นใหญ่ มีหัวน้อย อยู่ไม่ลึก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
สาคูมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า แมรันตา อะรันดินาซี แอล (Marantaarundinacea L.) อยู่ในตระกูล แมรันเตซี (Marantaceae) เป็นพืชเนื้ออ่อนมีอายุอยู่ได้หลายฤดู มีหัวซึ่งเกิดจากลำต้นใต้ดิน โดยหัวขยายตัวอยู่ใต้ระดับดิน หัวใหญ่กลม ยาว ขนาดของหัว ๒.๕ ซม. ยาว ๒๐-๔๕ ซม. ใบเป็นชนิดแลนซิโอเลต (lanceolate) เหมือนใบคล้า ดอกสีขาว เป็นช่อแฝด เมล็ดสีแดง แต่ไม่ค่อยติดเมล็ด
ชนิด
แบ่งตามลักษณะหัวมีอยู่ ๒ ชนิด ชนิดหัวเล็กยาว แผ่กว้าง และหยั่งลงในดินลึก เรียก เครโอล (creole) ชนิดหัวสั้นใหญ่ หัวไม่มาก หัวอยู่ไม่ลึก เรียก แบนานา (banana)



ความจริงแล้วพืชทึ่มีชื่อภาษาอังกฤษว่า แอร์โรว์รูต ที่จัดเป็นชหัวยังมีอีก ๒ ชนิด
ชนิดแรกได้แก่ ควีนส์แลนด์ แอร์โรว์รูต (Queensland arrowroot) และมีชื่ออื่นอีก คือ ออสเตรเลียน แอร์โรว์รูต (Australian arrowroot) เอดิเบิล แคนนา (edilbe canna) เพอร์เพิล แอร์โรว์รูต (purple arrowroot) ไทยเราเรียกว่า "สาคูจีน" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า แคนนา เอดูลิส (Canna edulis) เคอร์-กัล (Ker-Gawl) อยู่ในตระกูล แคนนาซี (Cannacean) เป็นพืชพวกเดียวกับพุทธรักษา มีลักษณะต้น ใบ เหมือนพุทธรักษา แต่ดอกเล็กกว่า หัวคล้ายหัวข่า รับประทานได้ เหมือนสาคูธรรมดา ที่กล่าวข้างต้น
นอกจากสาคูที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ยังมีสาคูอีกชนิดหนึ่งได้แก่ อิสต์ อินเดียน แอร์โรว์รูต (East Indian arrowroot) มีชื่ออื่นอีก เช่น โพลิเนเชียน แอร์โรว์รูต (Polynesian arrowroot) ทัคคา (tacca) ฯลฯ ไทยเรียกว่า "สาคูจีน" มีชื่อวิทยา ศาสตร์ว่า ทัคคา เลออนโทเพทาลอยด์ แอล คุนทซ์ (Tacca leontopetaloides (L) Kuntze) อยู่ในตระกูล ทัคคาซี (Taccaceae) จึงได้นำมากล่าวไว้ เพื่อป้องกันการสับสน
ฤดูปลูก
สาคูขึ้นได้ในที่ที่มีฝน ๑,๕๐๐-๒,๐๐๐ มม. จึงควรปลูกในเวลาที่มีน้ำ หรือสามารถให้น้ำได้เพียงพอ ตลอดอายุการเจริญเติบโต สาคูชอบอากาศร้อนและชื้น ฤดูปลูกที่เหมาะสม ได้แก่ ฤดูฝน
การเลือกที่และการเตรียมดิน
สาคูชอบที่ที่มีการระบายน้ำดี ดินเป็นกรดน้อยๆ ร่วนและลึก สามารถขึ้นได้ดีตั้งแต่ระดับ น้ำทะเล จนถึงความสูงประมาณ ๙๐๐ เมตร เตรียมดินโดยไถ และพรวนดินให้ร่วน ขุดหลุมลึก ๑๐-๑๕ ซม. ระยะหลุมห่างกัน ๓๕-๔๐ ซม. ปลูกเป็นแถวระยะระหว่างแถว ประมาณ ๗๕ ซม.
วิธีปลูก
โดยทั่วไปปลูกจากหัว โดยตัดเป็นท่อนสั้นๆ ยาวประมาณ ๕ ซม. บางทีก็รมควันหัวเสียก่อน เพื่อให้งอกเร็วขึ้น บางครั้งก็ปลูกด้วยหน่อ (sucker) บางรายขุดเก็บหัวสาคูจากต้นแก่เท่านั้น ทิ้งต้นอ่อน ที่เกิดจากหน่อให้เติบโตต่อไป ไม่ต้องปลูกใหม่
เริ่มปลูก เมื่อต้นฤดูฝน วางหัวที่เตรียมไว้ในหลุม ความลึกของหลุมประมาณ ๑๐-๑๕ ซม. กลบด้วยดิน ถ้าใช้ระยะปลูก ๗๕-๘๐ ซม. หัวที่ใช้เป็นพันธุ์ปลูกจะต้องมีจำนวนหนักประมาณ ๔๘๐ -๕๖๐ กก./ไร่
การกำจัดวัชพืช
หลังจากปลูก ควรดูแล อย่าให้มีวัชพืชแย่งอาหารต้นสาคู โดยกำจัดวัชพืช เมื่อต้นสาคูอายุ ๓-๔ เดือน เมื่อต้นสาคูออกดอก ต้องคอยเด็ดทิ้งทันที เพื่อให้อาหารไปเลี้ยงหัวให้โตขึ้น แทนที่จะไปเลี้ยงดอกและเมล็ด
การใส่ปุ๋ย
การปลูกสาคูในต่างประเทศ ใช้ปุ๋ยผสม เกรด ๘-๕-๑๔ ในอัตราประมาณ ๑๔๐ กก./ไร่ เมื่ออายุประมาณ ๓ เดือนครึ่ง คนไทยปลูกสาคู โดยไม่ใส่ปุ๋ยเคมี อาจจะใส่ปุ๋ยคอกบ้างเล็กน้อย
โรคและแมลง
ต้นสาคูไม่มีโรคและแมลงรบกวนมากนัก แมลงที่อาจพบ ได้แก่ หนอนม้วนใบ โรคที่พบมี โรคใบจุด ไม่ทำความเสียหายร้ายแรงนัก
การเก็บและรักษา
สาคูมีอายุประมาณ ๑๐-๑๑ เดือน สังเกต ได้โดยใบเริ่มเหี่ยวตาย จึงเก็บ โดยขุดและเก็บด้วยมือ ตัดแยกหัวออกจากต้นและใบ ผลผลิตของหัวสาคูมีประมาณ ๒,๐๐๐ กก./ไร่ เมื่อขุดขึ้นจากดินแล้ว จะเก็บหัวไว้ได้ไม่นาน จะต้องใช้ภายใน ๒-๗ วัน
ประโยชน์
แป้งสาคูนับเป็นคาร์โบไฮเดรตที่บริสุทธิ์ที่สุดในบรรดาคาร์โบไฮเดรตที่ได้จากธรรมชาติ และมีความเหนียวสูงสุด
ส่วนใหญ่ใช้หัวทำแป้ง ซึ่งเป็นแป้งที่ย่อยง่ายมาก ส่งออกสู่ตลาดเป็นแป้งผง สีขาว เรียก "แป้งสาคู" นิยมใช้เป็นอาหารทารก และทำอาหารอย่างอื่น เช่น ขนมปัง ขนมต่างๆ แพทย์ให้คนป่วยด้วยโรคลำไส้รับประทานแป้งสาคู นอกจากนี้ เราใช้แป้งสาคูทำ "ผงแบเรียม" (barium meals) และใช้ในอุตสาหกรรมยา ทำแป้งผัดหน้า ทำกาว และทำกระดาษที่ใช้กับคอมพิวเตอร์

หัวสาคูใช้เป็นอาหาร โดยต้มหรือเผาเสียก่อน หัวสดนำมาโม่จะได้แป้งสาคูใช้ทำขนมได้ดี ใบและต้นสาคูใช้ในการบรรจุหีบห่อได้ กากที่เหลือจากการทำแป้งแล้วใช้เป็นอาหารสัตว์ และทำปุ๋ย
คนไทยต้มหรือนึ่งสาคูรับประทานเป็นของหวาน แต่ปริมาณสาคูที่ใช้เป็นของหวานมีไม่มากนัก


ขอขอบคุณแหล่งที่มา http://kanchanapisek.or.th

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


  หลายคนอาจจะรู้จักดอกสลิด หรือดอกขจร เพราะหลายพื้นที่นิยมนำมาทำอาหารบริโภคทั้งแบบสดและลวกให้สุก และหลายครัวเรือนก็ทราบดีว่าดอกขจรนั้นมีสรรพคุณทางยาด้วย อาทิ ยอดอ่อน ดอก ลูกอ่อน บำรุงธาตุ บำรุงตับ ปอด แก้เสมหะเป็นพิษ รากทำให้อาเจียนถอนพิษเบื่อเมา ทำให้ปัจจุบันดอกขจรกลายเป็นสินค้าที่มีราคา บางช่วงอาจถึงกิโลกรัมละ 200 บาท
    ดอกขจรมักพบขึ้นอยู่ในป่าธรรมชาติที่เป็นป่าดิบแล้งและป่าละเมาะทั่วไป เพราะขึ้นง่ายในดินทุกชนิด มีนิสัยชอบแดด เลื้อยไปตามต้นไม้ใหญ่ ส่วนวิธีการปลูกที่ชาวบ้านนิยมกันก็คือการชำกิ่ง โดยเตรียมดินเพาะชำเป็นแกลบเผา 2 ส่วน ดินร่วน 2 ส่วน ปุ๋ยหมัก 1 ส่วน ผสมคลุกเคล้าในเข้ากัน ใส่ถุงแล้วนำกิ่งที่ไม่อ่อนและไม่แก่เกินไปมี 2-3 ข้อ เอาด้านโคนชุบน้ำยากันเชื้อราแล้วปักลงไปถุง รดน้ำให้ชุ่มพักในที่ร่ม เมื่อแตกตากิ่งหรือตายอดยาว 1 คืบ ก็ย้ายไปปลูกในแปลง
    อีกวิธีก็คือการตอน ใช้ขุยมะพร้าวแช่น้ำไว้ 1 คืน ใส่ถุงพลาสติกมัดหนังยางไว้เพื่อเป็นถุงตอนหลายๆ ถุง เวลาตอนให้กรีดถุงด้านหนึ่งแล้วนำไปหุ้มตรงข้อของเถาขจร มัดให้แน่น ให้ตอนข้อเว้นสองข้อ ประมาณย 20 วันก็ออกราก
 ส่วนการเตรียมดินเพื่อปลูก เริ่มจากไถพรวนแล้วย่อยให้ละเอียด ยกร่องแปลงกว้าง 6-4 เมตร ยาวไม่จำกัด ระยะห่างระหว่างแปลง 80 ซม. ใช้ระยะปลูก 2x2 เมตร 1 แปลงปลูกได้ 2 แถว แล้วทำซุ้มเข้าหากัน ขุดหลุมลึก 30-50 ซม. ถ้าดินไม่ดีให้ขุดหลุมใหญ่ใส่ปุ๋ยคอกลงไปให้มาก ดินดีใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หลุมละ 1 ช้อนแกง นำกิ่งชำหรือกิ่งตอนที่มีรากแข็งแรงลงปลูก เกลี่ยดินกลบโคนให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม ใน 1 หลุมปลูก 3-4 กิ่ง จะทำให้เจริญเติบโตแผ่กระจาย และยอดจะเลื้อยขึ้นค้างได้อย่างพอเหมาะ รดน้ำวันละครั้ง หรือตามสภาพความชื้นของดิน หลังจากนั้น 1 เดือนขึ้นไปจะเริ่มออกดอก ตัดเถาที่ไม่สมบูรณ์หรือแมลงรบกวนทิ้ง ดูแลอย่าให้แน่นหรือทึบเกินไป
    การทำค้างก็ใช้ไม้ไผ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-6 นิ้ว ทำเป็นเสาหลัก 2 เสา ปักห่างกัน 2 เมตร สูงจากพื้นดิน 1.50 เมตร ปักตามแนวยาวของแปลง และระหว่างเสาหลักจะใช้ไม้ไผ่เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 นิ้ว
ปักแล้วใช้ไม้ไผ่ผ่าซีกผูกเป็นขั้นบันได 5-6 ขั้น ให้เป็นทางสำหรับยอดขจรเลื้อยขึ้นไป จะเป็น 1 ซุ้มเว้นทางเดินประมาณ 80 ซม. แล้วทำซุ้มต่อไปตามความต้องการก็ได้ ซึ่งจะช่วยให้การแตกยอดดี
    สำหรับการให้ปุ๋ยนั้นควรให้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักใส่ที่โคนต้นได้เรื่อยๆ ส่วนปุ๋ยเคมีใช้สูตร 15-15-15 สลับกับ 25-7-7 เดือนละ 2 ครั้ง และหลังการตัดแต่งกิ่ง ซึ่งถ้าดูแลดีดอกก็จะดกและโตมากกว่าปกติ ที่สำคัญต้องตัดแต่งกิ่งที่แก่ออกอยู่เสมอ เพื่อให้แตกยอดใหม่ออกมาเรื่อยๆ ส่วนมากจะตัดแต่งกิ่งช่วยเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน เพราะช่วงนี้จะออกดอกน้อย จะตัดอย่างหนักเอาไว้เฉพาะส่วนที่ลำต้นตั้งตรงขึ้นไป และต้องแบ่งแปลงไว้เพื่อให้มีแปลงที่เก็บดอกได้ เพราะช่วงนี้จะขายได้ราคาดี หลังตัดแต่งกิ่ง 2-3 สัปดาห์ก็จะแตกยอดใหม่มีดอกให้เก็บได้เรื่อยๆ หลายปี และยืดอายุต้นขจรได้อีกนาน การตัดนั้นให้ตัดสูงจากพื้นดิน 25 ซม. แต่ละหลุมไม่ควรตัดหมด ให้เหลือไว้ต้นละ 1 หลุม จากนั้นก็รดน้ำให้ปุ๋ยตามปกติ 3-4 เดือน ก็ให้ดอกอีกมาก
    ต้นขจรจะให้ดอกหลังจากย้ายปลูกได้ 30 วัน และจะให้ผลผลิตมากที่สุดช่วงอายุ 8-10 เดือน โดยเฉพาะในช่วงเดือน พ.ค.-ก.ค. ผลผลิตจะเริ่มลดลงในเดือน พ.ย.-ธ.ค. เพราะเป็นช่วงฤดูหนาว เมื่อเก็บช่อดอกแล้วนำไปล้างน้ำ 2 ครั้ง ก่อนคัดแยกดอกบานไว้ต่างหาก ดอกตูมจะขายได้ราคากว่าดอกบาน โดยบรรจุถุงละ 1 กก. เพื่อจำหน่ายต่อไป.


ขอขอบคุณ : รักบ้านเกิดดอทคอม

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

“ตุ๊กแกบ้าน”  (Gekko   gecko)  หรือที่ชาวจีนเรียกว่า กาบก่าย มีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทยและกระจายอยู่ในประเทศอินเดียตอนเหนือ จีนตอนใต้ ลาว เขมร มาเลเซีย อีกทั้งมีการนำเข้าไปขยายพันธุ์ในรัฐฮาวาย ฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา บางเกาะในทะเลแคริเบียน โดยบริเวณที่มันชอบอยู่อาศัยจะเป็นบริเวณพื้นที่แถบป่าไม้ ตามบ้านเรือนที่เป็นมุมมืดปราศจากการรบกวน  ในบางครั้งยามที่แดดอ่อนก็จะออกมารับแสงบ้าง  กระทั่งบางคนบอกว่า  พวกมันเป็นสัตว์ที่ อาบแดดกลางวัน อาบแสงจันทร์กลางคืน…
ตุ๊กแกที่โตเต็มวัย.
แล้วเมื่อฟ้าสลัวพลบค่ำ   จึงออกมาเกาะผนังเฝ้า “รอคอย” จับเหยื่ออย่างพวกแมลงต่างๆ อาทิ แมลงเม่า อันเป็นเมนูสุดโปรด แมลงสาบ  ตั๊กแตน  จิ้งหรีด  ด้วง  มอด มด  ผีเสื้อ  หนอน  แมงป่อง  ตะขาบ หนู ที่ส่วนใหญ่เป็นสัตว์จำพวกแมลงศัตรูพืชเป็นอาหารขณะยังมีชีวิต รวมทั้ง “คราบ” ที่ลอกของมันเอง…   ลักษณะลำตัวของ “ไอ้ตีนกาว” โดยทั่วๆไปจะเป็นรูปทรงกระบอก   ค่อน ข้างแบน   หัวมีขนาดใหญ่กว่าลำตัว ดวงตากลมโปน   ม่านตาปิดเปิดแนวตั้ง เปลือกตาเชื่อมกันและโปร่งแสง  ผิวหนังสีเทาแกมฟ้า มีจุดสีส้ม   เทาและขาวกระจายตลอดทั้งตัว สีผิวจะจางหรือเข้มนั้นขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ทั่วทั้งตัวมีเกล็ดเป็นตุ่มลักษณะนุ่มมือเมื่อสัมผัส
ใต้นิ้วเท้า แต่ละนิ้วมีแผ่นบางๆเรียงซ้อนกัน แต่ละแผ่นมี setae ซึ่งเป็นเซลล์ขนาดเล็กทำหน้าที่ยึดติดพื้นผิวเรียบ บริเวณปลายนิ้วจะมีเล็บช่วยเกาะเกี่ยวในการปีนป่าย ในวัยเล็กหางจะมีแถบสีฟ้าสลับขาว โตเต็มที่ตัวผู้นอกจากขนาดลำตัวยาวกว่าแล้ว  โคนหางจะอวบและใหญ่กว่าตัวเมีย  โดยมันจะใช้อวัยวะส่วนนี้เคาะพื้นผนังเพื่อสร้างอาณาเขต  อีกทั้งส่งสัญญาณบอกพวกพ้องเมื่ออยู่ในภาวะคับขันและยังสามารถ สลัดให้หลุดเพื่อหลอกศัตรูตัวฉกาจอย่าง “เหมียว” ให้หลงกลได้อีกด้วย  หากมันมีชีวิตรอดเพียง  3  สัปดาห์  ปลายหางก็จะงอกขึ้นมาใหม่แต่ไม่ดูดีดังเดิม
ส่วนการขยายเผ่าพันธุ์ โดยปกติจะเป็นช่วงฤดูหนาว ซึ่ง ตัวผู้จะส่งเสียงร้อง “ตุ๊ก–แก” เพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม หลังเสร็จสิ้นภารกิจตัวเมียจะหาที่วางไข่
(บริเวณเดียวกันได้หลายแม่)  ลักษณะเปลือกไข่จะหนาติดเกาะแน่นกับผนัง รูปร่างรี สีขาว ปริมาณ 1-2 ฟอง/ครั้ง โดยใช้เวลาวางไข่ ประมาณ 4-5 เดือน
ช่วง นี้ทั้งคู่มีนิสัยค่อนข้างดุ ออกหากินไม่ห่างจากพื้นที่ แล้วอีก 60-200 วัน ตัวอ่อนจะออกมาสู่โลกภาย นอก ช่วงนี้จะอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว กระทั่งอายุได้ 1 ปี จึงเริ่มออกสร้างอาณาเขตแล้วเข้าสู่วงจรขยายเผ่าพันธุ์อีกครั้ง
แม้ ว่าการใช้ชีวิตโดย รวมของพวกมันจะไม่ค่อยเป็นอันตรายต่อมนุษย์ อีกทั้งยังมีประโยชน์ช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืช   แต่ ด้วยลวดลายสีสันบนตัว บวกกับน้ำเสียงที่เวลาร้องประหนึ่งว่ากำลังเล่นลูกคอ หลายคนจึงไม่ค่อยพิสมัยในตัวมันนัก!
การเลี้ยงตุ๊กแก
 ตุ๊กแกเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นการยากที่จะเลี้ยงในลักษณะ และ รูปแบบสัตว์เลี้ยงทั่วไป  อีกทั้งตุ๊กแกก็ยังไม่มีวิธีการเลี้ยงที่แน่ชัดจากหน่วยงานของราชการ  และ ศูนย์เรียนรู้บ้านไร่ศรีสุทัศน์ได้ทำการทดลองเลี้ยงตุ๊กแก โดยเลี้ยงแบบกึ่งธรรมชาติ ซึ่งเป็นที่ได้ผลที่สุดในขณะนี้ โดยตุ๊กแกในกรงมีอัตราการขยายพันธุ์เป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง   ทางศูนย์เรียนรู้บ้านไร่ศรีสุทัศน์จึงได้นำวิธีการเพาะเลี้ยงตุ๊กแกมาเผยแพร่ เพื่อให้เกษตรกรที่สนใจ หรือ เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ที่สนใจในการเพาะเลี้ยงตุ๊กแกได้นำไปศึกษา และปรับปรุงแก้ไข เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติในโอกาสต่อไป
การเตรียมพื้นที่สำหรับเลี้ยงตุ๊กแก

พื้นที่สำหรับเลี้ยงตุ๊กแก ควรเป็นที่ไม่มีผู้คนพรุกพล่าน เพราะตุ๊กแกเป็นสัตว์ตกใจง่ายและรักสงบ ชอบอยู่ในมืดในเวลากลางวัน และเป็นพื้นที่สามารถเปิดไฟล่อแมลงได้
วัสดุ/อุปกรณ์
1   เสาไม้  3x3x2.50                                                 จำนวน            4        ต้น
2   ตาข่ายพลาสติก  2x2x250 เซนติเมตร                 จำนวน            20      เมตร
3   ไม้ไผ่ยาว     3     เมตร                                                จำนวน           20       ท่อน
4    ตะปูขนาด  2      นิ้ว                                                   จำนวน          2         กิโลกรัม
5    ชุดไฟนิออน   ควรเป็นหลอดสั้นแบบประหยัด                 จำนวน         2         ชุด
6    กระสอบ หรือ ผ้าห่มที่ไม่ได้ใช้แล้ว    สำหรับให้ตุ๊กแกหลบนอนตอนกลางวัน
7    เศษไม้กระดาน หรือ ไม้ที่มีโพรงสำหรับตุ๊กแกวางไข่
8    อ่างน้ำขนาดเล็ก                                                          จำนวน           1        ใบ
9    อ่างพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  1 เมตร                     จำนวน           1         ใบ
10   พ่อพันธุ์+แม่พันธุ์  ตุ๊กแกที่สุขภาพสมบูรณ์                      จำนวน           5         คู่
การดูแลรักษาในระยะเริ่มต้น
ในกรณีที่บางท่านอาจจับตุ๊กแกจากป่ามาเลี้ยง ทางเราจะไม่แนะนำให้ทำเพราะเป็นการทำผิดกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า  การเลี้ยงตุ๊กแกในระยะแรก ตุ๊กแกจะไม่กินอาหารเพราะตุ๊กแกยังไม่คุ้นเคยกับกรงที่เราจัดทำขึ้น  ช่วงนี้เราคอยระวังศัตรูจำพวก แมว สุนัข ที่จะมารบกวนและทำลายกรงเลี้ยง แล้วให้นำจี้งหรีดมาปล่อยลงในอ่างพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร พร้อมให้อาหารจี้งหรีดด้วยอาหารไก่เล็กอย่าลืมให้น้ำจิ้งหรีด โดยเอาฟองน้ำ หรือ สำลี ชุบน้ำให้ชุ่มวางไว้ไกล้กับอาหารลูกไก่  จากนั้นให้คอยสังเกตุตุ๊กแกว่ามีการกินแมลงในตอนกลางคืนหริอจิ้งหรีดที่ปล่อยหรือไม่อย่างไร
ปัญหาที่พบในการเลี้ยงแบบกึ่งธรรมชาติ
 ส่วนใหญ่จะพบปัญหาเกี่ยวกับ การแสดงอาณาเขตของตุ๊กแกที่มีขนาดใหญ่ เราสามารถแก้ปัญหาโดยการเพิ่มเศษไม้ ตั้งชันแยกให้ห่างกันในระยะตุ๊กแกจะกระโดดถึง เพื่อหลบและหนีได้พ้นจากตุ๊กแกที่มีขนาดใหญ่
โรคที่เกิดกับตุ๊กแก
ตลอดเวลาที่เลี้ยงมาเรายังไม่พบปัญหาเกี่ยวกับโรคระบาด หรือโรคทั่วไปแต่อย่างใด  ที่เราพบมีเพียงผิวหนังแห้งเกินไป ถ้าผิวหนังของตุ๊กแกแห้งเกินไป ตุ๊กแกจะไม่ยอมลอกคราบ จะทำให้การเจริญเติบโตช้า  ทางเราจะแก้ปัญหาโดยการฉีดน้ำเป็นละอองเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนัง
ข้อควรระวัง
1. ควรเปลี่ยนน้ำในอ่างเล็กทุกวัน   เพื่อรักษาความสะอาดและสร้างความคุ้นเคย
2. การจับตุ๊กแก ควรสวมถุงมือหนังเพื่อป้องกันเชื้อโรคในปากของตุ๊กแก
3.ไม่ควรติดหลอดไฟไว้ในกรงเลี้ยง  เพื่อป้องกันไฟช๊อตตุ๊กแก

การตลาด
ส่วนมากตลาดที่ต้องการรับซื้อจะอยู่ที่ประเทศจีน    ไต้หวัน  มาเลเซีย   ทางศูนย์ของเราเคยมีพ่อค้าจากมาเลเซียโดยตรงมาขอซื้อถึงศูนย์เรียนรู้แล้วหลายครั้ง

แหล่งข้อมูล : บ้านไร่ศรีสุทัศน์
ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555


สวัสดีค่ะ วันนี้จะนำเรื่องการเลี้ยงแมงดานามาฝากผู้เยี่ยมชมบล็อกนานาสาระเกษตรสามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำทีเดียวนะค่ะ มาติดตามกันค่ะ

เมื่อพูดถึงแมงดานา ทุกคนก็คงจะนึกถึงน้ำพริกแมงดาและก็คงจะเคยกินน้ำพริกแมงดากันมาบ้างแล้ว ปัจจุบันน้ำพริกแมงดาได้กลายเป็นสินค้าด้านอาหารที่ทำเป็นอุตสาหกรรมไปแล้ว โดยมีโรงงานผลิตน้ำพริกแมงดาบรรจุขวดออกจำหน่ายกันอย่างแพร่หลายในท้องตลาด และทำให้มีผู้บริโภคกันมากขึ้น เนื่องจากสามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน ๆ และพกพาติดตัวไปรับประทานในการเดินทางได้สะดวกอีกด้วย แมงดาเป็นวัตถุดิบที่ค่อนข้างจะหายาก การที่จะจับแมงดาที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ เพราะว่าแมงดาจะออกมาให้จับเฉพาะฤดูฝนเท่านั้น ส่วนฤดูแล้งก็จะหลบหนีไปจำศีลตามโพรงไม้ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้ที่สนใจอาชีพใหม่ ๆ ที่จะเลี้ยงแมงดาเพื่อการจำหน่ายเสริมรายได้ให้กับครอบครัว หรืออาจจะทำฟาร์มเลี้ยงเป็นอาชีพก็ได้ เพราะการเลี้ยงก็ง่าย ขายก็ได้ราคา

ขั้นตอนการเลี้ยงแมงดา
การเตรียมสถานที่
การทำบ่อสำหรับเลี้ยงแมงดานา
1. ให้เลือกเอาที่โล่งแจ้งใกล้แหล่งน้ำแต่น้ำท่วมไม่ถึง ประการสำคัญต้องเป็นสถานที่ที่ไม่พลุกพล่าน อาจจะเป็นมุมใดมุมหนึ่งสนามหลังบ้านก็ได้ เพราะบ่อเลี้ยงแมงดานาใช้พื้นที่ไม่มากนัก
ทำเลที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำจืด เช่น ท้องนา บึง หรือหนองน้ำตื้น ๆ และเป็นบริเวณที่มีแมลงชุกชุม
2. สูตรสำเร็จในการวางผังบ่อเขาว่าไม่มีด้านยาวเป็นบวกหนึ่งของด้านกว้าง ยกตัวอย่าง ขนาด 3x4เมตร หรือ 4x5 เมตร รวมพื้นที่บ่อประมาณ 20 ตารางเมตร จะสวยที่สุด สำหรับความลึกของบ่อจะอยู่ในราว 1-1.5 เมตร ไม่ควรมกหรือน้อยกว่านี้
3.พื้นที่บ่อที่ก่อจากซีเมนต์กันน้ำรั่วน้ำซึมได้นั้น ด้านข้างทั้งสี่ด้านควรลาดเททำมุม 45 องศา และตรงกลางบ่อน้ำเป็นหลุมลึกสักจุดหนึ่ง เพื่อเป็นที่รวมของเสียจะง่ายต่อการดูดกำจัดเพื่อทำความสะอาด
4. หลังจากนั้นก็หาต้นพืชเล็ก ๆ เช่น ต้นกก หญ้า หรือต้นโสน มาปลูกภายในบ่อให้ดูเป็นธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นที่วางไข่ของแมงดา
5. ใช้ไม่ไผ่หรือไม้เนื้ออ่อนปักเสารอบทั้ง 4 ด้าน และทำคานไว้ด้านบน เป็นลักษณะโรงเรือน และมุงด้วยหญ้าคาเพื่อใช้บังแดด
6. ใช้ตาข่ายตาถี่ขนาดที่แมงดาไม่สามารถบินหนีออกไปได้มาขึงไว้โดยรอบทุก ๆ ด้าน รวมทั้งด้านบนด้วย
7. ในโรงเรือนหาโพรงไม้เลื่อยออกเป็นท่อน ๆ นำมาแขวนไว้ประมาณ 4-5 ท่อน เพื่อใช้เป็นที่อาศัยของแมงดา
8.ขาดไม่ได้ คือ ชานบ่อโดยรอบให้กว้างประมาณ 1 เมตร ส่วนนี้ไม่ต้องเทซีเมนต์แต่ปล่อยทิ้งไว้เป็นดิน เพื่อที่เราจะปลูกต้นไม้น้ำใช้เป็นที่พักอาศัยของแมงดานาได้บ้างอาจจะปลูกต้นกก ผักบุ้ง หรืออะไรก็ได้ที่คิดว่าเลียนแบบธรรมชาติได้มากที่สุดนั่นแหละ นอกจากนี้บ่อเลี้ยงต้องขึงตาข่ายตาไม่ใหญ่กว่า 1 ซม. ป้องกันไม่ให้แมงดานาบินหนี หรือมีหนูเข้าไปลักกินแมงดานาส่วนหลังคาต้องกันแดดกันฝนได้ดี
9.จากทำบ่อ และบ่มจนน้ำหมดกลิ่นปูนเรียบร้อยแล้ว ก็จัดการปล่อยพ่อแม่พันธุ์แมงดานาลงไปได้เลย โดยน้ำที่ใส่ต้องเป็นน้ำสะอาดจากน้ำคลองที่สูบขึ้นมาพักจนตกตะกอนดีแล้วจะดีที่สุด ใส่น้ำให้ได้ระดับความลึกประมาณ 70-80 ซม. แล้วปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลงไปในอัตรา 50 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร สัดส่วนของตัวผู้กับตัวเมียตามตำราเขาว่า 1 ต่อ1 ดีที่สุด แต่ที่นี้ราคาแมงดานาตัวผู้เป็น ๆ นั้นค่อนข้างจะแพงเอาเรื่อง ดังนั้นสัดส่วน 1 ต่อ 5 ก็น่าจะได้ผลดีพอสมควร


การปล่อยแมงดาลงบ่อเพาะเลี้ยง
แมงดาที่ใช้สำหรับเป็นพ่อแม่พันธุ์จะต้องมีประมาณ 15-20 คู่ อาจจะจับมาจากธรรมชาติหรือซื้อมาจากตลาดก็ได้ แล้วนำมาปล่อยลงบ่อเพาะเลี้ยง เพื่อใช้ในการขยายพันธุ์ต่อไป
อาหารที่ให้แมงดากิน
มีลูกกบ เขียด กุ้ง ปู ปลา และสัตว์น้ำอื่น ๆ
การวางไข่และการผสมพันธุ์
ฤดูที่แมงดาจะออกแพร่พันธุ์ จะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือเข้าหน้าฝน หรือฝนตกพรำ ๆ แมงดาจะวางไข่ตามกอหญ้า หรือต้นไม้ขนาดเล็ก ตัวเมียปล่อยวุ้นออกมายึดไข่กับกิ่งไม้หรือกอหญ้า วางไข่เป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีประมาณ 100-200 ฟอง การวางไข่เหนือผิวน้ำ ประมาณ 3-5 นิ้ว ขึ้นอยู่กับระดับน้ำในแต่ละปี คือ ถ้าปีใดน้ำมากจะไข่ไว้สูง ถ้าปีใดน้ำน้อยจะไข่ไว้ต่ำ เมื่อวางไข่แล้วตัวผู้จะคอยดูแลไข่ จนกว่าตัวอ่อนจะฟักออกจากไข่ และหากินเองได้
การเจริญเติบโตของแมงดาเป็นไปโดยการลอกคราบ แมงดาจะลอกคราบรวมทั้งหมดห้าครั้ง จึงจะเป็นแมลงมีปีกโดยสมบูรณ์ และสามารถบินได้ แมงดาจะเจริญเติบโตเมื่ออายุประมาณ 3 เดือน ขนาดลำตัวจากหัวถึงปลายปีกยาวประมาณ 7 เซนติเมตร และส่วนท้องจะกว้างประมาณ 2.6 เซนติเมตร เป็นขนาดที่ตลาดต้องการและจับขาย

จัดการเก็บไม้น้ำ โพรงไม้ ขอนไม้ หรืออะไรที่ลอยน้ำเป็นที่ยึดเกาะของแมงดานาออกจากบ่อให้หมด โดยนำไม้ไผ่หรือกิ่งไม่แห้ง ๆ ใส่ลงไปแทนที่ทิ้งไว้แบบนี้ 3-4 วันก่อนเปลี่ยนใส่น้ำเข้าไปใหม่ในระดับเดิมคือ ประมาณ 80 ซม. หรือเกือบเต็มบ่อก็ได้ จากนั้นเก็บไผ่กิ่งไม้ออกใส่ลูกบวบลงไปแทน โดยลูกบวบนี้ทำจากท่อนกล้วยยาวท่อน 1 เมตร ที่ถ่วงน้ำหนักให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของท่อนกล้วยจามน้ำด้านนี้เสทอ ส่วนด้านบนที่ไม่จมน้ำปักด้วยซี่ไม้ไผ่ปรือไม่เสียบลูกชิ้นยาวงคืบกว่า ๆ เป็นแถว กะว่าแต่ละอันห่างกันประมาณ 10 ซม. แมงดานาจะขึ้นมาวางไข่ตามไม้ที่ปักไว้นี้ หลังจากนี้ประมาณ 3-4 วัน ไปแล้ว ซึ่งเมื่อเห็นแมงดานาวางไข่จนหมด นอกจากนี้แล้วแมงดานาตัวเมียจะวางไข่ได้อีก 2-3 ครั้ง ในแต่ละช่วงปีห่างกันครั้งละ ประมาณ 1 เดือน

ดังนั้น หากเราต้องการมีแมงดานาขายอย่างต่อเนื่องแล้วอาจจะต้องลงทุนทำบ่อไว้หลายบ่อโดยใช้วิธีย้าย เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์หลังจากวางไข่ผสมพันธุ์แล้วจะดีกว่า เพราะสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเช่นนี้จะเร่งให้มันผสมพันธุ์วางไข่เร็วขึ้น โดยพ่อแม่พันธุ์แต่ละรุ่นเขามักนิยมใช้กันแค่ปีเดียวคือวางไข่ได้ 2-3 ครั้งก็จับขาย แล้วเลือกคัดเอาบรรดาลูก ๆ รุ่นใหม่เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป




แมงดาไม่จำเป็นต้องดูและให้ยุ่งยากเหมือนสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ เพียงแค่ดูแลเรื่องอาหารของลูกแมงดาให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการก็พอ เนื่องจากลูกแมงดาในระยะแรกค่อนข้างจะกินจุ ส่วนแมงดาที่มีขนาดโตและบินได้แล้วก็จะจับแมงกินเองได้ แต่ในฤดูแล้งแมงดาจะไม่กินอาหาร ดังนั้นการเลี้ยงแมงดาจึงไม่ค่อยจะมีปัญหาอะไรมากนัก

เทคนิคการเลี้ยง
ตามปกติแล้วลูกแมงดานาจะฟ้าออกจากไข่หลังจากนี้ประมาณ 8-10 วันโดย 2 วัน แรกจะไม่กินอาหาร แต่วันที่ 3-4 จะต้องให้อาหารจำพวกลูกอ๊อด (ลูกอ๊อดคางคกให้ไม่ได้เพราะเมื่าอแมงดานากินแล้วจะตาย) หรือปลาซิว ลูกกุ้ง ระยะนี้ลูกแมงดานาจะกินอาหารมาก เราจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนถ่านน้ำบ่อยครั้ง โดยต้องระวังอย่าให้ลูกแมงดานายังเล็ก ๆ จะมีจุดหนึ่งที่ต้องระวังให้ลูกแมงดาติดมากันเศษอาหารหรือน้ำเสียด้วยการปิดปากท่อด้วยตะแกรงให้ดีเสียก่อน

เรื่องอาหารของลูกแมงดานานี้ ยังไม่มีข้อสรุปว่าอะไรดีที่สุด และจะให้ในปริมาณมากน้อยแค่ไหน วิธีสังเกตมีอยู่อาหารที่ใส่เลี้ยงนั้นหากพบว่าไม่มีแมงดานาเข้ามาเกาะกินนั่นแสดงว่า การให้อาการมื้อนั่น ๆ เพียงพอแล้ว อย่างไรก็ดีในช่วงแมงดานายังเล็ก ๆ จะมีจุดหนึ่งที่ต้องดูแลเป็นพิเศษสักหน่อย คือ เรื่องคุณภาพของน้ำต้องสะอาดอยู่เสมอ ดังนั้นการเปลี่ยนถ่ายน้ำควรทีทุก 6-7 วัน

แมงดานาที่จะการลอกคราบเพื่อเติบโตประมาณ 5 ครั้ง คือ ครั้งแรกเมื่อมีอายุได้ 2 สัปดาห์ครั้งที่สองหลังจากนี้ประมาณ 5-7 วัน และอีกเท่า ๆกัน สำหรับการลอกคราบครั้งที่ 3-4 และ 5

สรุปแล้วประมาณเดือนเศษลูกแมงดานาจะโตเป็นตัวแก่ที่สมบูรณ์และหลังจากนี้เราต้องเปลี่ยนเป็นอาหารที่ใหญ่ขึ้น โดยใช้ปลา กบ เขียด หรือปู ที่ตายแล้วใส่เป็นอาหารเลี้ยงแมงดานาได้ซึ่งจากการประเมินพบว่า แมงดานาตัวเต็มวันจำนวน 100 ตัว จะกินปู 1 ตัว หมดภายใน 1 วัน แต่ถ้าเป็นกบ 1 ตัว ใช้เวลาถึง 2 วัน และหากว่าเราใช้ปลาทั้งตัวขนาด 1 ฝ่ามือแมงดานาจำนวน 1,000 ตัว จะกินหมดภายในมื้อเดียว โดยอาหารแบ่งในช่วงเช้าและเย็น
เพิ่มเติม
นิสัยของแมงดา
แมงดานามีนิสัยกินกันเอง โดยตัวเล็กจะเป็นเหยื่อของตัวใหญ่และตัวใหญ่มักจะแสดงความเป็นเจ้าของชิ้นอาหาร ซึ่งการแก้ปัญหาด้วยการคัดแยกขนาดแบบเดียวกับสัตว์น้ำหรือกบนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะเหตุว่ามันโตเร็วมากในช่างแรก ๆ ที่มีการลอกคราบแต่ละครั้ง ซึ่งเป็นระยะที่อ่อนแอมากเช่นกัน โอกาสสูญเสียมีสูงกว่า และหากว่าเราแยกช่างที่โตแล้วโอกาสที่เราจะโดนเหล็กหมาดของแมงดาทิ่มเอาก็สูงมากด้วย แต่ใช่ว่าจะทำไม่ได้สรุปแนวทางที่เป็นไปได้สูงคือการจัดการเรื่องน้ำให้ดีและแบ่งปันอาหารให้ดี คำนวณให้มีปริมาณมากพอดีและจำนวนชิ้นอาหารควรทั่วถึงเหมาะสม และในระยะที่แมงดาโตแล้วก็ควรมีขอนไม้โพรงไม้ รวมทั้งพืชผักไม้น้ำใส่ไว้ในบ่อเลี้ยงด้วย
ตามปกติแมงดานาตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 150-200 ฟอง ดังนั้น ในพื้นที่บ่อเลี้ยงขนาด 20 ตารางเมตร ถ้าใช้พ่อแม่พันธุ์ 1,000 ตัว (ตัวผู้ 200 ตัว ตัวเมีย 800 ตัว) จะได้ลูกแมงดานาฟักครั้งแรกหลายหมื่นตัวทีเดียว ซึ่งจะมีปัญหาแน่นอนในช่วงการเลี้ยงเป็นแมงดานาขนาดใหญ่ ตัวอย่างที่ศรีสะเกษพ่อแม่พันธุ์ขนาดนี้เขาทดลองเลี้ยงได้ลูกแมงดาอายุ 1 เดือน จำนวนกว่า 20,000 ตัว พอถึงเดือนที่ 3 เขาทยอยคัดตัวที่ใหญ่หน่อยออกขาย แมงดานาที่ไม่แน่นบ่อ จนถึงเดือนที่ 6-7-8 ก็ได้แมงดานาขนาดใหญ่ที่ขายได้ราคาดี แต่มักจะได้ตัวผู้แค่ 10-15% เท่านั้น ยังแก้ไขกันไม่ได้เลย
ศัตรูของแมงดานาในบ่อเลี้ยง นอกจากพรรคพวกของมันกินกันเองแล้วแทบจะไม่มีอะไรเลย เว้นแต่มดดำและเชื่อราเท่านั้นที่มีปัญหาต่อไข่ต่อแมงดานา มดดำกินไข่ ส่วนเชื้อราทำให้ไข่ฝ่อส่วนเห็บน้ำที่เกาะตามท้องหรือบริเวณคอแมงดานาตัวเต็มวัยนั้น ไม่ทำให้แมงดานาตาย เพียงแต่จะโตช้าหรืออ่อนแอเท่านั้น จะมีปัญหาก็ต่อเมื่อตัวที่โตช้าหรืออ่อนแอนี่แหละจะตกเป็นอาหารของตัวอื่น ๆ ตรงนี้ไม่อยากสรุปนะว่า การเพาะเลี้ยงแมงดานานั้นง่าย ทั้ง ๆที่ดูแล้วง่ราย การลงทุนค่าอาหารก็แสนจำต่ำ แต่พอเอาเข้าจริง ๆ แล้วหน้าหงายแล้วหลายราย แต่เชื่อเถอะว่านี้มีคนทำสำเร็จแล้วแน่นอน เพียงแต่ว่าเขายังไม่เปิดตัว เข้าตำราไม่อยากดังนั่นเอง
ข้อควรระวัง
แมงดานาทุกตัวจะมีปากดูดสำหรับเจาะเหยื่อเพื่อฉีดน้ำย่อยก่อนที่จะดูดกินกลับไป และส่วนของปากดูดนี้จะมีเข็มพิษที่เรียกว่า "เหล็กหมาด" มีพิษคล้ายกับแมงป่องอย่างไรก็อย่างนั้นจะจับจะต้องก็ให้ระวังกันด้วย
เคล็ดไม่ลับที่นักเพาะเลี้ยงแมงดานา เขาอุบกันไว้นั้นก็คือ การเร่งให้แมงดานาผสมพันธุ์น่าจะทำให้ช่วงฝนแรก อาจจะประมาณเดือนพฤษภาคม และทำในวันที่ฝนตกพรำ ท้องฟ้ามือครึ้ม จะได้ผลดีที่สุดสำหรับไข่สุดแรก

แหล่งที่มา : คนเกษตรดอทคอม
http://natres.psu.ac.th/radio/radio_article/radio
ขอขอบคุณ : ภาพจากอินเตอร์เน็ต


Follow on FaceBook

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

Popular Posts