วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


  หลายคนอาจจะรู้จักดอกสลิด หรือดอกขจร เพราะหลายพื้นที่นิยมนำมาทำอาหารบริโภคทั้งแบบสดและลวกให้สุก และหลายครัวเรือนก็ทราบดีว่าดอกขจรนั้นมีสรรพคุณทางยาด้วย อาทิ ยอดอ่อน ดอก ลูกอ่อน บำรุงธาตุ บำรุงตับ ปอด แก้เสมหะเป็นพิษ รากทำให้อาเจียนถอนพิษเบื่อเมา ทำให้ปัจจุบันดอกขจรกลายเป็นสินค้าที่มีราคา บางช่วงอาจถึงกิโลกรัมละ 200 บาท
    ดอกขจรมักพบขึ้นอยู่ในป่าธรรมชาติที่เป็นป่าดิบแล้งและป่าละเมาะทั่วไป เพราะขึ้นง่ายในดินทุกชนิด มีนิสัยชอบแดด เลื้อยไปตามต้นไม้ใหญ่ ส่วนวิธีการปลูกที่ชาวบ้านนิยมกันก็คือการชำกิ่ง โดยเตรียมดินเพาะชำเป็นแกลบเผา 2 ส่วน ดินร่วน 2 ส่วน ปุ๋ยหมัก 1 ส่วน ผสมคลุกเคล้าในเข้ากัน ใส่ถุงแล้วนำกิ่งที่ไม่อ่อนและไม่แก่เกินไปมี 2-3 ข้อ เอาด้านโคนชุบน้ำยากันเชื้อราแล้วปักลงไปถุง รดน้ำให้ชุ่มพักในที่ร่ม เมื่อแตกตากิ่งหรือตายอดยาว 1 คืบ ก็ย้ายไปปลูกในแปลง
    อีกวิธีก็คือการตอน ใช้ขุยมะพร้าวแช่น้ำไว้ 1 คืน ใส่ถุงพลาสติกมัดหนังยางไว้เพื่อเป็นถุงตอนหลายๆ ถุง เวลาตอนให้กรีดถุงด้านหนึ่งแล้วนำไปหุ้มตรงข้อของเถาขจร มัดให้แน่น ให้ตอนข้อเว้นสองข้อ ประมาณย 20 วันก็ออกราก
 ส่วนการเตรียมดินเพื่อปลูก เริ่มจากไถพรวนแล้วย่อยให้ละเอียด ยกร่องแปลงกว้าง 6-4 เมตร ยาวไม่จำกัด ระยะห่างระหว่างแปลง 80 ซม. ใช้ระยะปลูก 2x2 เมตร 1 แปลงปลูกได้ 2 แถว แล้วทำซุ้มเข้าหากัน ขุดหลุมลึก 30-50 ซม. ถ้าดินไม่ดีให้ขุดหลุมใหญ่ใส่ปุ๋ยคอกลงไปให้มาก ดินดีใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หลุมละ 1 ช้อนแกง นำกิ่งชำหรือกิ่งตอนที่มีรากแข็งแรงลงปลูก เกลี่ยดินกลบโคนให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม ใน 1 หลุมปลูก 3-4 กิ่ง จะทำให้เจริญเติบโตแผ่กระจาย และยอดจะเลื้อยขึ้นค้างได้อย่างพอเหมาะ รดน้ำวันละครั้ง หรือตามสภาพความชื้นของดิน หลังจากนั้น 1 เดือนขึ้นไปจะเริ่มออกดอก ตัดเถาที่ไม่สมบูรณ์หรือแมลงรบกวนทิ้ง ดูแลอย่าให้แน่นหรือทึบเกินไป
    การทำค้างก็ใช้ไม้ไผ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-6 นิ้ว ทำเป็นเสาหลัก 2 เสา ปักห่างกัน 2 เมตร สูงจากพื้นดิน 1.50 เมตร ปักตามแนวยาวของแปลง และระหว่างเสาหลักจะใช้ไม้ไผ่เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 นิ้ว
ปักแล้วใช้ไม้ไผ่ผ่าซีกผูกเป็นขั้นบันได 5-6 ขั้น ให้เป็นทางสำหรับยอดขจรเลื้อยขึ้นไป จะเป็น 1 ซุ้มเว้นทางเดินประมาณ 80 ซม. แล้วทำซุ้มต่อไปตามความต้องการก็ได้ ซึ่งจะช่วยให้การแตกยอดดี
    สำหรับการให้ปุ๋ยนั้นควรให้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักใส่ที่โคนต้นได้เรื่อยๆ ส่วนปุ๋ยเคมีใช้สูตร 15-15-15 สลับกับ 25-7-7 เดือนละ 2 ครั้ง และหลังการตัดแต่งกิ่ง ซึ่งถ้าดูแลดีดอกก็จะดกและโตมากกว่าปกติ ที่สำคัญต้องตัดแต่งกิ่งที่แก่ออกอยู่เสมอ เพื่อให้แตกยอดใหม่ออกมาเรื่อยๆ ส่วนมากจะตัดแต่งกิ่งช่วยเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน เพราะช่วงนี้จะออกดอกน้อย จะตัดอย่างหนักเอาไว้เฉพาะส่วนที่ลำต้นตั้งตรงขึ้นไป และต้องแบ่งแปลงไว้เพื่อให้มีแปลงที่เก็บดอกได้ เพราะช่วงนี้จะขายได้ราคาดี หลังตัดแต่งกิ่ง 2-3 สัปดาห์ก็จะแตกยอดใหม่มีดอกให้เก็บได้เรื่อยๆ หลายปี และยืดอายุต้นขจรได้อีกนาน การตัดนั้นให้ตัดสูงจากพื้นดิน 25 ซม. แต่ละหลุมไม่ควรตัดหมด ให้เหลือไว้ต้นละ 1 หลุม จากนั้นก็รดน้ำให้ปุ๋ยตามปกติ 3-4 เดือน ก็ให้ดอกอีกมาก
    ต้นขจรจะให้ดอกหลังจากย้ายปลูกได้ 30 วัน และจะให้ผลผลิตมากที่สุดช่วงอายุ 8-10 เดือน โดยเฉพาะในช่วงเดือน พ.ค.-ก.ค. ผลผลิตจะเริ่มลดลงในเดือน พ.ย.-ธ.ค. เพราะเป็นช่วงฤดูหนาว เมื่อเก็บช่อดอกแล้วนำไปล้างน้ำ 2 ครั้ง ก่อนคัดแยกดอกบานไว้ต่างหาก ดอกตูมจะขายได้ราคากว่าดอกบาน โดยบรรจุถุงละ 1 กก. เพื่อจำหน่ายต่อไป.


ขอขอบคุณ : รักบ้านเกิดดอทคอม

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

“ตุ๊กแกบ้าน”  (Gekko   gecko)  หรือที่ชาวจีนเรียกว่า กาบก่าย มีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทยและกระจายอยู่ในประเทศอินเดียตอนเหนือ จีนตอนใต้ ลาว เขมร มาเลเซีย อีกทั้งมีการนำเข้าไปขยายพันธุ์ในรัฐฮาวาย ฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา บางเกาะในทะเลแคริเบียน โดยบริเวณที่มันชอบอยู่อาศัยจะเป็นบริเวณพื้นที่แถบป่าไม้ ตามบ้านเรือนที่เป็นมุมมืดปราศจากการรบกวน  ในบางครั้งยามที่แดดอ่อนก็จะออกมารับแสงบ้าง  กระทั่งบางคนบอกว่า  พวกมันเป็นสัตว์ที่ อาบแดดกลางวัน อาบแสงจันทร์กลางคืน…
ตุ๊กแกที่โตเต็มวัย.
แล้วเมื่อฟ้าสลัวพลบค่ำ   จึงออกมาเกาะผนังเฝ้า “รอคอย” จับเหยื่ออย่างพวกแมลงต่างๆ อาทิ แมลงเม่า อันเป็นเมนูสุดโปรด แมลงสาบ  ตั๊กแตน  จิ้งหรีด  ด้วง  มอด มด  ผีเสื้อ  หนอน  แมงป่อง  ตะขาบ หนู ที่ส่วนใหญ่เป็นสัตว์จำพวกแมลงศัตรูพืชเป็นอาหารขณะยังมีชีวิต รวมทั้ง “คราบ” ที่ลอกของมันเอง…   ลักษณะลำตัวของ “ไอ้ตีนกาว” โดยทั่วๆไปจะเป็นรูปทรงกระบอก   ค่อน ข้างแบน   หัวมีขนาดใหญ่กว่าลำตัว ดวงตากลมโปน   ม่านตาปิดเปิดแนวตั้ง เปลือกตาเชื่อมกันและโปร่งแสง  ผิวหนังสีเทาแกมฟ้า มีจุดสีส้ม   เทาและขาวกระจายตลอดทั้งตัว สีผิวจะจางหรือเข้มนั้นขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ทั่วทั้งตัวมีเกล็ดเป็นตุ่มลักษณะนุ่มมือเมื่อสัมผัส
ใต้นิ้วเท้า แต่ละนิ้วมีแผ่นบางๆเรียงซ้อนกัน แต่ละแผ่นมี setae ซึ่งเป็นเซลล์ขนาดเล็กทำหน้าที่ยึดติดพื้นผิวเรียบ บริเวณปลายนิ้วจะมีเล็บช่วยเกาะเกี่ยวในการปีนป่าย ในวัยเล็กหางจะมีแถบสีฟ้าสลับขาว โตเต็มที่ตัวผู้นอกจากขนาดลำตัวยาวกว่าแล้ว  โคนหางจะอวบและใหญ่กว่าตัวเมีย  โดยมันจะใช้อวัยวะส่วนนี้เคาะพื้นผนังเพื่อสร้างอาณาเขต  อีกทั้งส่งสัญญาณบอกพวกพ้องเมื่ออยู่ในภาวะคับขันและยังสามารถ สลัดให้หลุดเพื่อหลอกศัตรูตัวฉกาจอย่าง “เหมียว” ให้หลงกลได้อีกด้วย  หากมันมีชีวิตรอดเพียง  3  สัปดาห์  ปลายหางก็จะงอกขึ้นมาใหม่แต่ไม่ดูดีดังเดิม
ส่วนการขยายเผ่าพันธุ์ โดยปกติจะเป็นช่วงฤดูหนาว ซึ่ง ตัวผู้จะส่งเสียงร้อง “ตุ๊ก–แก” เพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม หลังเสร็จสิ้นภารกิจตัวเมียจะหาที่วางไข่
(บริเวณเดียวกันได้หลายแม่)  ลักษณะเปลือกไข่จะหนาติดเกาะแน่นกับผนัง รูปร่างรี สีขาว ปริมาณ 1-2 ฟอง/ครั้ง โดยใช้เวลาวางไข่ ประมาณ 4-5 เดือน
ช่วง นี้ทั้งคู่มีนิสัยค่อนข้างดุ ออกหากินไม่ห่างจากพื้นที่ แล้วอีก 60-200 วัน ตัวอ่อนจะออกมาสู่โลกภาย นอก ช่วงนี้จะอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว กระทั่งอายุได้ 1 ปี จึงเริ่มออกสร้างอาณาเขตแล้วเข้าสู่วงจรขยายเผ่าพันธุ์อีกครั้ง
แม้ ว่าการใช้ชีวิตโดย รวมของพวกมันจะไม่ค่อยเป็นอันตรายต่อมนุษย์ อีกทั้งยังมีประโยชน์ช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืช   แต่ ด้วยลวดลายสีสันบนตัว บวกกับน้ำเสียงที่เวลาร้องประหนึ่งว่ากำลังเล่นลูกคอ หลายคนจึงไม่ค่อยพิสมัยในตัวมันนัก!
การเลี้ยงตุ๊กแก
 ตุ๊กแกเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นการยากที่จะเลี้ยงในลักษณะ และ รูปแบบสัตว์เลี้ยงทั่วไป  อีกทั้งตุ๊กแกก็ยังไม่มีวิธีการเลี้ยงที่แน่ชัดจากหน่วยงานของราชการ  และ ศูนย์เรียนรู้บ้านไร่ศรีสุทัศน์ได้ทำการทดลองเลี้ยงตุ๊กแก โดยเลี้ยงแบบกึ่งธรรมชาติ ซึ่งเป็นที่ได้ผลที่สุดในขณะนี้ โดยตุ๊กแกในกรงมีอัตราการขยายพันธุ์เป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง   ทางศูนย์เรียนรู้บ้านไร่ศรีสุทัศน์จึงได้นำวิธีการเพาะเลี้ยงตุ๊กแกมาเผยแพร่ เพื่อให้เกษตรกรที่สนใจ หรือ เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ที่สนใจในการเพาะเลี้ยงตุ๊กแกได้นำไปศึกษา และปรับปรุงแก้ไข เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติในโอกาสต่อไป
การเตรียมพื้นที่สำหรับเลี้ยงตุ๊กแก

พื้นที่สำหรับเลี้ยงตุ๊กแก ควรเป็นที่ไม่มีผู้คนพรุกพล่าน เพราะตุ๊กแกเป็นสัตว์ตกใจง่ายและรักสงบ ชอบอยู่ในมืดในเวลากลางวัน และเป็นพื้นที่สามารถเปิดไฟล่อแมลงได้
วัสดุ/อุปกรณ์
1   เสาไม้  3x3x2.50                                                 จำนวน            4        ต้น
2   ตาข่ายพลาสติก  2x2x250 เซนติเมตร                 จำนวน            20      เมตร
3   ไม้ไผ่ยาว     3     เมตร                                                จำนวน           20       ท่อน
4    ตะปูขนาด  2      นิ้ว                                                   จำนวน          2         กิโลกรัม
5    ชุดไฟนิออน   ควรเป็นหลอดสั้นแบบประหยัด                 จำนวน         2         ชุด
6    กระสอบ หรือ ผ้าห่มที่ไม่ได้ใช้แล้ว    สำหรับให้ตุ๊กแกหลบนอนตอนกลางวัน
7    เศษไม้กระดาน หรือ ไม้ที่มีโพรงสำหรับตุ๊กแกวางไข่
8    อ่างน้ำขนาดเล็ก                                                          จำนวน           1        ใบ
9    อ่างพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  1 เมตร                     จำนวน           1         ใบ
10   พ่อพันธุ์+แม่พันธุ์  ตุ๊กแกที่สุขภาพสมบูรณ์                      จำนวน           5         คู่
การดูแลรักษาในระยะเริ่มต้น
ในกรณีที่บางท่านอาจจับตุ๊กแกจากป่ามาเลี้ยง ทางเราจะไม่แนะนำให้ทำเพราะเป็นการทำผิดกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า  การเลี้ยงตุ๊กแกในระยะแรก ตุ๊กแกจะไม่กินอาหารเพราะตุ๊กแกยังไม่คุ้นเคยกับกรงที่เราจัดทำขึ้น  ช่วงนี้เราคอยระวังศัตรูจำพวก แมว สุนัข ที่จะมารบกวนและทำลายกรงเลี้ยง แล้วให้นำจี้งหรีดมาปล่อยลงในอ่างพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร พร้อมให้อาหารจี้งหรีดด้วยอาหารไก่เล็กอย่าลืมให้น้ำจิ้งหรีด โดยเอาฟองน้ำ หรือ สำลี ชุบน้ำให้ชุ่มวางไว้ไกล้กับอาหารลูกไก่  จากนั้นให้คอยสังเกตุตุ๊กแกว่ามีการกินแมลงในตอนกลางคืนหริอจิ้งหรีดที่ปล่อยหรือไม่อย่างไร
ปัญหาที่พบในการเลี้ยงแบบกึ่งธรรมชาติ
 ส่วนใหญ่จะพบปัญหาเกี่ยวกับ การแสดงอาณาเขตของตุ๊กแกที่มีขนาดใหญ่ เราสามารถแก้ปัญหาโดยการเพิ่มเศษไม้ ตั้งชันแยกให้ห่างกันในระยะตุ๊กแกจะกระโดดถึง เพื่อหลบและหนีได้พ้นจากตุ๊กแกที่มีขนาดใหญ่
โรคที่เกิดกับตุ๊กแก
ตลอดเวลาที่เลี้ยงมาเรายังไม่พบปัญหาเกี่ยวกับโรคระบาด หรือโรคทั่วไปแต่อย่างใด  ที่เราพบมีเพียงผิวหนังแห้งเกินไป ถ้าผิวหนังของตุ๊กแกแห้งเกินไป ตุ๊กแกจะไม่ยอมลอกคราบ จะทำให้การเจริญเติบโตช้า  ทางเราจะแก้ปัญหาโดยการฉีดน้ำเป็นละอองเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนัง
ข้อควรระวัง
1. ควรเปลี่ยนน้ำในอ่างเล็กทุกวัน   เพื่อรักษาความสะอาดและสร้างความคุ้นเคย
2. การจับตุ๊กแก ควรสวมถุงมือหนังเพื่อป้องกันเชื้อโรคในปากของตุ๊กแก
3.ไม่ควรติดหลอดไฟไว้ในกรงเลี้ยง  เพื่อป้องกันไฟช๊อตตุ๊กแก

การตลาด
ส่วนมากตลาดที่ต้องการรับซื้อจะอยู่ที่ประเทศจีน    ไต้หวัน  มาเลเซีย   ทางศูนย์ของเราเคยมีพ่อค้าจากมาเลเซียโดยตรงมาขอซื้อถึงศูนย์เรียนรู้แล้วหลายครั้ง

แหล่งข้อมูล : บ้านไร่ศรีสุทัศน์
ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555


สวัสดีค่ะ วันนี้จะนำเรื่องการเลี้ยงแมงดานามาฝากผู้เยี่ยมชมบล็อกนานาสาระเกษตรสามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำทีเดียวนะค่ะ มาติดตามกันค่ะ

เมื่อพูดถึงแมงดานา ทุกคนก็คงจะนึกถึงน้ำพริกแมงดาและก็คงจะเคยกินน้ำพริกแมงดากันมาบ้างแล้ว ปัจจุบันน้ำพริกแมงดาได้กลายเป็นสินค้าด้านอาหารที่ทำเป็นอุตสาหกรรมไปแล้ว โดยมีโรงงานผลิตน้ำพริกแมงดาบรรจุขวดออกจำหน่ายกันอย่างแพร่หลายในท้องตลาด และทำให้มีผู้บริโภคกันมากขึ้น เนื่องจากสามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน ๆ และพกพาติดตัวไปรับประทานในการเดินทางได้สะดวกอีกด้วย แมงดาเป็นวัตถุดิบที่ค่อนข้างจะหายาก การที่จะจับแมงดาที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ เพราะว่าแมงดาจะออกมาให้จับเฉพาะฤดูฝนเท่านั้น ส่วนฤดูแล้งก็จะหลบหนีไปจำศีลตามโพรงไม้ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้ที่สนใจอาชีพใหม่ ๆ ที่จะเลี้ยงแมงดาเพื่อการจำหน่ายเสริมรายได้ให้กับครอบครัว หรืออาจจะทำฟาร์มเลี้ยงเป็นอาชีพก็ได้ เพราะการเลี้ยงก็ง่าย ขายก็ได้ราคา

ขั้นตอนการเลี้ยงแมงดา
การเตรียมสถานที่
การทำบ่อสำหรับเลี้ยงแมงดานา
1. ให้เลือกเอาที่โล่งแจ้งใกล้แหล่งน้ำแต่น้ำท่วมไม่ถึง ประการสำคัญต้องเป็นสถานที่ที่ไม่พลุกพล่าน อาจจะเป็นมุมใดมุมหนึ่งสนามหลังบ้านก็ได้ เพราะบ่อเลี้ยงแมงดานาใช้พื้นที่ไม่มากนัก
ทำเลที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำจืด เช่น ท้องนา บึง หรือหนองน้ำตื้น ๆ และเป็นบริเวณที่มีแมลงชุกชุม
2. สูตรสำเร็จในการวางผังบ่อเขาว่าไม่มีด้านยาวเป็นบวกหนึ่งของด้านกว้าง ยกตัวอย่าง ขนาด 3x4เมตร หรือ 4x5 เมตร รวมพื้นที่บ่อประมาณ 20 ตารางเมตร จะสวยที่สุด สำหรับความลึกของบ่อจะอยู่ในราว 1-1.5 เมตร ไม่ควรมกหรือน้อยกว่านี้
3.พื้นที่บ่อที่ก่อจากซีเมนต์กันน้ำรั่วน้ำซึมได้นั้น ด้านข้างทั้งสี่ด้านควรลาดเททำมุม 45 องศา และตรงกลางบ่อน้ำเป็นหลุมลึกสักจุดหนึ่ง เพื่อเป็นที่รวมของเสียจะง่ายต่อการดูดกำจัดเพื่อทำความสะอาด
4. หลังจากนั้นก็หาต้นพืชเล็ก ๆ เช่น ต้นกก หญ้า หรือต้นโสน มาปลูกภายในบ่อให้ดูเป็นธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นที่วางไข่ของแมงดา
5. ใช้ไม่ไผ่หรือไม้เนื้ออ่อนปักเสารอบทั้ง 4 ด้าน และทำคานไว้ด้านบน เป็นลักษณะโรงเรือน และมุงด้วยหญ้าคาเพื่อใช้บังแดด
6. ใช้ตาข่ายตาถี่ขนาดที่แมงดาไม่สามารถบินหนีออกไปได้มาขึงไว้โดยรอบทุก ๆ ด้าน รวมทั้งด้านบนด้วย
7. ในโรงเรือนหาโพรงไม้เลื่อยออกเป็นท่อน ๆ นำมาแขวนไว้ประมาณ 4-5 ท่อน เพื่อใช้เป็นที่อาศัยของแมงดา
8.ขาดไม่ได้ คือ ชานบ่อโดยรอบให้กว้างประมาณ 1 เมตร ส่วนนี้ไม่ต้องเทซีเมนต์แต่ปล่อยทิ้งไว้เป็นดิน เพื่อที่เราจะปลูกต้นไม้น้ำใช้เป็นที่พักอาศัยของแมงดานาได้บ้างอาจจะปลูกต้นกก ผักบุ้ง หรืออะไรก็ได้ที่คิดว่าเลียนแบบธรรมชาติได้มากที่สุดนั่นแหละ นอกจากนี้บ่อเลี้ยงต้องขึงตาข่ายตาไม่ใหญ่กว่า 1 ซม. ป้องกันไม่ให้แมงดานาบินหนี หรือมีหนูเข้าไปลักกินแมงดานาส่วนหลังคาต้องกันแดดกันฝนได้ดี
9.จากทำบ่อ และบ่มจนน้ำหมดกลิ่นปูนเรียบร้อยแล้ว ก็จัดการปล่อยพ่อแม่พันธุ์แมงดานาลงไปได้เลย โดยน้ำที่ใส่ต้องเป็นน้ำสะอาดจากน้ำคลองที่สูบขึ้นมาพักจนตกตะกอนดีแล้วจะดีที่สุด ใส่น้ำให้ได้ระดับความลึกประมาณ 70-80 ซม. แล้วปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลงไปในอัตรา 50 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร สัดส่วนของตัวผู้กับตัวเมียตามตำราเขาว่า 1 ต่อ1 ดีที่สุด แต่ที่นี้ราคาแมงดานาตัวผู้เป็น ๆ นั้นค่อนข้างจะแพงเอาเรื่อง ดังนั้นสัดส่วน 1 ต่อ 5 ก็น่าจะได้ผลดีพอสมควร


การปล่อยแมงดาลงบ่อเพาะเลี้ยง
แมงดาที่ใช้สำหรับเป็นพ่อแม่พันธุ์จะต้องมีประมาณ 15-20 คู่ อาจจะจับมาจากธรรมชาติหรือซื้อมาจากตลาดก็ได้ แล้วนำมาปล่อยลงบ่อเพาะเลี้ยง เพื่อใช้ในการขยายพันธุ์ต่อไป
อาหารที่ให้แมงดากิน
มีลูกกบ เขียด กุ้ง ปู ปลา และสัตว์น้ำอื่น ๆ
การวางไข่และการผสมพันธุ์
ฤดูที่แมงดาจะออกแพร่พันธุ์ จะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือเข้าหน้าฝน หรือฝนตกพรำ ๆ แมงดาจะวางไข่ตามกอหญ้า หรือต้นไม้ขนาดเล็ก ตัวเมียปล่อยวุ้นออกมายึดไข่กับกิ่งไม้หรือกอหญ้า วางไข่เป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีประมาณ 100-200 ฟอง การวางไข่เหนือผิวน้ำ ประมาณ 3-5 นิ้ว ขึ้นอยู่กับระดับน้ำในแต่ละปี คือ ถ้าปีใดน้ำมากจะไข่ไว้สูง ถ้าปีใดน้ำน้อยจะไข่ไว้ต่ำ เมื่อวางไข่แล้วตัวผู้จะคอยดูแลไข่ จนกว่าตัวอ่อนจะฟักออกจากไข่ และหากินเองได้
การเจริญเติบโตของแมงดาเป็นไปโดยการลอกคราบ แมงดาจะลอกคราบรวมทั้งหมดห้าครั้ง จึงจะเป็นแมลงมีปีกโดยสมบูรณ์ และสามารถบินได้ แมงดาจะเจริญเติบโตเมื่ออายุประมาณ 3 เดือน ขนาดลำตัวจากหัวถึงปลายปีกยาวประมาณ 7 เซนติเมตร และส่วนท้องจะกว้างประมาณ 2.6 เซนติเมตร เป็นขนาดที่ตลาดต้องการและจับขาย

จัดการเก็บไม้น้ำ โพรงไม้ ขอนไม้ หรืออะไรที่ลอยน้ำเป็นที่ยึดเกาะของแมงดานาออกจากบ่อให้หมด โดยนำไม้ไผ่หรือกิ่งไม่แห้ง ๆ ใส่ลงไปแทนที่ทิ้งไว้แบบนี้ 3-4 วันก่อนเปลี่ยนใส่น้ำเข้าไปใหม่ในระดับเดิมคือ ประมาณ 80 ซม. หรือเกือบเต็มบ่อก็ได้ จากนั้นเก็บไผ่กิ่งไม้ออกใส่ลูกบวบลงไปแทน โดยลูกบวบนี้ทำจากท่อนกล้วยยาวท่อน 1 เมตร ที่ถ่วงน้ำหนักให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของท่อนกล้วยจามน้ำด้านนี้เสทอ ส่วนด้านบนที่ไม่จมน้ำปักด้วยซี่ไม้ไผ่ปรือไม่เสียบลูกชิ้นยาวงคืบกว่า ๆ เป็นแถว กะว่าแต่ละอันห่างกันประมาณ 10 ซม. แมงดานาจะขึ้นมาวางไข่ตามไม้ที่ปักไว้นี้ หลังจากนี้ประมาณ 3-4 วัน ไปแล้ว ซึ่งเมื่อเห็นแมงดานาวางไข่จนหมด นอกจากนี้แล้วแมงดานาตัวเมียจะวางไข่ได้อีก 2-3 ครั้ง ในแต่ละช่วงปีห่างกันครั้งละ ประมาณ 1 เดือน

ดังนั้น หากเราต้องการมีแมงดานาขายอย่างต่อเนื่องแล้วอาจจะต้องลงทุนทำบ่อไว้หลายบ่อโดยใช้วิธีย้าย เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์หลังจากวางไข่ผสมพันธุ์แล้วจะดีกว่า เพราะสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเช่นนี้จะเร่งให้มันผสมพันธุ์วางไข่เร็วขึ้น โดยพ่อแม่พันธุ์แต่ละรุ่นเขามักนิยมใช้กันแค่ปีเดียวคือวางไข่ได้ 2-3 ครั้งก็จับขาย แล้วเลือกคัดเอาบรรดาลูก ๆ รุ่นใหม่เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป




แมงดาไม่จำเป็นต้องดูและให้ยุ่งยากเหมือนสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ เพียงแค่ดูแลเรื่องอาหารของลูกแมงดาให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการก็พอ เนื่องจากลูกแมงดาในระยะแรกค่อนข้างจะกินจุ ส่วนแมงดาที่มีขนาดโตและบินได้แล้วก็จะจับแมงกินเองได้ แต่ในฤดูแล้งแมงดาจะไม่กินอาหาร ดังนั้นการเลี้ยงแมงดาจึงไม่ค่อยจะมีปัญหาอะไรมากนัก

เทคนิคการเลี้ยง
ตามปกติแล้วลูกแมงดานาจะฟ้าออกจากไข่หลังจากนี้ประมาณ 8-10 วันโดย 2 วัน แรกจะไม่กินอาหาร แต่วันที่ 3-4 จะต้องให้อาหารจำพวกลูกอ๊อด (ลูกอ๊อดคางคกให้ไม่ได้เพราะเมื่าอแมงดานากินแล้วจะตาย) หรือปลาซิว ลูกกุ้ง ระยะนี้ลูกแมงดานาจะกินอาหารมาก เราจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนถ่านน้ำบ่อยครั้ง โดยต้องระวังอย่าให้ลูกแมงดานายังเล็ก ๆ จะมีจุดหนึ่งที่ต้องระวังให้ลูกแมงดาติดมากันเศษอาหารหรือน้ำเสียด้วยการปิดปากท่อด้วยตะแกรงให้ดีเสียก่อน

เรื่องอาหารของลูกแมงดานานี้ ยังไม่มีข้อสรุปว่าอะไรดีที่สุด และจะให้ในปริมาณมากน้อยแค่ไหน วิธีสังเกตมีอยู่อาหารที่ใส่เลี้ยงนั้นหากพบว่าไม่มีแมงดานาเข้ามาเกาะกินนั่นแสดงว่า การให้อาการมื้อนั่น ๆ เพียงพอแล้ว อย่างไรก็ดีในช่วงแมงดานายังเล็ก ๆ จะมีจุดหนึ่งที่ต้องดูแลเป็นพิเศษสักหน่อย คือ เรื่องคุณภาพของน้ำต้องสะอาดอยู่เสมอ ดังนั้นการเปลี่ยนถ่ายน้ำควรทีทุก 6-7 วัน

แมงดานาที่จะการลอกคราบเพื่อเติบโตประมาณ 5 ครั้ง คือ ครั้งแรกเมื่อมีอายุได้ 2 สัปดาห์ครั้งที่สองหลังจากนี้ประมาณ 5-7 วัน และอีกเท่า ๆกัน สำหรับการลอกคราบครั้งที่ 3-4 และ 5

สรุปแล้วประมาณเดือนเศษลูกแมงดานาจะโตเป็นตัวแก่ที่สมบูรณ์และหลังจากนี้เราต้องเปลี่ยนเป็นอาหารที่ใหญ่ขึ้น โดยใช้ปลา กบ เขียด หรือปู ที่ตายแล้วใส่เป็นอาหารเลี้ยงแมงดานาได้ซึ่งจากการประเมินพบว่า แมงดานาตัวเต็มวันจำนวน 100 ตัว จะกินปู 1 ตัว หมดภายใน 1 วัน แต่ถ้าเป็นกบ 1 ตัว ใช้เวลาถึง 2 วัน และหากว่าเราใช้ปลาทั้งตัวขนาด 1 ฝ่ามือแมงดานาจำนวน 1,000 ตัว จะกินหมดภายในมื้อเดียว โดยอาหารแบ่งในช่วงเช้าและเย็น
เพิ่มเติม
นิสัยของแมงดา
แมงดานามีนิสัยกินกันเอง โดยตัวเล็กจะเป็นเหยื่อของตัวใหญ่และตัวใหญ่มักจะแสดงความเป็นเจ้าของชิ้นอาหาร ซึ่งการแก้ปัญหาด้วยการคัดแยกขนาดแบบเดียวกับสัตว์น้ำหรือกบนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะเหตุว่ามันโตเร็วมากในช่างแรก ๆ ที่มีการลอกคราบแต่ละครั้ง ซึ่งเป็นระยะที่อ่อนแอมากเช่นกัน โอกาสสูญเสียมีสูงกว่า และหากว่าเราแยกช่างที่โตแล้วโอกาสที่เราจะโดนเหล็กหมาดของแมงดาทิ่มเอาก็สูงมากด้วย แต่ใช่ว่าจะทำไม่ได้สรุปแนวทางที่เป็นไปได้สูงคือการจัดการเรื่องน้ำให้ดีและแบ่งปันอาหารให้ดี คำนวณให้มีปริมาณมากพอดีและจำนวนชิ้นอาหารควรทั่วถึงเหมาะสม และในระยะที่แมงดาโตแล้วก็ควรมีขอนไม้โพรงไม้ รวมทั้งพืชผักไม้น้ำใส่ไว้ในบ่อเลี้ยงด้วย
ตามปกติแมงดานาตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 150-200 ฟอง ดังนั้น ในพื้นที่บ่อเลี้ยงขนาด 20 ตารางเมตร ถ้าใช้พ่อแม่พันธุ์ 1,000 ตัว (ตัวผู้ 200 ตัว ตัวเมีย 800 ตัว) จะได้ลูกแมงดานาฟักครั้งแรกหลายหมื่นตัวทีเดียว ซึ่งจะมีปัญหาแน่นอนในช่วงการเลี้ยงเป็นแมงดานาขนาดใหญ่ ตัวอย่างที่ศรีสะเกษพ่อแม่พันธุ์ขนาดนี้เขาทดลองเลี้ยงได้ลูกแมงดาอายุ 1 เดือน จำนวนกว่า 20,000 ตัว พอถึงเดือนที่ 3 เขาทยอยคัดตัวที่ใหญ่หน่อยออกขาย แมงดานาที่ไม่แน่นบ่อ จนถึงเดือนที่ 6-7-8 ก็ได้แมงดานาขนาดใหญ่ที่ขายได้ราคาดี แต่มักจะได้ตัวผู้แค่ 10-15% เท่านั้น ยังแก้ไขกันไม่ได้เลย
ศัตรูของแมงดานาในบ่อเลี้ยง นอกจากพรรคพวกของมันกินกันเองแล้วแทบจะไม่มีอะไรเลย เว้นแต่มดดำและเชื่อราเท่านั้นที่มีปัญหาต่อไข่ต่อแมงดานา มดดำกินไข่ ส่วนเชื้อราทำให้ไข่ฝ่อส่วนเห็บน้ำที่เกาะตามท้องหรือบริเวณคอแมงดานาตัวเต็มวัยนั้น ไม่ทำให้แมงดานาตาย เพียงแต่จะโตช้าหรืออ่อนแอเท่านั้น จะมีปัญหาก็ต่อเมื่อตัวที่โตช้าหรืออ่อนแอนี่แหละจะตกเป็นอาหารของตัวอื่น ๆ ตรงนี้ไม่อยากสรุปนะว่า การเพาะเลี้ยงแมงดานานั้นง่าย ทั้ง ๆที่ดูแล้วง่ราย การลงทุนค่าอาหารก็แสนจำต่ำ แต่พอเอาเข้าจริง ๆ แล้วหน้าหงายแล้วหลายราย แต่เชื่อเถอะว่านี้มีคนทำสำเร็จแล้วแน่นอน เพียงแต่ว่าเขายังไม่เปิดตัว เข้าตำราไม่อยากดังนั่นเอง
ข้อควรระวัง
แมงดานาทุกตัวจะมีปากดูดสำหรับเจาะเหยื่อเพื่อฉีดน้ำย่อยก่อนที่จะดูดกินกลับไป และส่วนของปากดูดนี้จะมีเข็มพิษที่เรียกว่า "เหล็กหมาด" มีพิษคล้ายกับแมงป่องอย่างไรก็อย่างนั้นจะจับจะต้องก็ให้ระวังกันด้วย
เคล็ดไม่ลับที่นักเพาะเลี้ยงแมงดานา เขาอุบกันไว้นั้นก็คือ การเร่งให้แมงดานาผสมพันธุ์น่าจะทำให้ช่วงฝนแรก อาจจะประมาณเดือนพฤษภาคม และทำในวันที่ฝนตกพรำ ท้องฟ้ามือครึ้ม จะได้ผลดีที่สุดสำหรับไข่สุดแรก

แหล่งที่มา : คนเกษตรดอทคอม
http://natres.psu.ac.th/radio/radio_article/radio
ขอขอบคุณ : ภาพจากอินเตอร์เน็ต


วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ด้านการเลี้ยงสัตว์  โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการพึ่งพาตนเอง โดยการนำวัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ภายในท้องถิ่น อาศัยหลักการพึ่งพาธรรมชาติในการเลี้ยง และวิธีการต่าง ๆ ที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิต  ก็จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย
ปลวกเป็นอาหารเสริมที่มีคุณภาพสูง เกษตรกรสามารถเพาะเลี้ยงได้เอง และใช้เป็นอาหารสัตว์เพื่อช่วยลด ต้นทุนการผลิตได้   การเพาะเลี้ยงปลวก ทำได้โดย
1. ขุดหลุมพอเหมาะไม่ใหญ่นักจำนวน 7 หลุม คือ ให้ได้ครบ 1 อาทิตย์สำหรับเวียนใช้
2. หาเศษไม้แล้วนำมาไว้ในหลุม
3. รดน้ำเศษไม้ให้พอชุ่ม
4. หาผ้าที่พอดีกับหลุม มาคลุมไว้

5. กลบดินทับไว้เพื่อให้อากาศเย็น ปลวกจะได้มาทำรัง
6. ทิ้งไว้ 7 วัน ก็จะมีปลวกมาทำรัง เราก็จะได้รังปลวกสำหรับเป็นอาหาร
ของไก่ตัวเล็ก และใหญ่ รวมถึงสัตว์อื่น ๆ เช่น เป็ด กบ ปลา หมู เป็นต้น

สำหรับการนำปลวกไปเป็นอาหารสัตว์นั้น จะต้องเวียนกันวันละ 1 หลุม เพื่อที่วันต่อไปจะได้มีปลวกเป็นอาหารสัตว์ไม่ขาด 
ข้อแนะนำ
 -  ควรเพาะเลี้ยงปลวกหลายๆหลุม ตามวงจร เพราะหลุมหนึ่งจะเก็บได้ทุก 15 วัน และเก็บต่อได้นานประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วจึงทำการเพาะเลี้ยงใหม่ตามวิธีเดิม

วิธีการเพาะเลี้ยงปลวกเพื่อใช้เป็นอาหารไก่

- ขุดหลุมกว้าง 1 เมตร ยาว 1.50 เมตร ลึก 25 เซนติเมตร
- ใช้ไม้ที่มีเปลือกแห้ง ตัดเป็นท่อนขนาดเหมาะสมสามารถวางในหลุมได้พอดี
นำไปวางไว้ในหลุมที่ขุดเตรียมไว้ให้เต็มประมาณ 3 ใน 4 ส่วนของหลุม
- นำมูลโค + ใบไม้ ผสมกันในอัตราส่วน 50/50 กลบกองไม้ให้เต็มปากหลุม
รดน้ำให้เปียกทั่วทั้งหลุมแต่ไม่ต้องให้แฉะมาก
- จากนั้นคลุมปิดปากหลุมด้วยกระสอบป่าน ทิ้งไว้ 10-15 วัน
เมื่อเปิดดูจะพบปลวกอยู่เป็นจำนวนมาก
- จากนั้นก็นำปลวกมาเคาะใส่ภาชนะแล้วนำไปให้ไก่กินได้เลย
ข้อแนะนำ 
- ควรเพาะเลี้ยงปลวกหลายๆหลุม ตามวงจร เพราะหลุมหนึ่งจะเก็บได้ทุก 15 วัน
และเก็บต่อได้นานประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วจึงทำการเพาะเลี้ยงใหม่ตามวิธีเดิม
- ปลวกนี้เหมาะเป็นอาหารสำหรับไก่เล็กและปลา
เพื่อช่วยในการลดต้นทุนเรื่องอาหารของไก่และปลาได้
- ให้ไก่เล็กกินทุกวัน โดยนำปลวกผสมกับข้าวบดหยาบ ในอัตรา 70/30
จะช่วยเพิ่มโปรตีนให้ไก่ได้เป็นอย่างดี หรือนำไปหว่านให้ปลากินก็เพิ่มโปรตีนเช่นกัน

วิธีการเตรียมหลุมเลี้ยงปลวกเพื่อเลี้ยงปลา
1. ขุดหลุมดินขนาดใหญ่กว่ายางรถจักรยานยนต์ใกล้บ่อเลี้ยงปลาขนาดใหญ่กว่ายาง
รถจักรยานยนต์ข้างละ 20 ซม. จะขุดกี่หลุมก็ได้
2.  นำยางนอกรถจักรยานยนต์มากลับทางในออกนอก  นอกกลับเข้าใน  จะทำให้ได้พื้นที่หนาขึ้น  แล้วนำลวดมาสานในวงในของยาง 8 -10 เส้น  สานรูปตาหมากรุก  เพื่อวางอาหารของปลวก  ทำลักษณะเดียวกันนี้  3 – 4 ชั้น (เส้น)  วางซ้อนกันในหลุมเลี้ยงปลวก
3.  นำอาหารปลวก เช่น กระดาษ  เศษไม้ไผ่  หญ้าแห้ง  ใส่ลงใสยางรถแต่ละเส้นพอประมาณ  แล้วรดน้ำให้ชุ่มทุกชั้น  นำมาวางเรียงในหลุมรดน้ำซ้ำอีกให้ดินในหลุมชุ่ม
4.  หาวัสดุมาปกคลุมเพื่อให้มืดและรักษาความชุ่มชื้นรดน้ำซ้ำทุก ๆ 3-5 วัน  เป็นเวลา 3-4 สัปดาห์  สามารถนำขึ้นมาเลี้ยงปลาโดยจุ่มยางรถทีละเส้นลงในบ่อเลี้ยงปลาให้ตัวปลวกลอยขึ้นมาให้ปลากิน  แช่ไว้  30 – 40 นาทีก็นำขึ้นมาใส่หลุมไว้เหมือนเดิมรดน้ำซ้ำอีกครั้ง
แหล่งที่มา : รักบ้านเกิดดอทคอม
ภาพจากอินเตอร์เน็ต

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


สวัสดีค่ะ เพื่อนๆบล็อกนานาสาระเกษตร วันนนี้จะนำสาระเรื่องการเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์มาฝากกันนะค่ะ มาติดตามกันค่ะ
เงินลงทุน
ประมาณ 8,000 บาท ต่อการเลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์ 4 บ่อ
รายได้
ครั้งแรก 16,000 - 24,000 บาท
วัสดุ/อุปกรณ์
แม่พันธุ์-พ่อพันธุ์กบ ไม้ไผ่ทำแพหรือแผ่นโฟมทางมะพร้าว บ่อซีเมนต์ อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงลูกกบและกบโต
แหล่งจำหน่ายพันธุ์กบ
ฟาร์มเลี้ยงกบทั่วไป
บ่อกบ
วิธีดำเนินการ
1. การเลี้ยงกบควรเลือกพื้นที่เป็นที่สูงหรือที่ดอน มีลักษณะราบเสมอ ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกต่อการถ่ายเทน้ำ แต่ควรให้ห่างจากถนนเพื่อป้องกันเสียงรบกวน
2. สร้างบ่อซีเมนต์ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1.5 เมตร สูง 1 เมตร เพื่อใช้เพาะพันธุ์กบ จำนวน 1 บ่อ และสร้างบ่อขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร จำนวน 3 บ่อ โดยก่อแผ่นซีเมนต์และฉาบด้วยปูนซีเมนต์ ปูนที่ฉาบควรหนาเป็นพิเศษ ตรงส่วนล่างที่เก็บขังน้ำสูงจากพื้น 1 ฟุต พื้นล่างเทปูนหนาเพื่อรองรับน้ำ และมีท่อระบายน้ำอยู่ตรงส่วนที่ลาดที่สุด
4. พันธุ์กบที่จะเพาะเลี้ยง ควรเลือกกบนา เพราะเจริญเติบโตเร็วและเป็นที่นิยมของผู้บริโภค กบนาตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นกล่องเสียง
อยู่ใต้คางแถวมุมปากส่วนตัวเมียมองไม่เห็นกล่องเสียง
การเตรียมบ่อซีเมนต์

บ่อเติมน้ำ
เตรียมลูกกบเพื่ออนุบาลในบ่อ
บ่อเลี้ยงกบ
การเพาะพันธุ์กบ
ล้างบ่อซีเมนต์ให้สะอาด ใส่น้ำลงไปให้ได้ความลึกประมาณครึ่งฟุต แล้วหาวัชพืชน้ำมาใส่ไว้เพื่อให้ไข่กบเกาะ จากนั้นนำพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์กบ 1คู่มาใส่ไว้รวมกันประมาณ 2-3 คืน กบจะผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงเวลา 04.00-06.00 น. เมื่อเห็นว่ากบออกไข่แล้วให้นำพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ออกจากบ่อ เพื่อป้องกันไม่ให้แพไข่แตก
การอนุบาลลูกกบวัยอ่อน
เมื่อไข่กบฟักออกเป็นตัวอ่อนแล้ว ช่วง 2 วันแรกไม่ต้องให้อาหาร เพราะลูกอ๊อดยังใช้ไข่แดงที่ติดมาเลี้ยงตัวเอง หลังจากนั้นจึงเริ่มให้อาหารเม็ดสำหรับลูกกบวันละ1 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1 กำมือ หรืออาจให้ไข่แดงบดเป็นอาหารแทนก็ได้ ซึ่งเฉลี่ยแล้วใช้วันละ 2-3 ฟองต่อลูกอ๊อด 1 ครอกเมื่อลูกอ๊อดมีอายุ 20-30 วัน จึงเป็นลูกกบเต็มวัย ในช่วงนี้ต้องนำไม้ไผ่มาทำเป็นแพหรือแผ่นโฟมลอยน้ำเพื่อให้ลูกกบเต็มวัยขึ้นไปอาศัยอยู่ เพราะลูกอ๊อดจะโตเต็มวัยไม่พร้อมกัน อาจมีการรังแกกันจนเกิดแผลทำให้ลูกกบตายได้ ดังนั้น จึงต้องลงมือคัดลูกกบขนาดตัวยาว 2 เซนติเมตร ไปเลี้ยงในบ่อที่เตรียมไว้ บ่อละ 1,000 ตัว
การดูแลและเลี้ยงกบเต็มวัยจนเป็นกบโต
การบรรจุเพื่อส่งจำหน่าย
เมื่อคัดลูกกบนำไปเลี้ยงในบ่อแล้ว ใส่วัชพืชน้ำและวัสดุลอยน้ำลงไป เช่น แพไม้ไผ่หรือแผ่นโฟม เพื่อให้กบขึ้นไปอาศัยอยู่ และนำทางมะพร้าวมาคลุมบ่อเพื่อบังแดดด้วยในช่วงที่คัดลูกกบลงบ่อซีเมนต์ใหม่ ๆ นี้ ให้ใช้อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงลูกกบไประยะหนึ่งก่อนเมื่อกบโตขึ้นจึงค่อยให้อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงกบโตวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ในอัตรา 3% ของน้ำหนักตัวกบ คือ ถ้ากบน้ำหนัก 100 กิโลกรัม ก็ให้อาหารวันละ 3 กิโลกรัมในขั้นตอนนี้ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3 เดือน ก็สามารถจับกบจำหน่ายได้
จับกบเตรียมส่งจำหน่าย
ตลาด/แหล่งจำหน่าย
ส่งขายตามตลาดสดทั่วไป หรือร้านอาหาร
สถานที่ให้คำปรึกษา
1. กองส่งเสริมการประมง กรมประมง โทร. 561-4689
2. สำนักงานประมงจังหวัดและอำเภอ
ข้อแนะนำ
1. การเลี้ยงกบต้องระวังเรื่องความสะอาดขณะสูบบุหรี่ใกล้บริเวณบ่อ ระวังอย่าให้ขี้บุหรี่ตกลงไปในบ่อเด็ดขาด เพราะลูกกบจะตายยกบ่อ
2. การเลี้ยงกบ ต้องคัดลูกกบขนาดเท่ากันไปเลี้ยงในบ่อเดียวกันห้ามเลี้ยงลูกกบคนละขนาดเด็ดขาด เพราะลูกกบจะกินกันเอง
3. การเลี้ยงกบควรกะระยะเวลา 4 เดือน ในการจับจำหน่าย อย่าให้ตรงกับช่วงฤดูฝน เพราะกบราคาถูก
4. อาหารกบ นอกจากอาหารเม็ดแล้ว สามารถใช้เนื้อปลาสับหรือเนื้อหอยโข่งก็ได้
5. ก่อนที่จะปล่อยแม่พันธุ์กบลงผสมพันธุ์ ต้องสังเกตแม่พันธุ์กบว่าตัวเริ่มฝืด มีปุ่มหนาม แสดงว่าพร้อมจะผสมพันธุ์ หากปล่อยลงไปแล้ว 2-3 วัน ยังไม่เห็นไข่กบก็จับพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์มาแยกเลี้ยงอีกระยะหนึ่ง แล้วค่อยนำมาผสมพันธุ์ใหม่
ขอขอบคุณเครดิตภาพ: รักบ้านเกิดดอทคอม


วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การเพาะเลี้ยงไส้เดือนแดง
วัสดุหรือภาชนะที่เลี้ยงควรใช้วงบ่อปูนขนาด 80 ม. – 1.20 ม. พื้นเทคอนกรีต  และเจาะรูระบายน้ำ นำฟางข้าวหรือเศษหญ้ามาแช่น้ำนาน 3-5 วันนำมารองพื้นวัสดุที่  ใช้้เพาะ เลี้ยงหนาประมาณ 1-2นิ้ว จากนั้นนำดินร่วน ผสมมูลสัตว์ อย่างละเท่าๆ กันใส่  ลงไปในภาชนะให้หน้าขึ้นมา 3-4 นิ้ว พรมน้ำ ให้ทั่วนำไส้เดือน ลงไปเลี้ยงหาวัสดุคลุม  หน้า  ดิน เพื่อป้องกันแสงแดด การให้อาหาร ควรให้อาหารเสริมทุก 3-4 วันเช่น เศษ  พืชผักขยะ  สด และมูลสัตว์ ซึ่งไส้เดือนชอบมาก

การเตรียม
ส่วนผสม
บ่อวงซีเมนต์ (ดิน ปุ๋ยคอก เศษผักผลไม้)
วิธีทำ
ใส้เดือน
เตรียมบ่อ ผสมส่วนผสมที่มีอยู่ให้เข้ากัน ใส่ลงในบ่อ นำตัวไส้เดือนลงปล่อย
วิธีใช้
ไส้เดือนที่ได้จากการเลี้ยงสามารถนำไปตกปลา
*หมายเหตุ*ไส้เดือนที่ได้จากการเลี้ยงเวลาเกี่ยวเบ็ดตัวไส้เดือนจะขาดไวกว่าไส้เดือนที่มีอยู่ในธรรมชาติ
 ข้อควรระวัง

1. ค่าความเป็นกรด ด่างของดินควรอยู่ในช่วงเป็นกลาง (PH=7)

2. ดูความชื้นให้เหมาะสมไม่เปียกและแห้งมากจนเกินไป
3. อุณหภูมิไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป
4. ป้องกันและระวังสัตว์ที่เป็นศัตรูทางธรรมชาติของไส้เดือนเช่น มด แมลงต่างๆ
อาการและที่อยู่ของใส้เดือน
ลัึกษณะของใส้เดือน
การเพาะเลี้ยงไส้เดือนดินสำหรับผลิตปุ๋ยอินทรีย์มีด้วยกันหลายชนิด
บ่อเลี้ยงใส้เดือนแบบต่างๆ





 1) การเลี้ยงไส้เดือนดินในภาชนะต่าง ๆ เช่น กระถางปลูกต้นไม้ ลังไม้ หรือบ่อซีเมนต์เป็นต้น เป็นการเลี้ยงขนาดเล็ก และทำได้ทุกครัวเรือน ใช้พื้นที่น้อย การดูแลง่าย แต่ปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้ก็น้อยตามขนาดของภาชนะ
2) การเลี้ยงไส้เดือนดินในภาชนะเป็นชั้น ๆ เช่น ชั้นไม้ หรือชั้นตู้พลาสติก เป็นต้น เป็นการเลี้ยงที่ใช้พื้นที่จำกัดได้ดี แต่มีข้อจำกัดคือต้องใช้แรงงานในการจัดการค่อนข้างมากและสิ้นเปลืองเวลา

 3) การเลี้ยงไส้เดือนดินแบบแปลงกลางแจ้ง เป็นการเลี้ยงไส้เดือนดินที่ใช้เทคนิคง่าย ๆ ด้วยการตั้งกองอาหารเป็นแปลงสำหรับเลี้ยงไส้เดือนดิน คลุมอาหารของไส้เดือนดินด้วยฟางและตาข่าย สำหรับป้องกันสัตว์มาคุ้ยเขี่ย แต่มีข้อจำกัดตรงที่ไส้เดือนดินสามารถเลื้อยหนีออกได้ง่ายเมื่อสภาวะไม่ เหมาะสม เช่น อาหารหมดหรือน้ำท่วม เป็นต้น
 4) การเลี้ยงไส้เดือนดินในโรงเรือน  เป็นการเลี้ยงที่นิยมสำหรับฟาร์มเกษตรกรส่วนใหญ่ เพราะสามารถจัดการสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในการเลี้ยงไส้เดือนดินได้ง่าย เช่น การก่อบล็อกสำหรับทำซองหรือคอกเลี้ยงไส้เดือนดิน โรงเรือนจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับต้นทุนของผู้เลี้ยงไส้เดือนดินเป็น หลัก
 5) การผลิตไส้เดือนดินแบบอัตโนมัติ เป็นการเลี้ยงไส้เดือนดินอย่างเป็นระบบ ทำให้จัดการได้ง่าย แต่มีข้อจำกัดตรงที่ต้นทุนสูงมาก ดังนั้นต้องมีการศึกษาพันธุ์ที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด


ประโยชน์ของการเลี้ยงไส้เดือน
ไส้เดือนเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่ทำให้ดินคืนกลับสู้ความอุดมสมบูรณ์รักษาความ  สมดุล ด้วยการกำจัดขยะอินทรีย์ทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น นอกจากนี้ไส้เดือนยังสามารถเป็น  อาหารของไก่ ปลา กบที่เราเลี้ยง ทำให้สัตว์เลี้ยงได้รับสารอาหารโปรตีนครบสมบูรณ์
ขอขอบคุณ : http://www.siamfishing.com

Follow on FaceBook

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

Popular Posts