วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

“ตุ๊กแกบ้าน”  (Gekko   gecko)  หรือที่ชาวจีนเรียกว่า กาบก่าย มีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทยและกระจายอยู่ในประเทศอินเดียตอนเหนือ จีนตอนใต้ ลาว เขมร มาเลเซีย อีกทั้งมีการนำเข้าไปขยายพันธุ์ในรัฐฮาวาย ฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา บางเกาะในทะเลแคริเบียน โดยบริเวณที่มันชอบอยู่อาศัยจะเป็นบริเวณพื้นที่แถบป่าไม้ ตามบ้านเรือนที่เป็นมุมมืดปราศจากการรบกวน  ในบางครั้งยามที่แดดอ่อนก็จะออกมารับแสงบ้าง  กระทั่งบางคนบอกว่า  พวกมันเป็นสัตว์ที่ อาบแดดกลางวัน อาบแสงจันทร์กลางคืน…
ตุ๊กแกที่โตเต็มวัย.
แล้วเมื่อฟ้าสลัวพลบค่ำ   จึงออกมาเกาะผนังเฝ้า “รอคอย” จับเหยื่ออย่างพวกแมลงต่างๆ อาทิ แมลงเม่า อันเป็นเมนูสุดโปรด แมลงสาบ  ตั๊กแตน  จิ้งหรีด  ด้วง  มอด มด  ผีเสื้อ  หนอน  แมงป่อง  ตะขาบ หนู ที่ส่วนใหญ่เป็นสัตว์จำพวกแมลงศัตรูพืชเป็นอาหารขณะยังมีชีวิต รวมทั้ง “คราบ” ที่ลอกของมันเอง…   ลักษณะลำตัวของ “ไอ้ตีนกาว” โดยทั่วๆไปจะเป็นรูปทรงกระบอก   ค่อน ข้างแบน   หัวมีขนาดใหญ่กว่าลำตัว ดวงตากลมโปน   ม่านตาปิดเปิดแนวตั้ง เปลือกตาเชื่อมกันและโปร่งแสง  ผิวหนังสีเทาแกมฟ้า มีจุดสีส้ม   เทาและขาวกระจายตลอดทั้งตัว สีผิวจะจางหรือเข้มนั้นขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ทั่วทั้งตัวมีเกล็ดเป็นตุ่มลักษณะนุ่มมือเมื่อสัมผัส
ใต้นิ้วเท้า แต่ละนิ้วมีแผ่นบางๆเรียงซ้อนกัน แต่ละแผ่นมี setae ซึ่งเป็นเซลล์ขนาดเล็กทำหน้าที่ยึดติดพื้นผิวเรียบ บริเวณปลายนิ้วจะมีเล็บช่วยเกาะเกี่ยวในการปีนป่าย ในวัยเล็กหางจะมีแถบสีฟ้าสลับขาว โตเต็มที่ตัวผู้นอกจากขนาดลำตัวยาวกว่าแล้ว  โคนหางจะอวบและใหญ่กว่าตัวเมีย  โดยมันจะใช้อวัยวะส่วนนี้เคาะพื้นผนังเพื่อสร้างอาณาเขต  อีกทั้งส่งสัญญาณบอกพวกพ้องเมื่ออยู่ในภาวะคับขันและยังสามารถ สลัดให้หลุดเพื่อหลอกศัตรูตัวฉกาจอย่าง “เหมียว” ให้หลงกลได้อีกด้วย  หากมันมีชีวิตรอดเพียง  3  สัปดาห์  ปลายหางก็จะงอกขึ้นมาใหม่แต่ไม่ดูดีดังเดิม
ส่วนการขยายเผ่าพันธุ์ โดยปกติจะเป็นช่วงฤดูหนาว ซึ่ง ตัวผู้จะส่งเสียงร้อง “ตุ๊ก–แก” เพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม หลังเสร็จสิ้นภารกิจตัวเมียจะหาที่วางไข่
(บริเวณเดียวกันได้หลายแม่)  ลักษณะเปลือกไข่จะหนาติดเกาะแน่นกับผนัง รูปร่างรี สีขาว ปริมาณ 1-2 ฟอง/ครั้ง โดยใช้เวลาวางไข่ ประมาณ 4-5 เดือน
ช่วง นี้ทั้งคู่มีนิสัยค่อนข้างดุ ออกหากินไม่ห่างจากพื้นที่ แล้วอีก 60-200 วัน ตัวอ่อนจะออกมาสู่โลกภาย นอก ช่วงนี้จะอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว กระทั่งอายุได้ 1 ปี จึงเริ่มออกสร้างอาณาเขตแล้วเข้าสู่วงจรขยายเผ่าพันธุ์อีกครั้ง
แม้ ว่าการใช้ชีวิตโดย รวมของพวกมันจะไม่ค่อยเป็นอันตรายต่อมนุษย์ อีกทั้งยังมีประโยชน์ช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืช   แต่ ด้วยลวดลายสีสันบนตัว บวกกับน้ำเสียงที่เวลาร้องประหนึ่งว่ากำลังเล่นลูกคอ หลายคนจึงไม่ค่อยพิสมัยในตัวมันนัก!
การเลี้ยงตุ๊กแก
 ตุ๊กแกเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นการยากที่จะเลี้ยงในลักษณะ และ รูปแบบสัตว์เลี้ยงทั่วไป  อีกทั้งตุ๊กแกก็ยังไม่มีวิธีการเลี้ยงที่แน่ชัดจากหน่วยงานของราชการ  และ ศูนย์เรียนรู้บ้านไร่ศรีสุทัศน์ได้ทำการทดลองเลี้ยงตุ๊กแก โดยเลี้ยงแบบกึ่งธรรมชาติ ซึ่งเป็นที่ได้ผลที่สุดในขณะนี้ โดยตุ๊กแกในกรงมีอัตราการขยายพันธุ์เป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง   ทางศูนย์เรียนรู้บ้านไร่ศรีสุทัศน์จึงได้นำวิธีการเพาะเลี้ยงตุ๊กแกมาเผยแพร่ เพื่อให้เกษตรกรที่สนใจ หรือ เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ที่สนใจในการเพาะเลี้ยงตุ๊กแกได้นำไปศึกษา และปรับปรุงแก้ไข เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติในโอกาสต่อไป
การเตรียมพื้นที่สำหรับเลี้ยงตุ๊กแก

พื้นที่สำหรับเลี้ยงตุ๊กแก ควรเป็นที่ไม่มีผู้คนพรุกพล่าน เพราะตุ๊กแกเป็นสัตว์ตกใจง่ายและรักสงบ ชอบอยู่ในมืดในเวลากลางวัน และเป็นพื้นที่สามารถเปิดไฟล่อแมลงได้
วัสดุ/อุปกรณ์
1   เสาไม้  3x3x2.50                                                 จำนวน            4        ต้น
2   ตาข่ายพลาสติก  2x2x250 เซนติเมตร                 จำนวน            20      เมตร
3   ไม้ไผ่ยาว     3     เมตร                                                จำนวน           20       ท่อน
4    ตะปูขนาด  2      นิ้ว                                                   จำนวน          2         กิโลกรัม
5    ชุดไฟนิออน   ควรเป็นหลอดสั้นแบบประหยัด                 จำนวน         2         ชุด
6    กระสอบ หรือ ผ้าห่มที่ไม่ได้ใช้แล้ว    สำหรับให้ตุ๊กแกหลบนอนตอนกลางวัน
7    เศษไม้กระดาน หรือ ไม้ที่มีโพรงสำหรับตุ๊กแกวางไข่
8    อ่างน้ำขนาดเล็ก                                                          จำนวน           1        ใบ
9    อ่างพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  1 เมตร                     จำนวน           1         ใบ
10   พ่อพันธุ์+แม่พันธุ์  ตุ๊กแกที่สุขภาพสมบูรณ์                      จำนวน           5         คู่
การดูแลรักษาในระยะเริ่มต้น
ในกรณีที่บางท่านอาจจับตุ๊กแกจากป่ามาเลี้ยง ทางเราจะไม่แนะนำให้ทำเพราะเป็นการทำผิดกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า  การเลี้ยงตุ๊กแกในระยะแรก ตุ๊กแกจะไม่กินอาหารเพราะตุ๊กแกยังไม่คุ้นเคยกับกรงที่เราจัดทำขึ้น  ช่วงนี้เราคอยระวังศัตรูจำพวก แมว สุนัข ที่จะมารบกวนและทำลายกรงเลี้ยง แล้วให้นำจี้งหรีดมาปล่อยลงในอ่างพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร พร้อมให้อาหารจี้งหรีดด้วยอาหารไก่เล็กอย่าลืมให้น้ำจิ้งหรีด โดยเอาฟองน้ำ หรือ สำลี ชุบน้ำให้ชุ่มวางไว้ไกล้กับอาหารลูกไก่  จากนั้นให้คอยสังเกตุตุ๊กแกว่ามีการกินแมลงในตอนกลางคืนหริอจิ้งหรีดที่ปล่อยหรือไม่อย่างไร
ปัญหาที่พบในการเลี้ยงแบบกึ่งธรรมชาติ
 ส่วนใหญ่จะพบปัญหาเกี่ยวกับ การแสดงอาณาเขตของตุ๊กแกที่มีขนาดใหญ่ เราสามารถแก้ปัญหาโดยการเพิ่มเศษไม้ ตั้งชันแยกให้ห่างกันในระยะตุ๊กแกจะกระโดดถึง เพื่อหลบและหนีได้พ้นจากตุ๊กแกที่มีขนาดใหญ่
โรคที่เกิดกับตุ๊กแก
ตลอดเวลาที่เลี้ยงมาเรายังไม่พบปัญหาเกี่ยวกับโรคระบาด หรือโรคทั่วไปแต่อย่างใด  ที่เราพบมีเพียงผิวหนังแห้งเกินไป ถ้าผิวหนังของตุ๊กแกแห้งเกินไป ตุ๊กแกจะไม่ยอมลอกคราบ จะทำให้การเจริญเติบโตช้า  ทางเราจะแก้ปัญหาโดยการฉีดน้ำเป็นละอองเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนัง
ข้อควรระวัง
1. ควรเปลี่ยนน้ำในอ่างเล็กทุกวัน   เพื่อรักษาความสะอาดและสร้างความคุ้นเคย
2. การจับตุ๊กแก ควรสวมถุงมือหนังเพื่อป้องกันเชื้อโรคในปากของตุ๊กแก
3.ไม่ควรติดหลอดไฟไว้ในกรงเลี้ยง  เพื่อป้องกันไฟช๊อตตุ๊กแก

การตลาด
ส่วนมากตลาดที่ต้องการรับซื้อจะอยู่ที่ประเทศจีน    ไต้หวัน  มาเลเซีย   ทางศูนย์ของเราเคยมีพ่อค้าจากมาเลเซียโดยตรงมาขอซื้อถึงศูนย์เรียนรู้แล้วหลายครั้ง

แหล่งข้อมูล : บ้านไร่ศรีสุทัศน์
ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Follow on FaceBook

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

Popular Posts