วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

“ตุ๊กแกบ้าน”  (Gekko   gecko)  หรือที่ชาวจีนเรียกว่า กาบก่าย มีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทยและกระจายอยู่ในประเทศอินเดียตอนเหนือ จีนตอนใต้ ลาว เขมร มาเลเซีย อีกทั้งมีการนำเข้าไปขยายพันธุ์ในรัฐฮาวาย ฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา บางเกาะในทะเลแคริเบียน โดยบริเวณที่มันชอบอยู่อาศัยจะเป็นบริเวณพื้นที่แถบป่าไม้ ตามบ้านเรือนที่เป็นมุมมืดปราศจากการรบกวน  ในบางครั้งยามที่แดดอ่อนก็จะออกมารับแสงบ้าง  กระทั่งบางคนบอกว่า  พวกมันเป็นสัตว์ที่ อาบแดดกลางวัน อาบแสงจันทร์กลางคืน…
ตุ๊กแกที่โตเต็มวัย.
แล้วเมื่อฟ้าสลัวพลบค่ำ   จึงออกมาเกาะผนังเฝ้า “รอคอย” จับเหยื่ออย่างพวกแมลงต่างๆ อาทิ แมลงเม่า อันเป็นเมนูสุดโปรด แมลงสาบ  ตั๊กแตน  จิ้งหรีด  ด้วง  มอด มด  ผีเสื้อ  หนอน  แมงป่อง  ตะขาบ หนู ที่ส่วนใหญ่เป็นสัตว์จำพวกแมลงศัตรูพืชเป็นอาหารขณะยังมีชีวิต รวมทั้ง “คราบ” ที่ลอกของมันเอง…   ลักษณะลำตัวของ “ไอ้ตีนกาว” โดยทั่วๆไปจะเป็นรูปทรงกระบอก   ค่อน ข้างแบน   หัวมีขนาดใหญ่กว่าลำตัว ดวงตากลมโปน   ม่านตาปิดเปิดแนวตั้ง เปลือกตาเชื่อมกันและโปร่งแสง  ผิวหนังสีเทาแกมฟ้า มีจุดสีส้ม   เทาและขาวกระจายตลอดทั้งตัว สีผิวจะจางหรือเข้มนั้นขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ทั่วทั้งตัวมีเกล็ดเป็นตุ่มลักษณะนุ่มมือเมื่อสัมผัส
ใต้นิ้วเท้า แต่ละนิ้วมีแผ่นบางๆเรียงซ้อนกัน แต่ละแผ่นมี setae ซึ่งเป็นเซลล์ขนาดเล็กทำหน้าที่ยึดติดพื้นผิวเรียบ บริเวณปลายนิ้วจะมีเล็บช่วยเกาะเกี่ยวในการปีนป่าย ในวัยเล็กหางจะมีแถบสีฟ้าสลับขาว โตเต็มที่ตัวผู้นอกจากขนาดลำตัวยาวกว่าแล้ว  โคนหางจะอวบและใหญ่กว่าตัวเมีย  โดยมันจะใช้อวัยวะส่วนนี้เคาะพื้นผนังเพื่อสร้างอาณาเขต  อีกทั้งส่งสัญญาณบอกพวกพ้องเมื่ออยู่ในภาวะคับขันและยังสามารถ สลัดให้หลุดเพื่อหลอกศัตรูตัวฉกาจอย่าง “เหมียว” ให้หลงกลได้อีกด้วย  หากมันมีชีวิตรอดเพียง  3  สัปดาห์  ปลายหางก็จะงอกขึ้นมาใหม่แต่ไม่ดูดีดังเดิม
ส่วนการขยายเผ่าพันธุ์ โดยปกติจะเป็นช่วงฤดูหนาว ซึ่ง ตัวผู้จะส่งเสียงร้อง “ตุ๊ก–แก” เพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม หลังเสร็จสิ้นภารกิจตัวเมียจะหาที่วางไข่
(บริเวณเดียวกันได้หลายแม่)  ลักษณะเปลือกไข่จะหนาติดเกาะแน่นกับผนัง รูปร่างรี สีขาว ปริมาณ 1-2 ฟอง/ครั้ง โดยใช้เวลาวางไข่ ประมาณ 4-5 เดือน
ช่วง นี้ทั้งคู่มีนิสัยค่อนข้างดุ ออกหากินไม่ห่างจากพื้นที่ แล้วอีก 60-200 วัน ตัวอ่อนจะออกมาสู่โลกภาย นอก ช่วงนี้จะอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว กระทั่งอายุได้ 1 ปี จึงเริ่มออกสร้างอาณาเขตแล้วเข้าสู่วงจรขยายเผ่าพันธุ์อีกครั้ง
แม้ ว่าการใช้ชีวิตโดย รวมของพวกมันจะไม่ค่อยเป็นอันตรายต่อมนุษย์ อีกทั้งยังมีประโยชน์ช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืช   แต่ ด้วยลวดลายสีสันบนตัว บวกกับน้ำเสียงที่เวลาร้องประหนึ่งว่ากำลังเล่นลูกคอ หลายคนจึงไม่ค่อยพิสมัยในตัวมันนัก!
การเลี้ยงตุ๊กแก
 ตุ๊กแกเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นการยากที่จะเลี้ยงในลักษณะ และ รูปแบบสัตว์เลี้ยงทั่วไป  อีกทั้งตุ๊กแกก็ยังไม่มีวิธีการเลี้ยงที่แน่ชัดจากหน่วยงานของราชการ  และ ศูนย์เรียนรู้บ้านไร่ศรีสุทัศน์ได้ทำการทดลองเลี้ยงตุ๊กแก โดยเลี้ยงแบบกึ่งธรรมชาติ ซึ่งเป็นที่ได้ผลที่สุดในขณะนี้ โดยตุ๊กแกในกรงมีอัตราการขยายพันธุ์เป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง   ทางศูนย์เรียนรู้บ้านไร่ศรีสุทัศน์จึงได้นำวิธีการเพาะเลี้ยงตุ๊กแกมาเผยแพร่ เพื่อให้เกษตรกรที่สนใจ หรือ เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ที่สนใจในการเพาะเลี้ยงตุ๊กแกได้นำไปศึกษา และปรับปรุงแก้ไข เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติในโอกาสต่อไป
การเตรียมพื้นที่สำหรับเลี้ยงตุ๊กแก

พื้นที่สำหรับเลี้ยงตุ๊กแก ควรเป็นที่ไม่มีผู้คนพรุกพล่าน เพราะตุ๊กแกเป็นสัตว์ตกใจง่ายและรักสงบ ชอบอยู่ในมืดในเวลากลางวัน และเป็นพื้นที่สามารถเปิดไฟล่อแมลงได้
วัสดุ/อุปกรณ์
1   เสาไม้  3x3x2.50                                                 จำนวน            4        ต้น
2   ตาข่ายพลาสติก  2x2x250 เซนติเมตร                 จำนวน            20      เมตร
3   ไม้ไผ่ยาว     3     เมตร                                                จำนวน           20       ท่อน
4    ตะปูขนาด  2      นิ้ว                                                   จำนวน          2         กิโลกรัม
5    ชุดไฟนิออน   ควรเป็นหลอดสั้นแบบประหยัด                 จำนวน         2         ชุด
6    กระสอบ หรือ ผ้าห่มที่ไม่ได้ใช้แล้ว    สำหรับให้ตุ๊กแกหลบนอนตอนกลางวัน
7    เศษไม้กระดาน หรือ ไม้ที่มีโพรงสำหรับตุ๊กแกวางไข่
8    อ่างน้ำขนาดเล็ก                                                          จำนวน           1        ใบ
9    อ่างพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  1 เมตร                     จำนวน           1         ใบ
10   พ่อพันธุ์+แม่พันธุ์  ตุ๊กแกที่สุขภาพสมบูรณ์                      จำนวน           5         คู่
การดูแลรักษาในระยะเริ่มต้น
ในกรณีที่บางท่านอาจจับตุ๊กแกจากป่ามาเลี้ยง ทางเราจะไม่แนะนำให้ทำเพราะเป็นการทำผิดกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า  การเลี้ยงตุ๊กแกในระยะแรก ตุ๊กแกจะไม่กินอาหารเพราะตุ๊กแกยังไม่คุ้นเคยกับกรงที่เราจัดทำขึ้น  ช่วงนี้เราคอยระวังศัตรูจำพวก แมว สุนัข ที่จะมารบกวนและทำลายกรงเลี้ยง แล้วให้นำจี้งหรีดมาปล่อยลงในอ่างพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร พร้อมให้อาหารจี้งหรีดด้วยอาหารไก่เล็กอย่าลืมให้น้ำจิ้งหรีด โดยเอาฟองน้ำ หรือ สำลี ชุบน้ำให้ชุ่มวางไว้ไกล้กับอาหารลูกไก่  จากนั้นให้คอยสังเกตุตุ๊กแกว่ามีการกินแมลงในตอนกลางคืนหริอจิ้งหรีดที่ปล่อยหรือไม่อย่างไร
ปัญหาที่พบในการเลี้ยงแบบกึ่งธรรมชาติ
 ส่วนใหญ่จะพบปัญหาเกี่ยวกับ การแสดงอาณาเขตของตุ๊กแกที่มีขนาดใหญ่ เราสามารถแก้ปัญหาโดยการเพิ่มเศษไม้ ตั้งชันแยกให้ห่างกันในระยะตุ๊กแกจะกระโดดถึง เพื่อหลบและหนีได้พ้นจากตุ๊กแกที่มีขนาดใหญ่
โรคที่เกิดกับตุ๊กแก
ตลอดเวลาที่เลี้ยงมาเรายังไม่พบปัญหาเกี่ยวกับโรคระบาด หรือโรคทั่วไปแต่อย่างใด  ที่เราพบมีเพียงผิวหนังแห้งเกินไป ถ้าผิวหนังของตุ๊กแกแห้งเกินไป ตุ๊กแกจะไม่ยอมลอกคราบ จะทำให้การเจริญเติบโตช้า  ทางเราจะแก้ปัญหาโดยการฉีดน้ำเป็นละอองเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนัง
ข้อควรระวัง
1. ควรเปลี่ยนน้ำในอ่างเล็กทุกวัน   เพื่อรักษาความสะอาดและสร้างความคุ้นเคย
2. การจับตุ๊กแก ควรสวมถุงมือหนังเพื่อป้องกันเชื้อโรคในปากของตุ๊กแก
3.ไม่ควรติดหลอดไฟไว้ในกรงเลี้ยง  เพื่อป้องกันไฟช๊อตตุ๊กแก

การตลาด
ส่วนมากตลาดที่ต้องการรับซื้อจะอยู่ที่ประเทศจีน    ไต้หวัน  มาเลเซีย   ทางศูนย์ของเราเคยมีพ่อค้าจากมาเลเซียโดยตรงมาขอซื้อถึงศูนย์เรียนรู้แล้วหลายครั้ง

แหล่งข้อมูล : บ้านไร่ศรีสุทัศน์
ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555


สวัสดีค่ะ วันนี้จะนำเรื่องการเลี้ยงแมงดานามาฝากผู้เยี่ยมชมบล็อกนานาสาระเกษตรสามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำทีเดียวนะค่ะ มาติดตามกันค่ะ

เมื่อพูดถึงแมงดานา ทุกคนก็คงจะนึกถึงน้ำพริกแมงดาและก็คงจะเคยกินน้ำพริกแมงดากันมาบ้างแล้ว ปัจจุบันน้ำพริกแมงดาได้กลายเป็นสินค้าด้านอาหารที่ทำเป็นอุตสาหกรรมไปแล้ว โดยมีโรงงานผลิตน้ำพริกแมงดาบรรจุขวดออกจำหน่ายกันอย่างแพร่หลายในท้องตลาด และทำให้มีผู้บริโภคกันมากขึ้น เนื่องจากสามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน ๆ และพกพาติดตัวไปรับประทานในการเดินทางได้สะดวกอีกด้วย แมงดาเป็นวัตถุดิบที่ค่อนข้างจะหายาก การที่จะจับแมงดาที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ เพราะว่าแมงดาจะออกมาให้จับเฉพาะฤดูฝนเท่านั้น ส่วนฤดูแล้งก็จะหลบหนีไปจำศีลตามโพรงไม้ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้ที่สนใจอาชีพใหม่ ๆ ที่จะเลี้ยงแมงดาเพื่อการจำหน่ายเสริมรายได้ให้กับครอบครัว หรืออาจจะทำฟาร์มเลี้ยงเป็นอาชีพก็ได้ เพราะการเลี้ยงก็ง่าย ขายก็ได้ราคา

ขั้นตอนการเลี้ยงแมงดา
การเตรียมสถานที่
การทำบ่อสำหรับเลี้ยงแมงดานา
1. ให้เลือกเอาที่โล่งแจ้งใกล้แหล่งน้ำแต่น้ำท่วมไม่ถึง ประการสำคัญต้องเป็นสถานที่ที่ไม่พลุกพล่าน อาจจะเป็นมุมใดมุมหนึ่งสนามหลังบ้านก็ได้ เพราะบ่อเลี้ยงแมงดานาใช้พื้นที่ไม่มากนัก
ทำเลที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำจืด เช่น ท้องนา บึง หรือหนองน้ำตื้น ๆ และเป็นบริเวณที่มีแมลงชุกชุม
2. สูตรสำเร็จในการวางผังบ่อเขาว่าไม่มีด้านยาวเป็นบวกหนึ่งของด้านกว้าง ยกตัวอย่าง ขนาด 3x4เมตร หรือ 4x5 เมตร รวมพื้นที่บ่อประมาณ 20 ตารางเมตร จะสวยที่สุด สำหรับความลึกของบ่อจะอยู่ในราว 1-1.5 เมตร ไม่ควรมกหรือน้อยกว่านี้
3.พื้นที่บ่อที่ก่อจากซีเมนต์กันน้ำรั่วน้ำซึมได้นั้น ด้านข้างทั้งสี่ด้านควรลาดเททำมุม 45 องศา และตรงกลางบ่อน้ำเป็นหลุมลึกสักจุดหนึ่ง เพื่อเป็นที่รวมของเสียจะง่ายต่อการดูดกำจัดเพื่อทำความสะอาด
4. หลังจากนั้นก็หาต้นพืชเล็ก ๆ เช่น ต้นกก หญ้า หรือต้นโสน มาปลูกภายในบ่อให้ดูเป็นธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นที่วางไข่ของแมงดา
5. ใช้ไม่ไผ่หรือไม้เนื้ออ่อนปักเสารอบทั้ง 4 ด้าน และทำคานไว้ด้านบน เป็นลักษณะโรงเรือน และมุงด้วยหญ้าคาเพื่อใช้บังแดด
6. ใช้ตาข่ายตาถี่ขนาดที่แมงดาไม่สามารถบินหนีออกไปได้มาขึงไว้โดยรอบทุก ๆ ด้าน รวมทั้งด้านบนด้วย
7. ในโรงเรือนหาโพรงไม้เลื่อยออกเป็นท่อน ๆ นำมาแขวนไว้ประมาณ 4-5 ท่อน เพื่อใช้เป็นที่อาศัยของแมงดา
8.ขาดไม่ได้ คือ ชานบ่อโดยรอบให้กว้างประมาณ 1 เมตร ส่วนนี้ไม่ต้องเทซีเมนต์แต่ปล่อยทิ้งไว้เป็นดิน เพื่อที่เราจะปลูกต้นไม้น้ำใช้เป็นที่พักอาศัยของแมงดานาได้บ้างอาจจะปลูกต้นกก ผักบุ้ง หรืออะไรก็ได้ที่คิดว่าเลียนแบบธรรมชาติได้มากที่สุดนั่นแหละ นอกจากนี้บ่อเลี้ยงต้องขึงตาข่ายตาไม่ใหญ่กว่า 1 ซม. ป้องกันไม่ให้แมงดานาบินหนี หรือมีหนูเข้าไปลักกินแมงดานาส่วนหลังคาต้องกันแดดกันฝนได้ดี
9.จากทำบ่อ และบ่มจนน้ำหมดกลิ่นปูนเรียบร้อยแล้ว ก็จัดการปล่อยพ่อแม่พันธุ์แมงดานาลงไปได้เลย โดยน้ำที่ใส่ต้องเป็นน้ำสะอาดจากน้ำคลองที่สูบขึ้นมาพักจนตกตะกอนดีแล้วจะดีที่สุด ใส่น้ำให้ได้ระดับความลึกประมาณ 70-80 ซม. แล้วปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลงไปในอัตรา 50 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร สัดส่วนของตัวผู้กับตัวเมียตามตำราเขาว่า 1 ต่อ1 ดีที่สุด แต่ที่นี้ราคาแมงดานาตัวผู้เป็น ๆ นั้นค่อนข้างจะแพงเอาเรื่อง ดังนั้นสัดส่วน 1 ต่อ 5 ก็น่าจะได้ผลดีพอสมควร


การปล่อยแมงดาลงบ่อเพาะเลี้ยง
แมงดาที่ใช้สำหรับเป็นพ่อแม่พันธุ์จะต้องมีประมาณ 15-20 คู่ อาจจะจับมาจากธรรมชาติหรือซื้อมาจากตลาดก็ได้ แล้วนำมาปล่อยลงบ่อเพาะเลี้ยง เพื่อใช้ในการขยายพันธุ์ต่อไป
อาหารที่ให้แมงดากิน
มีลูกกบ เขียด กุ้ง ปู ปลา และสัตว์น้ำอื่น ๆ
การวางไข่และการผสมพันธุ์
ฤดูที่แมงดาจะออกแพร่พันธุ์ จะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือเข้าหน้าฝน หรือฝนตกพรำ ๆ แมงดาจะวางไข่ตามกอหญ้า หรือต้นไม้ขนาดเล็ก ตัวเมียปล่อยวุ้นออกมายึดไข่กับกิ่งไม้หรือกอหญ้า วางไข่เป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีประมาณ 100-200 ฟอง การวางไข่เหนือผิวน้ำ ประมาณ 3-5 นิ้ว ขึ้นอยู่กับระดับน้ำในแต่ละปี คือ ถ้าปีใดน้ำมากจะไข่ไว้สูง ถ้าปีใดน้ำน้อยจะไข่ไว้ต่ำ เมื่อวางไข่แล้วตัวผู้จะคอยดูแลไข่ จนกว่าตัวอ่อนจะฟักออกจากไข่ และหากินเองได้
การเจริญเติบโตของแมงดาเป็นไปโดยการลอกคราบ แมงดาจะลอกคราบรวมทั้งหมดห้าครั้ง จึงจะเป็นแมลงมีปีกโดยสมบูรณ์ และสามารถบินได้ แมงดาจะเจริญเติบโตเมื่ออายุประมาณ 3 เดือน ขนาดลำตัวจากหัวถึงปลายปีกยาวประมาณ 7 เซนติเมตร และส่วนท้องจะกว้างประมาณ 2.6 เซนติเมตร เป็นขนาดที่ตลาดต้องการและจับขาย

จัดการเก็บไม้น้ำ โพรงไม้ ขอนไม้ หรืออะไรที่ลอยน้ำเป็นที่ยึดเกาะของแมงดานาออกจากบ่อให้หมด โดยนำไม้ไผ่หรือกิ่งไม่แห้ง ๆ ใส่ลงไปแทนที่ทิ้งไว้แบบนี้ 3-4 วันก่อนเปลี่ยนใส่น้ำเข้าไปใหม่ในระดับเดิมคือ ประมาณ 80 ซม. หรือเกือบเต็มบ่อก็ได้ จากนั้นเก็บไผ่กิ่งไม้ออกใส่ลูกบวบลงไปแทน โดยลูกบวบนี้ทำจากท่อนกล้วยยาวท่อน 1 เมตร ที่ถ่วงน้ำหนักให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของท่อนกล้วยจามน้ำด้านนี้เสทอ ส่วนด้านบนที่ไม่จมน้ำปักด้วยซี่ไม้ไผ่ปรือไม่เสียบลูกชิ้นยาวงคืบกว่า ๆ เป็นแถว กะว่าแต่ละอันห่างกันประมาณ 10 ซม. แมงดานาจะขึ้นมาวางไข่ตามไม้ที่ปักไว้นี้ หลังจากนี้ประมาณ 3-4 วัน ไปแล้ว ซึ่งเมื่อเห็นแมงดานาวางไข่จนหมด นอกจากนี้แล้วแมงดานาตัวเมียจะวางไข่ได้อีก 2-3 ครั้ง ในแต่ละช่วงปีห่างกันครั้งละ ประมาณ 1 เดือน

ดังนั้น หากเราต้องการมีแมงดานาขายอย่างต่อเนื่องแล้วอาจจะต้องลงทุนทำบ่อไว้หลายบ่อโดยใช้วิธีย้าย เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์หลังจากวางไข่ผสมพันธุ์แล้วจะดีกว่า เพราะสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเช่นนี้จะเร่งให้มันผสมพันธุ์วางไข่เร็วขึ้น โดยพ่อแม่พันธุ์แต่ละรุ่นเขามักนิยมใช้กันแค่ปีเดียวคือวางไข่ได้ 2-3 ครั้งก็จับขาย แล้วเลือกคัดเอาบรรดาลูก ๆ รุ่นใหม่เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป




แมงดาไม่จำเป็นต้องดูและให้ยุ่งยากเหมือนสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ เพียงแค่ดูแลเรื่องอาหารของลูกแมงดาให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการก็พอ เนื่องจากลูกแมงดาในระยะแรกค่อนข้างจะกินจุ ส่วนแมงดาที่มีขนาดโตและบินได้แล้วก็จะจับแมงกินเองได้ แต่ในฤดูแล้งแมงดาจะไม่กินอาหาร ดังนั้นการเลี้ยงแมงดาจึงไม่ค่อยจะมีปัญหาอะไรมากนัก

เทคนิคการเลี้ยง
ตามปกติแล้วลูกแมงดานาจะฟ้าออกจากไข่หลังจากนี้ประมาณ 8-10 วันโดย 2 วัน แรกจะไม่กินอาหาร แต่วันที่ 3-4 จะต้องให้อาหารจำพวกลูกอ๊อด (ลูกอ๊อดคางคกให้ไม่ได้เพราะเมื่าอแมงดานากินแล้วจะตาย) หรือปลาซิว ลูกกุ้ง ระยะนี้ลูกแมงดานาจะกินอาหารมาก เราจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนถ่านน้ำบ่อยครั้ง โดยต้องระวังอย่าให้ลูกแมงดานายังเล็ก ๆ จะมีจุดหนึ่งที่ต้องระวังให้ลูกแมงดาติดมากันเศษอาหารหรือน้ำเสียด้วยการปิดปากท่อด้วยตะแกรงให้ดีเสียก่อน

เรื่องอาหารของลูกแมงดานานี้ ยังไม่มีข้อสรุปว่าอะไรดีที่สุด และจะให้ในปริมาณมากน้อยแค่ไหน วิธีสังเกตมีอยู่อาหารที่ใส่เลี้ยงนั้นหากพบว่าไม่มีแมงดานาเข้ามาเกาะกินนั่นแสดงว่า การให้อาการมื้อนั่น ๆ เพียงพอแล้ว อย่างไรก็ดีในช่วงแมงดานายังเล็ก ๆ จะมีจุดหนึ่งที่ต้องดูแลเป็นพิเศษสักหน่อย คือ เรื่องคุณภาพของน้ำต้องสะอาดอยู่เสมอ ดังนั้นการเปลี่ยนถ่ายน้ำควรทีทุก 6-7 วัน

แมงดานาที่จะการลอกคราบเพื่อเติบโตประมาณ 5 ครั้ง คือ ครั้งแรกเมื่อมีอายุได้ 2 สัปดาห์ครั้งที่สองหลังจากนี้ประมาณ 5-7 วัน และอีกเท่า ๆกัน สำหรับการลอกคราบครั้งที่ 3-4 และ 5

สรุปแล้วประมาณเดือนเศษลูกแมงดานาจะโตเป็นตัวแก่ที่สมบูรณ์และหลังจากนี้เราต้องเปลี่ยนเป็นอาหารที่ใหญ่ขึ้น โดยใช้ปลา กบ เขียด หรือปู ที่ตายแล้วใส่เป็นอาหารเลี้ยงแมงดานาได้ซึ่งจากการประเมินพบว่า แมงดานาตัวเต็มวันจำนวน 100 ตัว จะกินปู 1 ตัว หมดภายใน 1 วัน แต่ถ้าเป็นกบ 1 ตัว ใช้เวลาถึง 2 วัน และหากว่าเราใช้ปลาทั้งตัวขนาด 1 ฝ่ามือแมงดานาจำนวน 1,000 ตัว จะกินหมดภายในมื้อเดียว โดยอาหารแบ่งในช่วงเช้าและเย็น
เพิ่มเติม
นิสัยของแมงดา
แมงดานามีนิสัยกินกันเอง โดยตัวเล็กจะเป็นเหยื่อของตัวใหญ่และตัวใหญ่มักจะแสดงความเป็นเจ้าของชิ้นอาหาร ซึ่งการแก้ปัญหาด้วยการคัดแยกขนาดแบบเดียวกับสัตว์น้ำหรือกบนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะเหตุว่ามันโตเร็วมากในช่างแรก ๆ ที่มีการลอกคราบแต่ละครั้ง ซึ่งเป็นระยะที่อ่อนแอมากเช่นกัน โอกาสสูญเสียมีสูงกว่า และหากว่าเราแยกช่างที่โตแล้วโอกาสที่เราจะโดนเหล็กหมาดของแมงดาทิ่มเอาก็สูงมากด้วย แต่ใช่ว่าจะทำไม่ได้สรุปแนวทางที่เป็นไปได้สูงคือการจัดการเรื่องน้ำให้ดีและแบ่งปันอาหารให้ดี คำนวณให้มีปริมาณมากพอดีและจำนวนชิ้นอาหารควรทั่วถึงเหมาะสม และในระยะที่แมงดาโตแล้วก็ควรมีขอนไม้โพรงไม้ รวมทั้งพืชผักไม้น้ำใส่ไว้ในบ่อเลี้ยงด้วย
ตามปกติแมงดานาตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 150-200 ฟอง ดังนั้น ในพื้นที่บ่อเลี้ยงขนาด 20 ตารางเมตร ถ้าใช้พ่อแม่พันธุ์ 1,000 ตัว (ตัวผู้ 200 ตัว ตัวเมีย 800 ตัว) จะได้ลูกแมงดานาฟักครั้งแรกหลายหมื่นตัวทีเดียว ซึ่งจะมีปัญหาแน่นอนในช่วงการเลี้ยงเป็นแมงดานาขนาดใหญ่ ตัวอย่างที่ศรีสะเกษพ่อแม่พันธุ์ขนาดนี้เขาทดลองเลี้ยงได้ลูกแมงดาอายุ 1 เดือน จำนวนกว่า 20,000 ตัว พอถึงเดือนที่ 3 เขาทยอยคัดตัวที่ใหญ่หน่อยออกขาย แมงดานาที่ไม่แน่นบ่อ จนถึงเดือนที่ 6-7-8 ก็ได้แมงดานาขนาดใหญ่ที่ขายได้ราคาดี แต่มักจะได้ตัวผู้แค่ 10-15% เท่านั้น ยังแก้ไขกันไม่ได้เลย
ศัตรูของแมงดานาในบ่อเลี้ยง นอกจากพรรคพวกของมันกินกันเองแล้วแทบจะไม่มีอะไรเลย เว้นแต่มดดำและเชื่อราเท่านั้นที่มีปัญหาต่อไข่ต่อแมงดานา มดดำกินไข่ ส่วนเชื้อราทำให้ไข่ฝ่อส่วนเห็บน้ำที่เกาะตามท้องหรือบริเวณคอแมงดานาตัวเต็มวัยนั้น ไม่ทำให้แมงดานาตาย เพียงแต่จะโตช้าหรืออ่อนแอเท่านั้น จะมีปัญหาก็ต่อเมื่อตัวที่โตช้าหรืออ่อนแอนี่แหละจะตกเป็นอาหารของตัวอื่น ๆ ตรงนี้ไม่อยากสรุปนะว่า การเพาะเลี้ยงแมงดานานั้นง่าย ทั้ง ๆที่ดูแล้วง่ราย การลงทุนค่าอาหารก็แสนจำต่ำ แต่พอเอาเข้าจริง ๆ แล้วหน้าหงายแล้วหลายราย แต่เชื่อเถอะว่านี้มีคนทำสำเร็จแล้วแน่นอน เพียงแต่ว่าเขายังไม่เปิดตัว เข้าตำราไม่อยากดังนั่นเอง
ข้อควรระวัง
แมงดานาทุกตัวจะมีปากดูดสำหรับเจาะเหยื่อเพื่อฉีดน้ำย่อยก่อนที่จะดูดกินกลับไป และส่วนของปากดูดนี้จะมีเข็มพิษที่เรียกว่า "เหล็กหมาด" มีพิษคล้ายกับแมงป่องอย่างไรก็อย่างนั้นจะจับจะต้องก็ให้ระวังกันด้วย
เคล็ดไม่ลับที่นักเพาะเลี้ยงแมงดานา เขาอุบกันไว้นั้นก็คือ การเร่งให้แมงดานาผสมพันธุ์น่าจะทำให้ช่วงฝนแรก อาจจะประมาณเดือนพฤษภาคม และทำในวันที่ฝนตกพรำ ท้องฟ้ามือครึ้ม จะได้ผลดีที่สุดสำหรับไข่สุดแรก

แหล่งที่มา : คนเกษตรดอทคอม
http://natres.psu.ac.th/radio/radio_article/radio
ขอขอบคุณ : ภาพจากอินเตอร์เน็ต


Follow on FaceBook

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

Popular Posts